ข้อมูลการรักษา และปฏิบัติตน ในโรคปวดข้อ ข้ออักเสบ ข้อเสื่อม ข้อมูลน่ารู้สำหรับประชาชนครับ จากสมาคมรูมาติสมแห่งประเทศไทย
การปวดข้อเกิดได้จากหลายสาเหตุ

โรคข้อที่พบบ่อยๆ มีสองกลุ่มได้แก่
1) โรคข้อรูมาตอยด์ ซึ่งมีอาการอักเสบของเยื่อบุภายในของข้อ ทำให้เกิดการบวม, แดง, ปวด การอักเสบเรื้อรังทำให้มีปวดข้อ และขยับเคลื่อนไหวข้อได้ลดลง
2) โรคข้อเสื่อมตามอายุ ซึ่งมีการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่ปกป้อง และครอบคลุมผิวของกระดูกข้อ ไม่ให้กระดูก 2 ชิ้นสบกัน ทำให้เกิดความปวด และขยับได้น้อยลงเมื่อกระดูกถูบนกระดูก
การรักษานอกเหนือจากการใช้ยา
1. ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง ควรได้มีการปฏิบัติตนให้ถูกต้องทุกวัน นอกเหนือจากการรับประทานยา การออกกำลังกาย : การออกกำลังกายที่ถูกต้อง และสม่ำเสมอเป็นประจำ เป็นสิ่งสำคัญนอกเหนือจากการรับประทานยา เพราะการออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้ข้อมีความยืดหยุ่น และปกป้องกระดูกข้อ
การออกกำลังกายแบ่งอย่างกว้างๆ เป็น 2 แบบ1.1) การออกกำลังกายเพื่อการรักษา แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจะเป็นผู้ช่วยคุณในเรื่องนี้ โดยวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคนไข้เป็นรายๆ ไป การออกำลังการแบบแอโรบิค โดยทั่วไปใช้ได้ดีกับผู้ป่วยโรคข้อ เช่นการว่ายน้ำ เพราะหลีกเลี่ยงการทำงานหนักของข้อ
1.2) การออกกำลังกายเพื่อการสันทนาการ รวมความทั้งหมดของการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อการหย่อนใจ หรือทำให้ร่างกาย และจิตใจสดชื่น ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่มีการกระทบกระแทกใช้ความรุนแรง (Contact Sport) เช่น ฟุตบอล
2. กายภาพบำบัด / กิจกรรมบำบัด
กายภาพบำบัดจะช่วยในเรื่องเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการเพิ่มพิสัยของข้อให้ขยับได้มากขึ้น ถ้ามีการติดขัดของข้อ รวมทั้งการบำบัดการปวดโดยไม่ต้องใช้ยา
3. พักผ่อน : การพักผ่อนที่เหมาะสมช่วยลดอาการปวดได้ ต้องระวังไม่ให้พักผ่อนมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยได้ จากการนอนนาน ๆ1) ความร้อน และความเย็น : การใช้ความร้อน หรือเย็นช่วยลดความเจ็บปวดลงได้ชั่วคราว การให้ความร้อนสามารถให้ได้ในรูปน้ำอุ่น, กระเป๋าน้ำร้อน, กระเป๋าไฟฟ้าเป็นต้น ความเย็นสามารถให้ได้ในรูปน้ำแข็ง เจลเย็น (cold pack) เป็นต้น
2) อาหาร : อาหารที่ถูกโภชนาการ และการควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมกับส่วนสูง ช่วยลดการปวดของข้อบางชนิดได้
สัญญานเตือนโรคข้ออักเสบเรื้อรังถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้มากกว่า 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์
- ปวดข้อ
- ข้อติด
- ข้อบวม
การพบแพทย์ในระยะเริ่มต้นของโรคช่วยชะลอความเสียหายของข้อ ยิ่งโรคข้ออักเสบเป็นนานเท่าไร ความเสียหายต่อข้อยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น
อนึ่งกรณีที่คุณมีการบาดเจ็บของข้อที่เกิดจากการใช้งานมากเกินไป หรือมีการเกิดอุบัติเหตุต่อข้อ เพิ่มอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคข้อนั้นๆเสื่อมก่อนเวลาอันสมควร การออกกำลังกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อให้แข็งแรงอาจลดอัตราเสี่ยงดังกล่าวได้ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมเช่นกัน
ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article429.html