สารกัมมันตรังสี จากโรงงานนิวเคลียร์น่ากลัวจริงหรือ?


1,239 ผู้ชม


จากข่าวสึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่นจนเป็นที่ช็อกโลกกันไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา ยังคงเป็นที่พูดถึงเรื่องราวความเสียหายครั้งใหญ่อยู่ทั่วทุกมุมโลก         จากข่าวสึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่นจนเป็นที่ช็อกโลกกันไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา ยังคงเป็นที่พูดถึงเรื่องราวความเสียหายครั้งใหญ่อยู่ทั่วทุกมุมโลก 

ปละดูเหมือนเรื่องราวนี้ยังเป็นที่ขวัญผวาจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นทาง Facebook ,Twitter หรือตามเว็บบอร์ดต่างๆ ได้เกิดข้อถกเถียงถึงผลกระทบจากการที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศญี่ปุ่นได้มีการระเบิดของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่งอาจมีผลทำให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหล โดยเจ้าสารกัมมันตรังสีนี้มีผลเสียต่อมนุษย์อย่างแน่นอน ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้หลายคนหวาดกลัว มันน่ากลัวอย่างไร และมีผลอะไรบ้าง วันนี้เลยขอเก็บตกความรู้เล็กๆน้อยของเจ้ากัมมันตรังสีมาให้ทราบกันค่ะ

สารกัมมันตรังสี คือ สารที่สลายตัวปลดปล่อยรังสีออกมา โดย รังสี คืออนุภาคหรือคลื่นที่ปลดปล่อยออกมาจากอะตอมของกัมมันตรังสี จึงไม่มีสี กลิ่น หรือสิ่งที่ทำให้สังเกตเห็นได้ สามารถจำแนกตามลักษณะการเกิดได้จาก 2 แหล่ง ดังนี้

1. จากธรรมชาติ สารกัมมันตรังสีจากธรรมชาติ เช่น ยูเรเนียม 235 , ยูเรเนียม 238, คาร์บอน 14 ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดของโลก

2. จากมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (Nuclear reactor) หรือในเครื่องเร่งอนุภาค ซึ่งสารกัมมันตรังสีที่ได้จากการผลิต เช่น โคบอลต์ 60, ไอโอดีน 131 , ซีเซียม 137, นิวตรอน

สำหรับ สารกัมมันตรังสีทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะให้รังสีออกมา ได้แก่ รังสีแอลฟ่า , รังสีเบต้า , รังสีแกมมา นิวตรอน นอกจากนี้ รังสีที่เป็นที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างกว้างขวางมีประโยชน์มากมาย ได้แก่ รังสีเอกซ์(X-ray) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางการแพทย์ อุตสาหกรรม การเกษตรและงานวิจัยต่าง ๆ ขณะเดียวกัน รังสี ก็มีอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน

อันตรายจากรังสีต่อมนุษย์

1. การได้รับรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีจากภายนอก ( External exposure ) ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ขึ้นอยู่กับความแรงของแหล่งกำเนิดและระยะเวลาที่ได้รับรังสี แต่ตัวผู้ที่ได้รับอันตรายไม่ได้สารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย จึงไม่มีการแผ่รังสีไปทำอันตรายผู้อื่น

2. การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย ( Internal exposure ) มักพบในกรณีมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ที่ เป็นก๊าซ ของเหลว หรือฝุ่นละอองจากแหล่งเก็บสารกัมมันตรังสี หรือที่เก็บกากสารกัมมันตรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่น ที่เชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย การระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น

ทั้งนี้การกระจายของสารกัมมันตรังสีจะฟุ้งไปในอากาศ น้ำ มนุษย์อาจได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจฝุ่นละอองของรังสี, กินของที่เปรอะเปื้อน, การฝั่งสารกัมมันตรังสีเพื่อการรักษา สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในร่างกายจะแผ่รังสีออกมา ทำอันตรายต่อร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนกว่าจะถูกกำจัดออกไปจากร่างกายจนหมด และยังสามารถแผ่รังสีไปทำอันตรายคนที่อยู่ใกล้เคียงได้


ผลกระทบจากสารกัมมันตสังสีต่อร่างกายมนุษย์

องค์การ สากลในการป้องกันอันตรายจากรังสี หรือ International Commission on Radiological Protection (ICRP) ได้รวบรวมผลกระทบจากรังสีต่อร่างกายไว้ ดังนี้

รังสีที่มีความถี่สูงมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต


ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1247&sub_id=95&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด