วิธีจัดการกับความเครียด


830 ผู้ชม


การจะจัดการกับความเครียดท่านต้องหาว่าความเครียดเกิดจากสาเหตุใดและร่างกายเราตอบสนองต่อความเครียดนั้นอย่างไร ขั้นตอนต่อมาต้องเรียนรู้วิธีการ..         การจะจัดการกับความเครียดท่านต้องหาว่าความเครียดเกิดจากสาเหตุใดและร่างกายเราตอบสนองต่อความเครียดนั้นอย่างไร ขั้นตอนต่อมาต้องเรียนรู้วิธีการ.. 
1. ค้นหาปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียด เป็นข้อ ที่สำคัญที่สุดหากไม่ทราบสาเหตุก็ไม่สามารถป้องกันได้ บางท่านอาจจะไม่ทราบว่าเครียดจากอะไร ท่านผู้อ่านลองสำรวจตัวเองสิว่าชีวิตประจำวันของท่านมีอะไรบ้างที่ท่านเบื่อ เช่นการพูดคุยกับภรรยา การอาบน้ำลูก รถติด งานเร่ง งานน่าเบื่อ งานมาก บทบาทไม่ชัดเจนฯลฯ ท่านลองสำรวจอาการของท่านเมื่อพบสิ่งที่ไม่ชอบหรือน่าเบื่อ เช่นโกรธ เบื่อ ท้อแท้ ปวดศีรษะ เหล่านี้คือเหตุที่ให้เกิดความเครียด ปัจจัยใดที่ทำให้ท่าเครียดที่สุด ภาวะใดที่ท่านกลัวมาก ท่านอาจจะจดลงในสมุดบันทึกเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด อาการที่แสดงออก หลังจากที่ทราบสาเหตุแล้วก็ลองแก้ไข หากบางสิ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ให้หลีกเลี่ยงเช่นบางท่านไม่ชอบการเมืองก็ไม่ต้องดูข่าวหรือพูดคุยเกี่ยวกับการเมือง
2. การป้องกัน หลังจากทราบสาเหตุแล้วการป้องกันความเครียดจะเป็นวิธีที่ไม่ให้เกิดความเครียดซึ่งมีวิธีการต่างๆดังนี้ การเตรียมตัวเพื่อรับความเครียดสามารถทำได้ดังนี้
  1. การวางแผน เมื่อเกิดปัญหาหรือความเครียดพยายามตั้งสติและใช้ปัญญาหาทางแก้ไข
  • เมื่อมีปัญหาพยายามหาทางเลือกหลายๆทาง และเลือกทางแก้ที่ดีที่สุด
  • ขณะทำงานก็วางแผนอนาคตไปด้วย ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้และท้าทายการตั้งเป้าหมายเกินความสามารถเล็กน้อยจะเป็นการท้าทาย หากทำสำเร็จก็จะเกิดความภูมิใจความมั่นใจในตัวเองก็จะตามมา
  • ตั้งเป้าหมายที่สมเหตุสมผลซึ่งจะทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะกระทำ หากตั้งเป้าเกินความจริงจะทำให้เกิดความเครียด หากต้องการประสบความสำเร็จต้องพัฒนาความสามารถเพิ่มแต่ถ้าไม่พยายามก็ไม่ประสบผลสำเร็จความเครียดก็จะเกิดตามมาและในที่สุดก็เลิกไปเอง
  • จัดลำดับความสำคัญ และความเร่งด่วนของงาน งานที่สำคัญอาจจะไม่ใช่งานที่เร่งด่วนก็ได้ ให้ทำงานที่เร่งด่วนก่อน และก็ไปงานที่สำคัญ ขณะทำงานก็อย่ากังวลงานที่ยังไม่ได้ทำ ให้ทำงานที่ยากที่สุดก่อนงานอื่น
  • กระจายงานให้แก่คนที่เหมาะสมโดยแบ่งงานเป็นส่วนแล้วกระจายงานออกไป
  1. การสื่อสาร การสื่อสารจะช่วยลดความขัดแย้ง
  • ใช้เหตุผลในการสื่อสาร การใช้เหตุผลจะทำให้เพื่อนร่วมงานได้เสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข คนส่วนให้ต้องการแก้ปัญหาเพื่อสิ่งที่ดีขึ้น การใช้เหตุจะทำให้เพื่อนร่วมงานยอมรับและให้ความร่วมมือ ห้ามใช้ความก้าวร้าว
