เวียนศีรษะ


1,231 ผู้ชม


เวียนศีรษะ มึนศีรษะและเวียนศีรษะไม่ใช่ชื่อโรค แต่เป็นอาการอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยๆ          เวียนศีรษะ มึนศีรษะและเวียนศีรษะไม่ใช่ชื่อโรค แต่เป็นอาการอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยๆ 

โดยมีสาเหตุมากมายหลายอย่าง และมีสาเหตุที่มาจากความผิดปกติของระบบประสาทในร่างกาย
ปกติการทรงตัวของร่างกาย จะประกอบด้วยการทำงานที่ประสานกันของอวัยวะ 3 ส่วน คือ สายตา ระบบประสาทรับความรู้สึก และประสาทหูตอนใน โดยมีสมองเป็นตัวควบคุม แปรผล และสั่งการ ตัวอย่างเช่น เราเดินบนถนน สายตาจะมองภาพสิ่งภายนอกที่สัมพันธ์กับร่างกายที่กำลังเคลื่อนที่ ประสาทความรู้สึกจะรับรู้ขาที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ส่วนหูชั้นในจะรับรู้ถึงความสัมพันธ์ของร่างกายกับแรงโน้มถ่วงของโลก คลื่นสัญญาณต่างๆ เหล่านี้จะวิ่งมาที่สมอง สมองก็จะประมวลผลสัญญาณต่างๆ เหล่านี้ แล้วสั่งการให้อวัยวะส่วนต่างๆ รักษาความสมดุลของร่างกาย ให้เดินอย่างคล่องแคล่ว สมดุล และสง่างาม ในผู้ที่สูญเสียการทำงานของระบบควบคุมการทรงตัวเหล่านี้ ก็จะมีอาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การรักษาสมดุลของร่างกาย และในความผิดปกตินี้บางครั้งทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ-บ้านหมุนขึ้นมาได้ ซึ่งแท้จริงแล้วอาการเวียนศีรษะ-บ้านหมุนเป็นลักษณะของกลุ่มอาการเท่านั้น โดยที่โรคอะไรก็ได้ที่ทำให้เกิดอาการแบนนี้ รวมๆ เรียกว่า เวียนศีรษะ-บ้านหมุน

อาการเวียนศีรษะหรือมึนศีรษะอาจเกิดขึ้นเป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรกเป็นความรู้สึกที่ว่าตัวเองหมุนไปรอบๆ หรือลักษณะที่สองหัวตัวเองอยู่นิ่งๆ แต่สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเราหมุน อาการเวียนศีรษะเหล่านี้อาจเกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสมอง หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะในหูชั้นในที่มีหน้าที่ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย อาการที่เกิดขึ้นอาจไม่หนักหรือรุนแรง แต่มีบางคนที่รุนแรงมากและเกิดขึ้นบ่อยจนเป็นปัญหาประจำตัว หรือบางคนอาจมีการคลื่นไส้อาเจียน เสียการทรงตัวจนเกิดการบาดเจ็บจากการหกล้ม หรือบางรายก็อาจเกิดอาการเป็นลมด้วยก็ได้

