ให้เวลาคุณภาพ...คำตอบสู้ภัยร้ายในสื่อ


902 ผู้ชม


จะรับมือกับความรุนแรงผ่านสื่อทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์ได้ พ่อแม่อย่างเราทำได้ด้วยการให้ เวลาคุณภาพ กับลูกเท่านั้นเองค่ะ         จะรับมือกับความรุนแรงผ่านสื่อทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์ได้ พ่อแม่อย่างเราทำได้ด้วยการให้ เวลาคุณภาพ กับลูกเท่านั้นเองค่ะ 
แล้วจะรู้ว่าพลังความรักของครอบครัวสามารถช่วยให้ลูกก้าวผ่านภัยร้ายนี้ได้อย่างง่ายดายที่สุด 
ด้วยความรุนแรงที่รุกคืบเข้าสู่ประตูบ้านเราอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ว่าจะมาในรูปของการ์ตูนที่มีฉากต่อสู้รุนแรง หรือเสียงตามสายที่บรรยายเหตุการณ์จนเห็นภาพน่าสะพรึงกลัว รวมทั้งข่าวคราวน่าหวาดเสียวตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีไม่เว้นแต่ละวัน 
ความก้าวร้าว รุนแรงที่ซึมลึกอย่างนี้ไม่ดีต่อลูกน้อยแน่ๆค่ะ ในมุมมองของน.พ.ประเสริฐ ผลผลิตการพิมพ์ บอกว่า เราสามารถป้องกันความรุนแรงไม่ให้มาเคาะประตูและทำร้ายหัวใจดวงน้อยของลูกเราได้ ด้วยการ "ให้เวลาอย่างมีคุณภาพ" กับลูกก่อนอะไรทั้งหมดค่ะ เพราะเวลาที่เราให้กับลูกนั้นจะช่วยให้เราสนิทสนมกับลูก ได้ใกล้ชิดกับเขา ได้เห็นพัฒนาการเขา และสำคัญที่สุดเราสามารถแนะ และรับฟังสิ่งที่ลูกกำลังคิดอยู่ได้ 
"เวลาคุณภาพ" คือคำตอบ 

คงอย่างที่ "รักลูก" รณรงค์ตลอดมานะคะว่า ช่วง 1-6 ขวบเป็นปีทองที่เราควรให้เวลากับลูกมากๆ และเวลาคุณภาพนี้ล่ะจะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าเรารักเขา 
เขาเป็นที่ต้องการของเรา และเขามีคุณค่าในตัวเอง ที่สำคัญลูกจะเริ่มสร้างความรู้สึกไว้วางใจ ซึ่ง "ความไว้วางใจ" ในพ่อแม่ ญาติสนิท และผู้คนรอบข้างถือเป็นรากฐานสำคัญที่ลูกจะพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีและเป็นมิตรกับผู้คนต่อไปแต่ถ้าเราไม่มีเวลาให้เขามากพอ นอกจากลูกจะรู้สึกไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ต้องการของเราแล้ว ลูกอาจเสี่ยงภัยที่จะรับเอาความรุนแรงจากสื่อไม่ว่าจะเป็นสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์เข้าไปได้อย่างง่ายดาย เพราะไม่มีใครคอยชี้แนะอยู่ใกล้ๆ 
เวลา...ต้านสื่อร้ายทางวิทยุ
การรายงานข่าวฆาตกรรม หรือรายงานข่าวอุบัติเหตุอันร้ายแรงทางวิทยุ โดยบรรยายให้เห็นภาพชนิเแจ่มแจ้งนั้น จะไปกระทบใจและทำให้ลูกเกิดความรู้สึกกลัว และเครียดได้ ตรงนี้คุณหมอแนะนำว่า ถ้าบังเอิญเรากำลังนั่งรถไปกับลูกและเสียงรายงานข่าวตามวิทยุดังขึ้น เราสามารถถามความรู้สึกลูกไปได้โดยตรงค่ะว่า ลูกรู้สึกกลัวไหม หรืออยากให้ปิดวิทยุทันทีเลยหรือเปล่า 
ต่อจากนั้น เมื่อเราปิดวิทยุแล้วเราสามารถบอกเล่าเหตุการณ์ที่ได้ยินได้ฟังมาเมื่อสักครู่ด้วยน้ำเสียงราบเรียบ ไม่หวือหวา ไม่ตื่นตระหนก ไม่แต่งเรื่องราวให้เกินจริง แค่เล่าความเป็นมาและเป็นไปของข่าวให้ลูกได้รับรู้ผ่านข้อเท็จจริงที่เราสรุปใจความให้เขาฟังด้วยท่าทีบวกน้ำเสียงราบเรียบจะช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่นใจว่าเราสามารถเป็นที่พึ่งของเขาได้ และลูกจะค่อยๆ เรียนรู้ว่าเขาควรจะวิเคราะห์ข้อเท็จจริงออกจากสิ่งเกินจริงที่บางรายงานข่าวเสนอออกมาตามวิทยุ
เวลา...ต้านความรุนแรงจากจอทีวี 
บางฉากของการ์ตูนบางเรื่องมีความรุนแรงอยู่มาก เช่นฉากเตะต่อยกันจนเลือดสาดกระเซ็น หรือฉากทิ่มแทงกันด้วยอาวุธ ละครบู๊บางเรื่องมีฉากต่อสู้อย่างรุนแรง ความก้าวร้าวที่ค่อยๆ ซึมลึกอย่างนี้จะแทรกเข้าสู่การรับรู้ของลูก และทำให้เขาชินชากับสิ่งที่เห็นได้ 
ถ้าไม่อยากให้ลูกซึมซับกับเรื่องดังกล่าว พ่อแม่ควรจำกัดเวลาให้ลูกได้อยู่หน้าจอทีวีแค่เพียงวันละ 1 ชั่วโมงเท่านั้น และระหว่างที่ดูทีวีเราควรอยู่ใกล้ๆ ถ้าเห็นฉากรุนแรง หรือฉากก้าวร้าว ควรแนะลูกด้วยน้ำเสียงราบเรียบว่าฉากนั้นเป็นแค่การแสดง ไม่ใช่ของจริง
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=836&sub_id=2&ref_main_id=2
 

อัพเดทล่าสุด