  • พูดความจริง การพูดความจริงจะมีความเครียดน้อยกว่าการโกหก
  • แก้ไขความขัดแย้ง เมื่อเกิดความขัดแย้งให้จับเข่าแก้ปัญหา และเมื่อได้ข้อสรุปจงลืมว่าปัญหาเกิดจากใคร และอย่าเครียดแค้น
  • ให้เป็นนักฟังที่ดี ไม่มีใครที่สามารถเรียนรู้ขณะที่ตัวเองกำลังพูด การเป็นผู้ฟังที่ดีจะได้แนวความคิดใหม่ การเป็นผู้ฟังที่ดีมิใช่คุณจะต้องเชื่อทุกอย่างเป็นเพียงคุณมีข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งช่วยในการตัดสินใจ
  1. การเปลี่ยนมุมมองคนบางคนมองวิกฤติเป็นโอกาส น้ำครึ่งแก้วบางคนมองเหลืออีกครึ่งหนึ่ง
  2. การผักผ่อน การนอนพักผ่อนอย่างพอเพียงวันละ 7-8 ชั่วโมงจะทำให้ลดความวิตกกังวลได้
  3. เมื่อเกิดปัญหาให้ควบคุมอารมณ์ให้สงบ ให้หยุดงานที่ทำอยู่ หายใจเข้าลึกๆ หรือหลีกหนีไปเดิน 15 นาที
  4. ให้นึกถึงผลเสียที่จะเกิด ผลเสียหายอย่างแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็นึกถึงโอกาสที่จะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
3. แก้ไข แม้ว่าเราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความเครียด แต่เราสามารถลดโรคที่เกิดจากความเครียดโดย
  1. ปรึกษากับเพื่อน ครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงานจะช่วยท่านมองปัญหาในแง่มุมอื่นๆ ท่านจำเป็นต้องบอกเพื่อนร่วมงานว่าบางสิ่งไม่สามารถทำได้ ต้องรู้จักปฏิเสธ ท่านอาจจะต้องลดงานพิเศษบางอย่างขณะเกิดความเครียด ท่านต้องเคารพตัวเองไม่เอาเปรียบตัวเอง ไม่ทำงานเกินความสามารถตัวเอง ไม่ทำงานจนไม่มีเวลาพักผ่อน การทำงานต้องมีขอบเขตหากมิเช่นนั้นท่านอาจจะเป็นผู้ปกครองที่ไม่ดี เป็นเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดี ต้องสามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้ดี เมื่อโกรธก็หาสิ่งที่ชอบทำเช่นการฟังเพลง การเดิน
  2. อย่าซึมเศร้า เมื่อท่านมีโรคประจำตัวหรือประสบกับความผิดหวัง ท่านอาจจะหมดกำลังใจ ซึมเศร้า ชีวิตนี้ไม่มีความหวังอีกแล้ว อาการซึมเศร้าจะทำให้ท่านประสบกับความทุกข์ยากและทำให้อาการเจ็บปวดเพิ่มขึ้น ท่านอาจจะคิดว่า "ทำไมต้องเป็นเรา" "ทำไมเราถึงต้องทำสิ่งนั้น" "ทำไมเราทำสิ่งนั้นไม่ได้"คนปกติทุกคนจะคิดเหมือนกัน ท่านต้องทำใจและพยายามแก้ไข
  3. ทำชีวิตให้สบายๆอย่าทำชีวิตให้วุ่นวาย ทำตัวสบายๆงานที่ไม่สำคัญก็ไม่ต้องทำเลือกงานที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นงานบ้านหรืองานประจำทำให้เสร็จแล้วจึงเลือกงานที่น่าเบื่อทำต่อ
  4. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้น ให้พยายามทำในสิ่งที่ตัวเองชอบและมีความสุข
  5. บริหารเวลาให้เหมาะสม จัดลำดับความสำคัญของงานให้ทำงานที่หนักเมื่อรู้สึกสบายหรือทำในตอนเช้า จัดเวลาสำหรับพักด้วย
  6. ให้ทำงานที่ละอย่างจนสำเร็จโดยการตั้งเป้าหมายในแต่ละวัน การตั้งเป้าหมายไม่จำเป็นต้องเป็นงานอาจจะเป็นงานอดิเรกก็ได้เมื่อได้กระทำสำเร็จจะเกิดความภูมิใจ
  7. เมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ปรึกษาแพทย์
4. ยอมรับความจริง
  • ยอมรับความจริงว่าท่านสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้แต่ท่านไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคนอื่น เพราะหากท่านคิดเปลี่ยนแปลงคนอื่นแล้วไม่สำเร็จท่านก็จะเกิดความเครียด
  • ยอมรับความจริงว่าคนทุกคนไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบต้องมีข้อบกพร่องยอมรับกับข้อบกพร่องความเครียดจะน้อยลง หลายคนคาดหวังว่าคนใช้จะสามารถทำงานได้ดีเท่ากับที่ตัวเองทำ เมื่อคนใช้ทำไม่ได้ก็เกิดความเครียด
  • สร้างอารมณ์ขันให้กับตัวเองโดยเฉพาะเมื่อเวลาเกิดความเครียด ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเครียดแนะนำให้หัวเราะเมื่อมีความเครียด โดยจัดเวลาสำหรับงานบันเทิง คุยเรื่องตลกกับเพื่อนหรือดูตลก การหัวเราะจะช่วยลดความตึงเครียดได้เป็นอย่างดี อย่าปล่อยให้ตัวท่านตึงเครียดมืดมน มองโลกในแง่ดี
  • ให้นึกว่าท่านสามารถเรียนรู้บางสิ่งจากเหตุการณ์ทุกอย่าง
5. หลีกเลี่ยง
  • หลีกเลี่ยงความเครียดเล็กน้อย เช่นรถติดก็ออกจากบ้านให้เช้าขึ้น หลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น
  • หลีกเลี่ยงหรืออยู่ห่างๆบุคคลที่ทำให้ท่านเครียด เช่นแฟนที่ขี้บ่น เจ้านายที่จุกจิก
  • หลีกเลี่ยงการรับผิดชอบงานที่มากเกินไป
  • เมื่อมีความเครียดให้หยุดงานสักพักและหลีกหนีจากสถานการณ์ที่ทำให้คุณเครียด
  • หลีกเลี่ยงการถกเถียงประเด็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หรือประเด็นที่หาข้อสรุปไม่ได้
6. การปรับเปลี่ยน เป็นการปรับเปลี่ยนขบวนความคิดและการปฏิบัติตนเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
  • ปรับเปลี่ยนวิธีคิด มองโลกในแง่ดีเสมอไม่พยายามมองโลกในแง่ร้าย ทุกปัญหามีทางออก เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โลกมี่ทั้งกลางวันและกลางคืน หาหนทางที่จะพลิกสถานการณ์
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รู้จักปฏิเสธในส่วนไม่ใช่ความรับผิดชอบของตัวเอง ลดความรีบร้อน หัดทำงานให้เสร็จที่ละอย่าง หัดกระจายงานสู่ผู้อื่น หางานอดิเรกทำที่ทำให้หายเบื่อ
  • ปรับเปลี่ยนสภาพทำงาน ปรึกษากันเพื่อลดข้อขัดแย้งในการทำงาน กำหนดความรับผิดชอบของแต่ละคน กำหนดเจ้านายให้แน่นอน กำหนดกฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อการทำงาน มีระบบให้คำปรึกษาเรื่องความเครียด
  • ปรับเปลี่ยนความรู้สึกของตัวเอง หัดสร้างอารมณ์ขันในภาวะที่เครียด ยอมรับคำตำนิ รู้จักผ่อนคลายเครียด

 
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=989&sub_id=71&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด