เข้าใจ’ ยาช่วยรักษาใจลูกคนกลาง


795 ผู้ชม


ปัญหาสำคัญของลูกคนกลางก็คือ เรื่องของความรู้สึกที่ลูกคนกลางมีต่อพ่อแม่ เพราะพ่อแม่มักจะให้ความสำคัญกับคนโต ด้วยความเห่อและให้ความสำคัญกับคนเล็กก็เพราะน่ารัก มักจะละเลยดูแลลูกคนกลางน้อยกว่า           ปัญหาสำคัญของลูกคนกลางก็คือ เรื่องของความรู้สึกที่ลูกคนกลางมีต่อพ่อแม่ เพราะพ่อแม่มักจะให้ความสำคัญกับคนโต ด้วยความเห่อและให้ความสำคัญกับคนเล็กก็เพราะน่ารัก มักจะละเลยดูแลลูกคนกลางน้อยกว่า 

 

ลูกคนกลางเป็นปัญหาของอดีต สมัยที่เรายังไม่รู้จักเหตุการณ์นี้ แต่ขณะนี้น่าจะลดลงมากแล้ว เพราะพ่อแม่จำนวนมากเข้าใจปัญหาจากธรรมชาตินี้ดี และปัจจุบันพ่อแม่มีลูกน้อยลง ส่วนมากลูกที่มีจะเป็นคนโตกับคนเล็กหรือลูกโทน ไม่ค่อยมีลูกคนกลางกันแล้ว

 

ฝรั่งเรียกลูกคนกลางว่า “Wednesday Child” ซึ่งไม่ทราบว่าใครเป็นคนบัญญัติ แต่คงต้องการแสดงความอยู่ตรงกลางให้เห็นชัดเจน เลยเลือกเอาวันพุธ ซึ่งเป็นวันกลางสัปดาห์มาตั้งเป็นชื่อ

 

เรื่องความรู้สึกของลูกคนกลางที่ว่าเป็นปัญหานี้ ถ้าจะเรียกให้ถูกคงไม่เกี่ยวกับความเป็นลูกคนที่เท่าไร แต่ขึ้นกับการปฏิบัติของพ่อแม่มากกว่า บังเอิญคนกลางจะมีโอกาสเกิดความรู้สึกนี้ได้บ่อย น่าจะเรียกความรู้สึกนี้ว่า “ความรู้สึกไม่เท่าเทียม” ซึ่งเป็นการมองที่พิจารณาเข้าไปในใจเด็ก แต่ถ้ามองจากใจเด็กออกมาที่พ่อแม่ก็คือ “พ่อแม่ลำเอียง” มุมมองทั้งสองไม่จำเป็นต้องเกิดกับลูกคนกลางเท่านั้น แต่เกิดได้กับเด็กทุกคน

 

มุมมองแบบแรก เด็กต้องเรียนรู้ที่จัดการกับความรู้สึกนี้เอง เพราะคนเราจะต้องประสบกับความไม่เท่าเทียมตลอดเวลา เป็นเรื่องของบุญทำกรรมแต่งก็ได้ หรือเป็นเรื่องของคนทำก็ได้

 

ส่วนมุมมองแบบสอง ก็เป็นเรื่องของคนทำ พ่อแม่บางคนก็ลำเอียงจริงๆ ไม่ได้รักและให้ความสำคัญกับลูกเท่ากันทุกคน บางคนก็ขาดความระวัง ให้สิ่งที่คิดว่าใช่ แต่ปรากฏไม่ใช่ บางคนก็ด้วยเหตุอื่น เช่น ห่วงมาก พอห่วงมากก็จู้จี้มาก พอจู้จี้มากลูกก็คิดไปว่าพ่อแม่รักน้อยกว่า

 

มุมมองที่สองนี้จะแก้ที่เด็กก็ไม่ได้ เพราะเป็นใครก็ต้องเกิดความรู้สึก จะแก้ที่พ่อแม่ก็ไม่ได้ เพราะถ้าลำเอียงจริงๆ ก็เป็นเรื่องที่ควรรู้ตัว แต่จิตจะเอาความรู้ตัวไปแอบ ทำให้ไม่รับความจริงว่าตัวเองลำเอียง

 

กรณีที่ป้องกันได้คือ พ่อแม่ทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือจากความรู้สึกอื่น แต่ส่งผลต่อการกระทำ เช่น ความกังวล ห่วงใย ฯลฯ

จุดสำคัญที่ต้องจับให้ได้ในการป้องกันปัญหานี้คือ ต้องประเมินความพอดีจากความรู้สึกของเด็ก ควบคู่กับความคิดเห็นของพ่อแม่

พ่อแม่ที่คิดว่าให้สิ่งที่ใช่ อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่สำหรับเด็กน้อย เด็กอาจจะให้ความสำคัญกับสิ่งอื่น เช่น พ่อแม่ที่เน้นการให้สิ่งของกับลูก อาจจะต้องปรับ เพราะเด็กอาจจะต้องการอะไรที่ต่างออกไป

 

เด็กบางคนก็ต้องการมากเกินไป ไม่พอดี ข้อนี้พ่อแม่ก็ต้องพิจารณาให้ดี เพื่อวางแผนพัฒนาลูก เด็กที่รู้สึกหรือคิดแบบนี้ อาจจะเกิดจากอะไรก็ได้ แต่เกิดจากอะไรไม่สำคัญ สิ่งสำคัญคือต้องพัฒนาให้ความรู้สึก หรือทัศนะที่เข้าข้างตัวเองและต้องการมากเกินความเหมาะสมนี้หมดไป พัฒนาให้รู้จักต้องการและเรียกร้องแต่พอดี

 

การจัดการที่ตัวพ่อแม่ก็ต้องจัดการให้พอเหมาะ พ่อแม่ต้องรู้จักตัวเอง เป็นคนยอมรับความจริง แล้วหมั่นสังเกตอากัปกริยาของลูก เป็นเครื่องมือประเมิน และปรับปรุงการปฏิบัติตัวของเรา อาจจะพูดคุยกันตรงๆ ก็ได้ เช่น ลูกอาจจะหลุดพูดว่า “แม่ไม่รักหนู” จังหวะแบบนี้ก็ค่อยๆ พูดคุยจับประเด็นให้ได้ข้อมูลก่อน ไม่ควรแก้ตัวหรือชี้แจงทันที พอได้ข้อมูลแล้วค่อยวางแผน จัดการตัวเองหรือจัดการลูกก็ตามน้ำหนักของข้อมูลที่ได้มา

 

การจัดการที่ลูก พ่อแม่ก็ต้องรู้จักลูกดี รู้ไต๋ลูก จับได้ว่าถ้าวางแผนพัฒนาแบบนี้ พูดแบบนี้ อารมณ์นี้ ตอบสนองอารมณ์นี้ ทำเป็นเฉยแล้วลูกจะเป็นผู้ใหญ่ขึ้น

 

ไม่ว่าจะเป็นลูกคนไหน ก็มีโอกาสเกิดอารมณ์นี้ได้เสมอๆ ครับ

 
ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1095&sub_id=2&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด