แพทย์ค้นพบกลไกสำคัญ ไขความลับการหลับ ตื่น และหลับใน


1,456 ผู้ชม


ต่อไปนี้อาจจะมียาวิเศษที่จะช่วยให้คนขับรถมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาไม่หลับใน
และขณะเดียวกันก็จะช่วยให้คนนอนหลับได้ง่ายขึ้น

การศึกษาใหม่นี้จะช่วยปรับปรุงยาที่ดีขึ้นในการหลับ
และรู้เวลาแน่นอนว่าเวลาไหนที่ควรกินกาแฟเพื่อป้องกันการหลับ
นพ.คลิฟฟอร์ด จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวว่า
เราอาจจะสามารถหาทหารที่สามารถรบได้ตลอด 24 ชมต่อวันได้
ถ้าเรารู้หลักการพื้นฐานของการหลับหรือตื่น เมื่อไรก็ตามที่เรารู้กลไก
เราสามารถควบคุมมันได้
ประมาณกันว่า ประชากร 70 ล้านคนในสหรัฐ มีปัญหาการนอน ทั้งที่เป็นนอนไม่หลับ
หรือนอนมากเกินไป และหลับใน อย่างน้อย ประมาณกันว่า อุบัติเหตุในท้องถนนกว่า
100000 ครั้งต่อปีและทำให้คนตายกว่า 1550 คนต่อปี เกิดจากการหลับใน
และการหลับในขณะทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานลดลง ไม่ว่าจะที่โรงเรียน
ที่ทำงาน และยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
ความเครียดและภูมิคุ้มกันต่อไวรัสลดลง
นอนเท่าไรจึงจะพอ
"การนอนให้เพียงพอ มีความสำคัญมากเท่าๆ กันกับการได้รับอาหารที่เป็นประโยชน์
และการออกกำลังกายที่เพียงพอ " นพ.คาร์ล ฮันท์
จากสถาบันวิจัยการผิดปกติของการนอนหลับแห่งสหรัฐกล่าว
นอนเท่าไรจึงพอ  แต่ก่อนแพทย์มักแนะนำให้นอนอย่างน้อย 8 ชม.ต่อวัน
สำหรับผู้ใหญ่ แต่ในวารสารที่ออกมาเมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า
การนอนเจ็ดชม หรือแม้แต่หก หรือห้าชั่วโมงในผู้ใหญ่
ที่ไม่มีปัญหาการง่วงเหงาหาวนอนในตอนกลางวัน ถือว่าเพียงพอ
นพ.แดเนียลแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งซานดิเอโก กล่าว
นพ.ฮันต์ กล่าวว่า จากการศึกษาทั้งหมดที่ผ่านมา ชี้ว่า การนอนประมาณ 7-8 ชม
ในผู้ใหญ่ ถือว่าเพียงพอ  เมื่อลดการนอนลงมา เรื่อย ๆ จากนี้ การทำงานต่าง ๆ
สุขภาพ และอื่นๆ จะแย่ลง และพบว่า แม้ในบางคนจะไม่รู้สึกว่าตนเองนอนน้อยเลย
แต่ก็เป็นเพราะเขาคุ้นเคยกับการนอนที่น้อยเรื่อย ๆ มานาน  ในวัยรุ่น
ควรนอนประมาณ 8.5 ชม ในเด็ก ควรจะถึง 9 ชม.
ความผิดปกติของร่างกายเมื่อนอนน้อย
การตอบสนองของร่างกายลดลง ช้าลงและสมาธิจะลดลง
โดยเฉพาะในการขับรถในเส้นทางยาวที่โดดเดี่ยว
หรือในการจราจรที่มีรถหนาแน่นท้ายต่อท้าย จะมีปัญหาให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อย
เนื่องจากต้องมีการนั่งอยู่เป็นระยะนาน
ไม่สามารถเดินไปไหนมาไหนต้องเพ่งอยู่แต่ถนนอย่างเดียว
  การตอบสนองต่อข้อมูลจากหลายๆแหล่งจะเสียไป
บางครั้งคุณจะเพ่งสมาธิอยู่แต่กับการขับรถในถนนจนน้ำมันหมดโดยไม่รู้ตัว
  ปัญหาในจินตนาการ ไม่สามารถมีไอเดียในการแก้ปัญหาใหม่ ๆ
  ปัญหาความจำและการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แย่ลง
  การตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจะเสียลง
อย่างไรก็ตามจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียพบว่า ถ้าให้เวลามากพอ
การตัดสินใจจะดีขึ้นเหมือนเดิม
การหลับเป็นระยะสั้น ๆ เช่นหนึ่งสองวินาทีหรือ10วินาที เรียกว่า Microsleep
เป็นปรากฎการณ์ที่อยู่ระหว่างการหลับและตื่น ปรากฎการณ์ที่ว่า
บางทีจะไม่สามารถสังเกตเห็นเลยว่าคนนั้นกำลังมี Microsleep
จะดูเหมือนคนตื่นปกติ แต่สมองไม่สั่งงาน
บางครั้งเป็นนานและก่อให้เกิดปัญหาได้
การวิจัยหลายแห่งชี้ว่า
การขาดการนอนเป็นเวลาหลายวัน ทำให้การทำงานแย่ลง แม้ตนเองจะรู้สึกไม่ได้ก็ตาม
การนอนแม้จะแค่งีบประมาณ 10 นาที ก็จะทำให้คนที่ง่วงนอนสดชื่นขึ้นได้
กาแฟ ถ้าได้ดื่มตอนเช้าตรู่ พบว่าไม่ได้ช่วยทำให้ตื่นได้ดีขึ้น
เพียงแต่ช่วยไม่ให้เกิดอาการของการขาดกาแฟ อันได้แก่ ความง่วง มึนหัว สับสน
ช่วงที่การดื่มกาแฟแก้ง่วงได้ดีที่สุด คือ ภายหลังจากตื่นแล้วแปดชม.
กลไกความง่วงของสมองและการออกฤทธิ์ของกาแฟ
สมอง มีกลไกอย่างน้อยสองอย่างที่ควบคุมการหลับและตื่น
อย่างแรกคือส่วนของสมองที่เรียกว่า ไฮโปธาลามัส
ที่ควบคุมจังหวะการตื่นและการนอนใน 24 ชม.  ซึ่งกลไกลึก ๆ แล้วเรายังไม่ทราบ
ว่ามันส่งสัญญาณอย่างไรต่อร่างกาย
อีกกลไกหนึ่งคือ การตอบสนองต่อการพอหรือไม่พอของการนอน
และส่งสัญญาณมาบอกว่าเราต้องการการนอนเพิ่ม
กลไกนี้ตัวหลักเชื่อว่าเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า อดีโนซีน
ซึ่งเป็นสารเคมีที่หลั่งจากเซลสมองคล้าย ๆ
เป็นของเสียที่สร้างจากการทำงานของสมอง ตามทฤษฎีเชื่อว่า
เมื่อมีการทำงานของสมองในช่วงที่เราตื่นนอน
จะมีการสร้างและสะสมของสารนี้เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งสารนี้จะเป็นตัวยับยั้งการทำงานของสมอง
ทำให้รู้สึกง่วงและสมองทำงานได้แย่ลง  พอได้นอนเซลสมองทำงานน้อยลง
สารเคมีนี้จะลดลงและทำให้เรารู้สึกตื่นขึ้น
คาเฟอีนในกาแฟ จะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของอดีโนซีน
ซึ่งการศึกษาต่อไปจะช่วยให้เราหาสารที่จะออกฤทธิ์คล้าย ๆ
อย่างนี้และทำให้สามารถควบคุมความง่วงได้  หรือกลับกันคือ
สามารถหายานอนหลับที่ดีกว่าปัจจุบัน

ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article424.html

อัพเดทล่าสุด