รูปแบบการทำงานของสาวๆ ยุคนี้ส่งผลต่อความเจ็บป่วยทางจิตใจและร่างกายมากทีเดียว จึงมี Working Mom จำนวนไม่น้อยประสบปัญหาอาการปวดเรื้อรัง อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตที่รีบเร่ง...
ทำงานในพื้นที่จำกัด และชีวิตส่วนใหญ่ถูกผูกติดอยู่กับโต๊ะและจอ คอมพิวเตอร์แทบตลอดเวลา พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นที่มาของอาการ “ออฟฟิศซินโดรม” นั่นเองค่ะ
ภ
ไม่ใช่เพียงแค่ขาดการเคลื่อนไหว ออฟฟิศซินโดรมยังหมายรวมไปถึงกลุ่มอาการในเรื่องของระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้ ผลจากการอยู่ในออฟฟิศที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เครื่องปรับอากาศที่ไม่สะอาด รวมไปถึงสารเคมีจากหมึกของเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์และเครื่องพิมพ์เอกสาร ซึ่งวนเวียนอยู่ภายในห้องทำงานอีกด้วย
ภ
แบบไหน ‘ใช่’ ออฟฟิศซินโดรม
มีข้อมูลยืนยันว่าอาการนี้พบบ่อยและพบมากในกลุ่มคนทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มสาวออฟฟิศ (แน่นอนว่าหมายรวมถึง Working Mom อย่างคุณๆ ด้วย) และด้วยวิถีการทำงานในพื้นที่จำกัดและขาดการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมขึ้นได้ไม่ยาก อยากรู้ว่าตัวเองเสี่ยงกับอาการนี้หรือไม่ ให้คุณแม่ลองสังเกตตัวเองดูว่า
- มักจะนั่งทำงานติดต่อกันนานๆ
- เพ่งจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1 ชั่วโมง
- โต๊ะ-เก้าอี้ ที่ใช้นั่งทำงานไม่สะดวกสบาย
- นั่งใกล้เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์หรือเครื่องพิมพ์เอกสาร
ภ
ถ้าคำตอบคือ ใช่ เพียงแค่ 1 ข้อ ก็ถือว่าคุณแม่มีความเสี่ยงแล้ว แต่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ เพียงลุกขึ้นบิดตัว ขยับซ้าย-ขวา จะช่วยให้อาการดีขึ้น เพราะอาการดังกล่าวเกิดมาจากความเมื่อยล้าในการทำงาน ตำแหน่งที่มักจะเกิดอาการปวดเมื่อย คือ -คอ สะบักและศีรษะ รองลงมาคือ บริเวณหลัง บางครั้งมีอาการมือชาด้วย
ภ
แต่บางคนอาจมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อาจรู้สึกหายใจไม่เต็มที่ หายใจไม่สะดวก อึดอัด นอกจากนี้ความเครียดจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากการทำงาน หรือเครียดจากร่างกายซึ่งอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะ อุณหภูมิห้องร้อนหรือเย็นเกินไป และเลือดไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้อาการออฟฟิศซินโดรมชัดเจนยิ่งขึ้น
อาการใกล้ตัวนี้ถ้าเป็นมากจะก่อกวนระบบประสาทอัตโนมัติบริเวณคอและศีรษะ ทำให้ปวดเมื่อยคอ ตาพล่า หูอื้อ มึนศีรษะ หากละเลยไม่ใส่ใจอาจถึงขั้นวูบได้ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตและใส่ใจตัวเองอย่างสม่ำเสมอค่ะ
ภ
ออฟฟิศซินโดรม...เลี่ยงได้ไม่ยาก
อาการนี้แม้จะมีวิธีการรักษา แต่ก็ทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย คงดีกว่าหากออฟฟิศซินโดรมจะไม่มากล้ำกลาย Working Mom อย่างเราๆ เพราะฉะนั้นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงอุปกรณ์บางอย่างเพื่อช่วยลดความเสี่ยงกับอาการนี้ให้น้อยลง
ภ
ปรับพฤติกรรม
- กะพริบตาบ่อยๆ
- ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุกๆ 1 ชั่วโมง
- พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 10 นาที
- เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที
- นั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้
- วางข้อมือในตำแหน่งตรง ไม่บิดหรืองอข้อมือขึ้นหรือลง
ภ
ปรับอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน
1.คอมพิวเตอร์
-ตั้งจอคอมพิวเตอร์และคีย์บอร์ดไว้ในแนวตรงกับหน้า
-ขอบบนของจอคอมพิวเตอร์ ควรอยู่ระดับสายตา ในท่านั่งที่คุณแม่รู้สึกสบาย
-จอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างเท่ากับความยาวแขน ซึ่งเป็นระยะที่อ่านสบายตา
-ควรให้จออยู่ในมุมที่เหนือกว่าระดับตาเล็กน้อย
-ใช้เมาส์ โดยพักข้อศอกบนที่รองแขนและสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่
ภ
2.โต๊ะ-เก้าอี้
-ควรปรับให้ขอบของเบาะเก้าอี้ต่ำกว่าระดับเข่า
-ลองนั่งบนเก้าอี้ แล้ววางเท้าลงบนพื้น ให้ขาทำมุมประมาณ 90 องศา
-ปรับพนักพิงให้รองรับกับหลังส่วนล่าง ถ้าไม่สามารถทำได้ใช้หมอนหนุนหลังส่วนล่าง
-ปรับที่รองแขนให้อยู่ระดับข้อศอกและไหล่อยู่ในระดับที่ผ่อนคลาย
-ปรับให้มีช่องว่างระหว่างขอบเก้าอี้กับขาด้านหลัง
-ปรับที่วางคีย์บอร์ดให้อยู่ในระดับข้อศอก ทำมุม 90 องศา
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอุปกรณ์หลักที่ต้องใช้แล้ว ควรให้ความสำคัญเรื่องออกกำลังกายด้วย โยคะเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมมาก เพราะยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ได้ดี รวมถึงการออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของสุขภาพและกล้ามเนื้อ เพียงเท่านี้ไม่ว่าจะเวิร์กกิ้งมัมหรือสาวออฟฟิศ...ออฟฟิศซินโดรมไม่มากรำกรายให้วุ่นวายแล้วค่ะ
ภ
ภ
ข้อมูลอ้างอิง
โรค Office โรคที่คนทำงานออฟฟิศคาดไม่ถึง โดย ดร.สร้อยสุดา เกสรทอง สำนักพิมพ์ more of life
เอกสารประกอบการสัมมนา “เมื่อความปวดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคุณ” โดยสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทยและบริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=835&sub_id=4&ref_main_id=2