สาเหตุ

  1. สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ โรคที่เกิดจากหินปูนหลุดในหูชั้นใน ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะไม่มีอาการอะไรนำมาก่อน แต่มักจะมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเกิดขึ้นตอนตื่นนอน พอพลิกตัวบนที่นอนหรือลุกจากที่นอนจะมีอาการเวียนศีรษะทันที บางครั้งอาการเวียนศีรษะที่เกิดจะรุนแรงมาก และอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย อาการเวียนศีรษะของโรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งของศีรษะ เช่น ก้ม เงย หรือล้มตัวลงนอน อาการอาจเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ หรือเกิดต่อเนื่องกันเป็นอาทิตย์ได้ โดยส่วนใหญ่โรคนี้จะหายได้เองเมื่อตะกอนหินปูนที่หลุดในหูชั้นในกลับเข้าที่หรือตกตะกอนไป
  2. เกิดจากกระดูกสันหลังส่วนคอมีความผิดปกติ อาการเสื่อมตามวัยในคนสูงอายุ ซึ่งบางครั้งอาจจะสังเกตได้ว่า อาการเวียนศรีษะเกิดขึ้นเวลาเงยหน้าหรือเอี้ยวคอมากๆ บางรายอาจเกิดภายหลังอุบัติเหตุรุนแรง อาจเป็นเพราะสมองได้รับความกระทบกระเทือน แล้วต่อมามีน้ำในโพรงสมองมากขึ้น
  3. สาเหตุที่สำคัญ และมีอันตรายอีกอย่างหนึ่งคือ โรคที่เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคขาดหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน แต่มักจะพบอาการอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เช่น อาการอ่อนแรงของแขนหรือขา อาการชาหรืออาการเหมือนมดไต่อยู่ตามส่วนๆ ของร่างกาย นอกจากนี้อาจจะมีอาการพร่ามัว หรืออาการพูดลำบากร่วมด้วย ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นร่วมเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณเตือนภัยว่าต้องไปพบแพทย์โดยด่วน
  4. การอักเสบของประสาททรงตัว
  5. เนื้องอกของประสาททรงตัว
  6. ความผิดปกติของสมองและระบบประสาทกลางจากสาเหตุอื่นๆ
  7. โรคทางกายอื่นๆ บางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ และโรคติดเชื้อบางอย่าง โรคทางหูและระบบการได้ยิน

การวินิจฉัย

ผู้ป่วยควรจะบอกสาเหตุ และลักษณะอาการเวียนศีรษะของตนเมื่อไปพบแพทย์เพื่อจะได้มีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

  • อาการเริ่มอย่างไร ช้า เร็ว
  • ขณะเริ่มเป็น กำลังทำอะไร จะทำอะไร
  • เป็นนานแค่ไหน เป็นๆ หายๆ หรือตลอดเวลา
  • เป็นบ่อยแค่ไหน ทุกวัน ทุกเดือน หรือนานๆ ที
  • อะไรทำให้เกิดอาการเกี่ยวกับท่าทางหรือไม่ สาเหตุที่มากระตุ้น
  • เวลาเกิดอาการทำอย่างไรถึงหาย
  • อาการทุเลาลง หรือเป็นมากขึ้น หรือหายได้สนิท
  • อาการร่วม ขณะมีอาการ
  • อาการภายหลังจากการหายเวียนศีรษะ
  • โรคที่เป็น เคยเป็น อุบัติเหตุ โดยเฉพาะด้านหู ระบบประสาท
  • ประวัติยาที่เคยทาน

แนวทางการตรวจวินิจฉัย

ตัวอย่างคำบอกเล่าที่ผู้ป่วยมักเล่าให้แพทย์ฟัง คือ "รู้สึกเวียนศีรษะ เมื่อตื่นนอน และก่อนนอน รู้สึกว่าเพดาน ฝาบ้าน พื้นบ้านมีการหมุน มีตาพร่า อาการเป็นอยู่สักครู่ มีเสียงดังรบกวนในหูตลอด บางครั้งเดินๆ อยู่จะเซไปเอง โดยไม่รู้สึกตัว" แพทย์จะถามคำถาม เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดอาการเวียนศีรษะหมุน และแพทย์จะทำการตรวจต่างๆ ดังนี้

