ไข้สมองอักเสบจากไวรัส เจอี


963 ผู้ชม


ไข้สมองอักเสบจากไวรัส เจอี หรือ Japanese b encephalitis ยังเป็นโรคที่พบบ่อยในเมืองไทย แม้จะไม่มาก ที่สำคัญคือ มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ไวรัสตัวนี้ มีพาหะคือ .ลูกหมู. จึงพบบ่อยในที่ ๆ เลี้ยงหมูคือ แถบนครปฐม ภาคกลางตอนบน ภาคเหนือ เป็นต้น ถ้าเป็นแล้วโอกาสพิกลพิการสูง เรามาดูว่าโรคนี้เป็นอย่างไร
1. สาเหตุเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง 
ตอบ เนื้อสมองอักเสบอาจเกิดขึ้นจากเชื้อหลายชนิด เชื้อไวรัสเองก็มีหลายตัว เช่น พิษสุนัขบ้า คางทูม ความผิดปกติของทางเดินอาหาร เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคต่างๆเหล่านี้ ก็จะทำให้เกิดเนื้อสมองอักเสบได้ แต่ไข้สมองอักเสบที่อันตรายร้ายแรงที่อาจจะเสียชีวิต เกิดจากเชื้อไวรัสเจอี ที่จะกล่าวในวันนี้  ซึ่งเชื้อเองตามธรรมชาติก็จะอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น สุกร ยุงจะเป็นพาหะนำมาสู่คน ในตัวสุกรเองถ้าเป็นสัตว์ที่มีอายุ ตัวสัตว์เองก็จะมีภูมิต้านทานพอสมควร เพราะฉะนั้น ถ้ามีไวรัสอยู่ในตัวก็จะโดนควบคุมไม่ให้มีปริมาณมาก ส่วนสุกรที่เป็นลูกสุกร ภูมิต้านทานไม่ค่อยดี เมื่อโดนยุงกัด แล้วมีเชื้อไวรัส ไวรัสจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะเป็นแหล่งแพร่เชื้อมาสู่ยุงและไปสู่คน ในลำดับต่อไป ที่สำคัญ ในตัวมนุษย์เองหลังจากที่โดนยุงกัดมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวมีอาการเจ็บป่วย ปริมาณไวรัสในเลือดน้อยมากไม่สามารถเพาะเชื้อได้ ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นโรคติดต่อก็จะไม่ติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เป็นโรคที่ต้องมีพาหะ เชื้อจะต้องมาจากสัตว์ 

2.ส่วนใหญ่มักจะระบาดในช่วงใดมากที่สุด
ตอบ เนื่องจากเป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ จึงมักพบผู้ป่วยมากในช่วงฤดูฝน ปริมาณ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม แต่จริงๆแล้วโรคไข้สมองอักเสบสามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่พบมากในช่วงฤดูฝน


3. ในปัจจุบันพบผู้ป่วยบ่อยมากเพียงใด 
ตอบ เนื่องจากผู้ป่วยที่โดนยุงกัดแล้วมีเชื้อไข้สมองอักเสบเข้าไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่า จะป่วยทุกคน ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของคนที่ถูกยุงกัด ด้วย คนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการของโรค ก็คือ เด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานน้อย ส่วนผู้ที่มีอายุมากขึ้น มักจะเคยเจอเชื้อมาแล้วจากการโดนยุงกัดในอดีตแล้วร่างกายกำจัดเชื้อไปได้ มีภูมิต้านทานเพราะฉะนั้นคนที่มีอายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยน้อยลง และอาการของผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับเชื้อเข้าไปก็มีความแตกต่างกันตั้งแต่ได้รับเชื้อแล้วไม่มีอาการเลย จนถึงมีอาการป่วยเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวแยกยากกว่าการติดเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ จนมีอาการรุนแรง เช่น ซึมลง ไม่รู้สึกตัว หรือ เสียชีวิต เพราะฉะนั้นจำนวนผู้ป่วยการรายงานจากกระทรวง ถ้าเป็นผู้ป่วยทีมีอาการมาก ประมาณเดือนละ 20-50 ราย ซึ่งจะเห็นว่ามีจำนวนไม่มาก 
4. วิธีสังเกตลักษณะอาการเบื้องต้น
ตอบ อาการระยะแรกหลังจากรับเชื้อ สำหรับผู้ที่มีภูมิต้านทานไม่ค่อยดี อาการแรกที่เจอ ก็มักจะมีไข้ ปวดศีรษะในรายที่ได้รับเชื้อเข้าไปในปริมาณมาก รับเชื้อเข้าไปในเด็กเล็ก โอกาสที่จะมีอาการทางสมองก็มากขึ้น เช่น มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ลุกลี้ลุกลน สับสน ถ้ามีอาการอักเสบของเนื้อสมองมากขึ้น การทำงานของสมอง อาจจะมีอาการชักได้ และอาจจะมีอาการซึมลงหรือไม่รู้สติ บางรายอาจจะมีความผิดปกติของการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่พอ
5. วิธีการวินิจฉัยเบื้องต้นเป็นอย่างไร
ตอบ ในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ มีอาการเล็กน้อย เช่น ไข้ ปวดศีรษะ มีสติดี แพทย์ก็จะให้การรักษาตามอาการ เนื่องจากไวรัสตัวนี้ ยังไม่มียาที่จะรักษษโดยเฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการ เพื่อลดอาการเจ็บป่วย อาการทุกข์ทรมานให้คนไข้ แต่ในรายที่มีอาการมากขึ้นโดยเฉพาะมีภาวะการรู้สติผิดปกติไป ซึ่งอาจจะมีโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายๆกัน และเป็นโรคที่ให้การรักษาแทบทุกวัน เช่นมีอาการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองจากเชื้อแบคทีเรีย ก็มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจกันเพิ่มเติม การเอาตรวจจากคนไข้ คนไข้ที่มีอาการทางสมอง ก็คือ การเจาะเอาน้ำช่วงเยื่อหุ้มสมองมาตรวจ
6. โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
ตอบ อย่างที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้น ผู้ป่วยสามารถหายขาดได้ แต่เป็นส่วนน้อย ถ้ามีอาการรุนแรงแล้ว โดยปกติเชื้อไวรัสกลุ่มนี้จะกำจัดได้ด้วยภูมิต้านทานของตัวเอง การรักษาในโรงพยาบาล ถ้าเป็นการรักษาแบบประคับประคอง ลดอาการที่จะทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการมากต้องเข้าห้อง ICU พวกนี้อาจจะต้องใช้เครื่องหายใจ มีการใส่ท่อ/สายยางในตัวผูป่วยหลายตำแหน่ง ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแทรกซ้อนระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล เพราะฉะนั้น การรักษาของแพทย์ก็คือ การประคับประคองให้ผู้ป่วยมีการหายใจที่เพียงพอ เมื่อสมองฟื้นกลับคืนมา หายใจได้เองก็จะถอดเครื่องช่วยหายใจออก และป้องกัน.โรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล การให้ยากันชัก เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยชัก เพราะการชักแต่ละครั้งก็จะยิ่งทำให้เซลล์สมองตายเพิ่มขึ้น
7. เนื่องจากโรคนี้มักพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก จะมีผลต่อสมองและการรับรู้ของเด็กด้วยหรือไม่
ตอบ ถ้าในรายที่เป็นมากแล้วมีความพิการหลงเหลือก็จะทำให้ระดับสติปัญญาลดลง เช่น ระดับ IQ อาจจะลดลง เพราะฉะนั้น ถ้าป้องกันไม่ให้เป็นได้จะดีที่สุด
8. วิธีการป้องกันควรทำอย่างไร
ตอบ เนื่องจากเป็นโรคติดต่อสู่คน โดยมีพาหะ คือยุง ถ้าไม่โดนยุงกัดก็จะไม่เป็นโรคนี้ เพราะฉะนั้น ต้องตัดวงจรไม่ให้เชื้อมาสู่ตัวเราได้ ก็คือ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงให้มากที่สุด เช่น อย่าให้มีน้ำท่วมขัง ป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาในที่ที่เรานอน เพราะยุงมักจะกัดในเวลากลางคืน ก็ควรนอนในที่มีมุ้งกาง มีมุ้งลวด นอกจากนั้นก็อาจจะมีสเปรย์ฉีดฆ่ายุง ก็จะเป็นวิธีป้องกันพาหะไม่ให้น้ำเชื้อเข้ามาสู่ตัวเรา ส่วนการป้องกันอีกวิธีหนึ่งก็คือ การเพิ่มภูมิต้านทานในตัวเราเอง อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคไข้สมองอักเสบก็คือในเด็กเล็ก ซึ่งในปัจจุบันถึงแม้อาจจะไม่มียารักษาโรค แต่เราก็มีวัคซีนที่จะฉีดป้องกัน ซึ่งวัคซีนปัจจุบันจะต้องฉีด 3 เข็ม ปัจจุบันจะมีอยู่ในตารางหรือสมุดการฉีดวัคซีนของเด็ก

ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article311.html

อัพเดทล่าสุด