ไข้มาลาเรีย ความรู้ทั่วไปจากไทยเฮลท์


1,588 ผู้ชม


ช่วงนี้ พบข่าวการระบาดของไข้มาลาเรีย(มาเลเรีย malaria ที่แต่ก่อนเรียกว่าไข้ป่า หรือไข้จับสั่น) เลยนำข้อมูลมาให้ครับ จากเอนไซโคลปีเดีย และจะนำเสนอรายละเอียดมาเพิ่มเป็นตอน ๆ ไป

1 เอนไซโคลปีเดียมาลาเรีย,malaria,ไข้จับสั่น คืออะไร ลองคลิกดู

2 เนื้อหา ไข้มาลาเรีย ซึ่งจะนำเสนอบทความสั้นๆ หลายตอนจบ ควรเก็บหน้านี้ไว้สำหรับอ้างอิง  ต้องขอบคุณ กรมควบคุมโรคติดต่อ สำหรับเนื้อหาดีๆครับ

3.เนื้อหาการรักษา สำหรับแพทย์ พยาบาล ผมจะพยายามอัพเดตมาไว้ให้ครับ

มาลาเรีย

ไข้มาลาเรีย ที่เราเรียกว่าไข้จับสั่น หรือไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อปรสิต (พยาธิเล็ก ๆ) ที่ติดผ่านมาจากยุงก้นปล่อง


  • โรคมาลาเรีย(Malaria) โรคมาลาเรียในคน เกิดจากเชื้อปรสิต plasmodium 4 ชนิด ได้ แก่ 
    • Plasmodium falciparum 
    • Plasmodium vivax, 
    • Plasmodium malariae 
    • และ Plasmodium ovale
  • โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนําโรควงจรชีวิตของเชื้อมาลาเรียซึ่งมียุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนั้นจะมีเชื้อมาลาเรียซึ่งอยู่ ในระยะที่เป็นตัวอ่อนเรียกว่าสปอโรซอยต์ (sporozoite) อยู ในต่อมน้ําลาย เมื่อมากัดคนก็จะปล่อยสปอโรซอยต์ เข้าสู่ กระแสโลหิต และเข้าสู่ เซลล์ ตับภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะเพิ่มขนาดสร้างอวัยวะต่าง ๆ และแบ่งนิวเคลียสหลายครั้ง ได้ เป็นเมอรโรซอยต (merozoite) 
  • สปอโรซอยต ของ P.vivax และ P.ovale บางส่วน เมื่อเข้าสู่ เซลล ตับแล้วจะหยุดพักการเจริญชั่วขณะ ซึ่งเป็นสาเหตุทําให้ เกิดอาการไข้ กลับ (relapse) ในผู้ป่วยเรียกระยะการหยุดพักนี้ว่า ฮิปโนซอยต์ (hypnozoite) เมอร์โรซอยต์ จะออกจากเซลล์ ตับเข้าสู่ เม็ดเลือดแดง และกินฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงเป็นอาหาร (โดยใช้ กระบวนการ pinocytosis ) 
  • เมอร์โรซอยต์ จะเจริญแบ่งตัวในเม็ดเลือดแดงเป็น4 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะวงแหวน (ring form) 2. ระยะโทรโฟซอยต์ (trophozoite) 3. ระยะไซซอนท์ (Schizont) 4. ระยะเมอโรซอยต์ 
  • จากนั้นเมอโรซอยต์ จะแตกออกจากเม็ดเลือดแดง และเป็นอิสระในกระแสโลหิตชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงเข้าสู่ เม็ดเลือดแดงใหม่ เป็นการเพิ่มจํานวนเชื้อมาลาเรียอย่างรวดเร็ว เมอร์ โรซอยต์ บางตัวจะเจริญไปเป็นเชื้อระยะมีเพศเรียกว่า แกมิโตไซต์ (gametocyte) ซึ่งมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย เมื่อยุงก้นปล่องมากัดคนจะได้แกมิโตไซต์ เข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหาร แล้วจะเจริญเติบโตและสืบพันธ์ได้เป็นไซโกต (Zygote) ไซโกตจะเจริญและแบ่งตัวได้เป็นสปอโรซอยต์จํานวนมาก และเคลื่อนออกจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ ต่อมน้ำลายของยุง พร้อมที่จะถูกปล่อยเข้าสู่ กระแสโลหิตของคนต่อไป