การตรวจร่างกาย

  • ตรวจทั่วไป
  • ตรวจหู คอ จมูก
  • ตรวจทางระบบประสาท

ตรวจด้วยเครื่องมือ

  • ตรวจการได้ยิน
  • ตรวจการทรงตัว
  • ตรวจภาพรังสีกระโหลกศีรษะ

การตรวจเลือด

  • เบาหวาน ไขมันในเลือด ซิฟิลิส

การตรวจสมองหรือระบบประสาทด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

การรักษา

  1. สำหรับในกรณีที่มีอาการเฉียบพลัน วิธีที่ดีที่สุดคือการนอนราบลงไป หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนต้องระมัดระวังเรื่องการสำลัก หากอาการไม่รุนแรงการรับประทานยาแก้เวียนศีรษะจะช่วยได้
  2. หากมีอาการร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่เหมาะสมต่อไป

การดูแลตัวเองเบื้องต้น

  1. นอนพักจนอาการเริ่มดีขึ้น
  2. อย่าเปลี่ยนท่าอย่างกระทันหัน
  3. หันศีรษะช้าๆ
  4. หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง เช่น เกลือ ยาบางชนิด
  5. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นเช่น ความเครียด ภูมิแพ้
  6. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การขับยานพาหนะ การปีนบันได
  7. หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือขณะอยู่ในยานพาหนะ เพราะอาจจะทำให้เกิดเมารถ เมาเรือ
  8. หลีกเลี่ยงกลิ่นฉุน
  9. ยาแก้เวียนศีรษะ เช่น meclizine, dimenhydrinate, promethazine, scopolamine, atropine และ diazepam

เมื่อไหร่ควรจะไปพบแพทย์

การดูแลตนเองเบื้องต้นมักจะได้ผลเป็นส่วนใหญ่ แต่บางครั้งด้วยปัจจัยหลายๆ ประการ จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง

  1. เมื่อทำตามวิธีการดูแลด้วยตนเอง ข้างต้นแล้วผ่านไปอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมงไม่ดีขึ้น หรืออาการแย่ลง ควรรีบไปพบแพทย์
  2. มีอาการอาเจียนมาก กินยา และดื่มน้ำไม่ได้เลย หรือกินยาแล้วมีอาเจียนทุกครั้ง ร่างกายจะขาดน้ำ เกลือแร่ และยา อย่าฝืนทน ควรไปพบแพทย์เพื่อฉีดยา และบางรายอาจจะต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ในรายที่เป็นมากจริงๆ อาจจะต้องพักในโรงพยาบาล แต่มีเป็นส่วนน้อย
  3. เมื่ออาการดีขึ้น แต่ไม่ยอมหายเป็นปกติเสียที ควรไปพบแพทย์เช่นกัน เพราะอาจจะมีสาเหตุบางอย่างซ่อนอยู่ ที่อาจจะจำเป็นต้องได้รับการค้นหา และรักษาที่ต้นเหตุ
  4. เป็นบ่อยๆ มากๆ จนรบกวนชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก ก็ต้องหาสาเหตุเช่นกัน หรือในรายที่ไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ การกินยาป้องกันไว้ก็อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่ง

การป้องกัน

  1. ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจค้นหาโรคที่เป็นต้นเหตุของอาการเวียนศีรษะ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคต่อมทัยรอยด์ โรคติดเชื้อบางอย่าง โรคของตา โรคทางหู และทางการได้ยิน โรคทางประสาท และสมอง
  2. ระวังการใช้ยาที่เป็นพิษต่อประสาทหู ไม่ควรใช้ยารับประทาน ยาฉีด หรือยาหยอดหูเอง โดยไม่ได้รับคำสั่งจากแพทย์ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะยาฉีดรักษาวัณโรค หรือโรคติดเชื้ออื่นๆ ควรสังเกตอาการผิดปกติเกี่ยวกับหู เช่น หูอื้อ มีเสียงดังในหู การได้ยินเลวลงกว่าปกติ หรือมีการเวียนศีรษะการทรงตัวที่ผิดปกติ เมื่อสังเกตว่าเริ่มมีอาการผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
  3. ระมัดระวังการหกล้มโดยเฉพาะศีรษะ อาจเกิดภาวะที่มีกระโหลกศ

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=830&sub_id=95&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด