การรับประทานอาหารอย่างถูกต้องครบ 5 หมู่และหลากชนิดจะช่วยให้ทั้งคุณแม่ และทารกที่อยู่ในครรภ์มีสุขภาพที่ดีตลอดการตั้งครรภ์ เพราะทารกในครรภ์จะได้รับสารอาหารผ่านทางคุณแม่...
คุณแม่ไม่จำเป็นต้อง วางแผนการรับประทานอาหารเป็นพิเศษหรือทานมากๆ เป็นสองเท่าแต่อย่างใด แต่ควรพยายามทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วน และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีคุณประโยชน์แก่สุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์
อาหาร ที่คุณแม่ไม่ควรรับประทานระหว่างตั้งครรภ์
คาเฟอีน
คุณแม่ควร ลดปริมาณคาเฟอีนที่รับประทานลงให้น้อยกว่า 2 แก้วต่อวัน หรือสัดส่วนเท่ากับกาแฟ 12 ออนซ์
คุณแม่ที่รับประทานหรือได้รับคาเฟ อีนมากกว่าวันละ 200-299 มิลลิกรัม นั้นมีความเสี่ยงที่จะคลอดบุตรได้น้ำหนักตัวน้อย ในงานวิจัยพบว่า การดื่มคาเฟอีนที่มากเกินขนาดจะส่งผลให้หัวใจของทารกในครรภ์เต้นเร็วผิดปกติ และอาจมีการชักกระตุก และมีภาวะโรคเบาหวานในเวลาต่อมาได้ อีกทั้งคาเฟอีนยังทำให้คุณแม่นอนหลับยากขึ้น ซึ่งการนอนหลับพักผ่อนที่พอเพียงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเติบโตของทารกใน ครรภ์อีกด้วย
ชาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของใบราสเบอร์รี่นั้น หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไปอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการข้างเคียงได้ โดยเฉพาะในการหดตัวของมดลูก ดังนั้นคุณแม่ควรปรึกษาสูตินารีแพทย์เกี่ยวกับปริมาณชาสมุนไพรที่สามารถดื่ม ได้
แอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อวันนั้นจะทำให้ทารกในครรภ์มีโอกาสเสี่ยงที่จะประสบปัญหาด้านการเรียน รู้ การพูด สมาธิ ภาษา และอาจเป็นโรคสมาธิสั้นได้ ในกรณีที่คุณแม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 6 แก้วต่อวันหรือมากกว่าในขณะที่ตั้งครรภ์ ก็จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดอาการความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดได้ หรือที่เรียกว่า Foetal Alcohol Syndrome ซึ่งทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ล่าช้าทั้งในทางร่างกายและสมอง มีปัญหาด้านพฤติกรรม เกิดความผิดปกติที่ใบหน้า และความบกพร่องของระบบหัวใจ
อย่าง ไรก็ตามนักวิจัยก็ยังไม่ทราบแน่ชัดได้ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียง เล็กน้อยในช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์นั้น จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่ แต่เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารก ทันทีที่คุณแม่ทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภททันที
เนื้อสัตว์ นม เนย ไข่ นอกจากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ควรทานอาหารหลากหลายชนิดเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนแล้ว ยังต้องระมัดระวังอาหารบางประเภทที่จะรับประทานด้วย เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์
ปรุงอาหารประเภท ไข่ให้สุกทั่วตลอด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อ salmonella ซึ่งก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ
ดื่มนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์แล้ว หรือนม UHT เท่านั้น
หลีกเลี่ยงอาหารกระป๋องโดยเฉพาะที่มีรอยบุบ ขึ้นสนิม บวม หรือมีกลิ่นไม่ดี
อาหารสดแช่แข็งเมื่อนำมาละลายน้ำ แข็งแล้ว ไม่ควรนำกลับมาแช่แข็งใหม่ ควรใช้ให้พอดีกับจำนวนที่ต้องการปรุงอาหาร
อาหารทะเล
อาหาร ทะเลอุดมไปด้วยแร่ธาตุและโปรตีนรวมถึงโอเมก้า 3 กรดไขมันที่พบมากในเนื้อปลา เป็นแหล่งอาหารที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการการสร้างสมองและระบบประสาทของทารก ในครรภ์ ดังนั้นคุณแม่ควรทานอาหารทะเลให้เพียงพอ ในขณะเดียวกันนักวิจัยก็พบว่าอาหารทะเลหรือปลาบางชนิดอาจจะมีสารตะกั่วในปลา เหล่านี้ซึ่งอาจทำให้ทารกมีพัฒนาการล่าช้าทั้งทางร่างกายและสมองได้เช่นกัน
ควร หลีกเลี่ยงอาหารทะเล ปลาทะเล เช่น
ปลาทะเลแม็กเคอเร็ล
หอย และ หอยนางรม
เนื้อปลาฉลาม
ปลาทะเลรมควัน
ปลาดาบเงิน
ในแต่ละ สัปดาห์ ควรลดปริมาณการบริโภคอาหารทะเล เช่น
อาหารทะเลกระป๋อง
ปลาคอด
ปลา แซลมอน
กุ้ง
ปลาทูน่าหรือปลาทูน่ากระป๋องไม่เกินครึ่งกิโลกรัมต่อ สัปดาห์เนื่องจาก อาจจะมีสารตะกั่วในปลาเหล่านี้
ข้อควรระวังในการ ปรุงอาหาร
ในการปรุงอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต้องแน่ใจว่าสุกทั่วดี ก่อนรับประทานเสมอ
ควรตรวจดูฉลากคำเตือนข้างอาหารกระป๋องและอาหารทะเล แช่แข็งก่อนนำมาปรุง และรับประทาน
ควรตรวจรายละเอียดของแหล่งที่มา ของอาหารทะเลจากผู้ขาย สำหรับปลาน้ำจืดอาจจะมียาฆ่าแมลงตกค้างอยู่ในชั้นไขมัน ให้เลือกปลาที่มีไขมันน้อยและหลีกเลี่ยงชั้นไขมัน