ไปออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ


1,027 ผู้ชม


ขอให้มีสุขภาพดี เป็นคำอวยพรที่นิยมใช้กันมากขึ้น เพราะมีความหมายรวมถึงการมีสุขภาพกายและ สุขภาพจิตที่ดีพร้อมกันไป         ขอให้มีสุขภาพดี เป็นคำอวยพรที่นิยมใช้กันมากขึ้น เพราะมีความหมายรวมถึงการมีสุขภาพกายและ สุขภาพจิตที่ดีพร้อมกันไป 
 แนวทางปฏิบัติตัวให้บรรลุเป้าหมายของการมีสุขภาพดีนั้น มีหลายวิธี แต่ที่ ยอมรับ และสามารถปฏิบัติได้จริง   สำหรับคนทั่วไป ที่ยังต้องสู้กับความผันแปร ของภาวะต่างๆในชีวิต ประจำวัน ก็คือ   การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ   เพราะนอกจากจะได้ผลโดยตรง คือมีสุขภาพทาง กายที่ดีแล้ว ยังมีผลทางอ้อม คือจะไปช่วยผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวลในใจทำให้มีสุขภาพจิตดี จึงได้ผลดีครบทั้งทางกายและทางจิตใจ
 
   ข้อดีของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  

1.  หัวใจ  ปอด  หลอดเลือดและระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
2.  กล้ามเนื้อ  เอ็น  กระดูกและข้อแข็งแรง  มีพลัง
3.  ตับ ไต และระบบขับถ่ายดี
ี4.  เสริมภูมิต้านทานโรคบางอย่าง  เช่น  หวัด,  ภูมิแพ้ 
5.  ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคบางโรค เช่น  โรคหัวใจ  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง ไขมันใน
     เลือดสูงและโรคอ้วน  เป็นต้น
6.  ชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ
7.  ผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล
    
    ข้ออ้าง หรือ คำตอบที่ใช้กันอยู่เสมอ ในผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย คือ  งานยุ่ง  ไม่มีเวลา  ซึ่งตาม ความเป็นจริงนั้น แทบทุกคนทราบดีว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่าง ยิ่ง วิธีแก้มี 3 ขั้นตอน คือ

 
ขั้นตอนแรก    

    ศึกษาและเรียนรู้ถึง คุณและโทษ ของการออกกำลังกายอย่างจริงจังเพื่อสร้างศรัทธา ความเชื่อมั่น  และความตั้งใจแน่วแน่ว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์ และจำเป็นสำหรับตัวเราเพื่อการมีสุขภาพดีไป จนถึงวัยสูงอายุและถึงแม้จะเป็นผู้สูงอายุแล้วก็ตามการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยจะช่วยให้เป็นผู้ สูงอายุที่มีคุณภาพ สามารถช่วยตัวเอง และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดี ไม่เป็นภาระแก่ลูกหลานและ ผู้ใกล้ชิดมากเกินความจำเป็น

   
ขั้นต่อไป  

    ต้องพยายามจัดเวลา ที่เหมาะสมให้กับตัวเอง  เพื่อใช้ออกกำลังกาย  ซึ่งอาจจะเป็นตอนเช้าอากาศ แจ่มใส ตอนเย็นหลังเลิกงานหรือตอนกลางคืนก็ได้เช่นกันช่วงละประมาณ  30 - 40 นาทีแต่ควรจะเป็น ช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ถ้าจะเลือกตอนเช้าก็เช้าเหมือนกันหรือเลือกตอนเย็นก็เย็นเหมือนกัน  เนื่องจาก ร่างกายจะได้ปรับตัวรับการออกกำลังกายของเราได้ดีกว่าในหลายระบบเช่นระบบเผาผลาญพลังงาน, ระบบฮอร์โมน และการทำงานของสมองเพื่อประสานกับระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น

   
ขั้นตอนสุดท้าย  
    คือการเลือกชนิดของกีฬาที่ถูกกับอุปนิสัย  และเหมาะสมกับตัวเราเองมากที่สุด  ซึ่งได้ให้ข้อสังเกต
สำหรับเรื่องข้อดีข้อเสียของกีฬาแบบแอโรบิคชนิดต่างๆ ไว้ตอนท้ายด้วย มีหลักการง่ายๆ คือ
     1. ควรเป็นชนิดที่เรามีความชอบและถนัดอยู่บ้างแล้วเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายจึงจะสามารถทำได้สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง
     2. ควรเป็นชนิดที่เราสามารถปรับความหนักเบาของการออกกำลังกายได้ด้วยตัวเอง 
     3. ควรเป็นชนิดที่สามารถเล่นได้แทบทุกสภาวะอากาศ เช่น ถึงแม้ฝนตกก็สามารถปรับให้ออกกำลัง          ได้ไม่ต้องหยุดชะงักหรือต้องงดไปหลาย ๆ ครั้ง  
     4. ไม่ควรเป็นกีฬาชนิดที่มีการปะทะหรือทำให้บาดเจ็บง่ายเช่น บาสเก็ตบอล ฟุตบอล รักบี้ เป็นต้น
     5. ใช้เวลาเตรียมตัวและค่าใช้จ่ายไม่มากนัก
     6. ที่สำคัญที่สุดคือเป็นกีฬาชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่มของ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ( Aerobic  Exercise)

 
   ในปัจจุบันวงการแพทย์ทางด้านเวชศาสตร์การกีฬายอมรับว่าการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ สำหรับทุกเพศวัย ควรจะเป็นกีฬาในกลุ่มของ  การออกกำลังกายแบบแอโรบิคโดยไม่เน้นเรื่องการแข่ง ขันเป็นสำคัญ เช่น ว่ายน้ำ  วิ่ง Jogging (รวมทั้งวิ่งบนเครื่องลู่วิ่งกล)  ถีบจักรยาน(รวมทั้งถีบจักรยานอยู่ กับที่) กรรเชียงบก เต้นแอโรบิค และเดินเร็ว เป็นต้นกีฬาประเภทที่นิยมเล่นกัน เช่น กอล์ฟ แบดมินตัน เทนนิส ฝึกกล้ามเนื้อโดยใช้น้ำหนักโบว์ลิ่งนั้น ไม่ถือเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคในระดับที่มาก เพียงพอ เพราะในระหว่างการเล่นจะมีการหยุดเป็นช่วงๆไม่ได้ทำต่อเนื่องตลอดเวลา จึงทำให้เกิดผลดี ต่อสุขภาพได้เพียงในระดับหนึ่งเท่านั้น

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=898&sub_id=95&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด