โรคริดสีดวงทวารหนัก เป็นโรคที่พบบ่อย และส่วนมากก็จะไม่ค่อยได้พบแพทย์จนกว่าเป็นมาก มักมีคำถามเสมอว่าเป็นแล้วจะหายหรือไม่ อย่างไร ข้อมูลความรู้จากรพ.กรุงเทพครับ |
กลไกการเกิดโรคริดสีดวงทวารหนัก
ทวารหนัก เป็นส่วนที่ติดต่ออกมาจากลำไส้ และมาเปิดออกนอกร่างกาย มีความยาวประมาณ 4 ซม. ถูกแบ่งครึ่งออกเป็นสองส่วนโดยเส้นรอบวงที่เรียกว่า แนวเส้นประสาท ส่วนที่อยู่สูงกว่าแนวเส้นประสาท เรียกว่า รูทวารหนัก (Anal canal) ซึ่งจะไม่มีเส้นประสาท และไม่เจ็บปวด
ที่ผนังของรูทวารหนัก จะมีเนื้อเยื่อออกมาเป็นก้อนนูนโดยรอบ เรียกว่า เบาะรอง cushion ซึ่งภายในมีกลุ่มเลือดเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ โดยทฤษฎีใหม่ล่าสุดของการเกิดโรคริดสีดวง เชื่อว่า การเบ่งอุจจาระมาก ๆ ภาวะท้องผูก ความดันจากการเบ่งที่สูงขึ้น และอุจจาระก้อนใหญ่ จะดันให้เบาะรอง เลื่อนลงมาเรื่อย ๆ จนยื่นออกมานอกทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงชนิดภายใน
ส่วนของทวารหนักที่อยู่ต่ำกว่าแนวเส้นประสาท เรียกว่า ปากทวาร(Anal margin) จะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดมาเลี้ยง เมื่อเบาะรองจากรูทวารหนักเลื่อนลงมาเรื่อย ๆ จนถึงปากทวารหนักก็จะดันกลุ่มเส้นเลือดและเนื้อเยื่อของปากทวารหนักให้ลงต่ำ และเบียดอออกด้านข้าง จนกลายเป็นก้อนนูนที่ปากทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงทวารชนิดภายนอก
อาการของริดสีดวงทวารหนัก
- เลือดสด ๆ ออกมาตามหลังอุจจาระ
- ก้อนยื่นออกมาจากทวารหนักขณะถ่ายอุจจาระ
- ทวารหนักเปียกแฉะโดยรอบ ๆ และคัน
- เจ็บปวดรอบทวารโดยเฉพาะเวลาถ่ายอุจจาระ
- คลำได้ก้อนที่บริเวณทวารหนัก
ปัจจัยที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวารหนัก
- ท้องผูกเรื้อรัง
- ท้องเสียถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ
- นิสัยเบ่งอุจจาระมาก เพื่อพยายามเอาอุจจาระก้อนสุดท้ายออก
- ชอบนั่งถ่ายนาน เช่นอ่านหนังสือไปด้วย
- ชอบใช้ยาสวนหรือยาระบายพร่ำเพรื่อ
- หญิงตั้งครรภ์
- ภาวะตับแข็ง
- สูงวัย
- ไม่ทราบสาเหตุ
สำหรับการป้องกัน และการรักษาวิธีใหม่ล่าสุด รออ่านได้วันพรุ่งนี้ครับ
ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article284.html