 

อาการและอาการแสดงของโรค


 

อาการและอาการแสดงของโรคมาลาเรียไม่มีลักษณะพิเศษบ่งเฉพาะโดยมากจะมีอาการนําคล้ายกับคนเป็นไข้หวัด คือ มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว และกล้ามเนื้อ อาจมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหารได้อาการนี้จะเป็นเพียงระยะสั้นเป็นวัน หรือหลายวันได้ขึ้นอยู่กับระยะฟักตัวของเชื้อ ชนิดของเชื้อ จํานวนของสปอโรซอยต์ที่ผู ป่วยได้รับเข้าไป ภาวะภูมิต้านทานต่อเชื้อมาลาเรียของผู้ป่วย ภาวะที่ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันมาลาเรียมาก่อน หรือได้รับยารักษามาลาเรียมาบ้างแล้ว


 

อาการไข้ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดของมาลาเรีย ประกอบด้วย 3 ระยะคือ


 



  • 1. ระยะสั่น ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ปากและตัวสั่น ซีด ผิวหนังแห้งหยาบ อาจจะเกิดขึ้นนานประมาณ 15 – 60 นาที ระยะนี้ตรงกับการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย

  • 2. ระยะร้อน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หน้าแดง ระยะนี้ใช้เวลา2 – 6 ชั่วโมง

  • 3. ระยะเหงื่อออก ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกจนชุ่มที่นอน หลังจากระยะเหงื่อออก จะมีอาการอ่อนเพลีย ไข้ลด


 

ปัจจุบันนี้จะพบลักษณะทั้ง 3 ระยะได้น้อยมาก ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยตลอดเวลา โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นมาลาเรียครั้งแรก เนื่องจากในระยะแรกของการติดเชื้อมาลาเรีย เชื้ออาจเจริญถึงระยะแก่ไม่พร้อมกันซึ่งอาจเป็นผลมาจากได้รับเชื้อในเวลาต่างกัน เชื้อจึงเจริญในเม็ดเลือดแดงไม่พร้อมกัน ทําให้เกิดมีเชื้อหลายระยะ การแตกของเม็ดเลือดแดงจึงไม่พร้อมกัน ผู้ป่วยมาลาเรียในระยะแรกอาจมีไข้สูงลอยตลอดวันแต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งแล้ว การแตกของเม็ดเลือดแดงเกิดขึ้นพร้อมกัน จะเห็นผู้ป่วยมีการจับไข้ หนาวสั่นเป็นเวลา แยกได้ชัดเจนตามชนิดของเชื้อมาลาเรีย


 

เชื้อไวแวกซ ฟัลสซิพารัม และโอวัลเล ใช้เวลาในการแบ่งตัว 48 ชั่วโมง จึงทําให้เกิดไข้ทุกวันที่3


 

ส่วนมาลาริอี ใช้เวลา 72 ชั่วโมง อาการไข้จึงเกิดทุกวันที่4 ภายหลังที่เป็นมาลาเรียได้ระยะหนึ่ง จะตรวจพบว่าผู้ป่วยซีด บางคนมีตัวเหลือง ตาเหลือง ตับและม้ามโต บางรายกดเจ็บ ถ้าเม็ดเลือดแดงแตกมาก ๆจะพบว่าผู้ป่วยมีปัสสาวะดํา


 

การป้องกันและการรักษา สามารถติดตามได้ในวันต่อๆไปจะนำมาลงให้ครับ

 ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article577.html

อัพเดทล่าสุด