ลงโทษ...ที่ถูกที่ควร


908 ผู้ชม


การลงโทษนั้นอาจเป็นดาบสองคม มีทั้งประโยชน์และโทษในตัวเองค่ะ หากลงโทษด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสม เช่น รุนแรงเกินไปไม่สมเหตุ สมผลอาจกระตุ้นให้เจ้าหนูเกิดพฤติกรรมก้าว หรือการลงโทษที่ทำให้เจ้าหนูอับอาย ก็จะทำให้ขาดความมั่นใจ แต่ถ้านุ่มนวลเกินไป พฤติกรรมนั้นๆ ก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงและเป็นปัญหาเช่นกันค่ะ         การลงโทษนั้นอาจเป็นดาบสองคม มีทั้งประโยชน์และโทษในตัวเองค่ะ หากลงโทษด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสม เช่น รุนแรงเกินไปไม่สมเหตุ สมผลอาจกระตุ้นให้เจ้าหนูเกิดพฤติกรรมก้าว หรือการลงโทษที่ทำให้เจ้าหนูอับอาย ก็จะทำให้ขาดความมั่นใจ แต่ถ้านุ่มนวลเกินไป พฤติกรรมนั้นๆ ก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงและเป็นปัญหาเช่นกันค่ะ 

การลงโทษเป็นการลดหรือหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่ถูกวิธีของลูกหรือ เปล่า เราลองมาช่วยหาวิธีลงโทษเจ้าตัวเล็กอย่างถูกวิธีกันนะคะ


คิดก่อนลงโทษหนู
* พิจารณา ความผิดและการลงโทษให้สัมพันธ์กัน เช่น ความผิดครั้งแรก ความผิดร้ายแรง หรือความผิดไม่รุนแรง ระดับความรุนแรงของการลงโทษควรแตกต่างกันค่ะ หรือหยั่งเสียงถามความคิดเห็นกับเจ้าตัวเล็กก่อนก็ได้ค่ะ ว่าเขามีความเห็นอย่างไรกับการ ที่ถูกทำโทษ และเขาคิดว่าควรถูกลงโทษอย่างไรจึงจะเหมาะส
* ตีความเจตนารมย์การกระทำของน้องหนูด้วยนะคะว่า ตั้งใจทำความผิดนั้นหรือเปล่า
* การ ลงโทษทุกครั้งจะต้องบอกเหตุผลให้ชัดเจนถึงพฤติกรรมที่เจ้าหนูกระทำ เพราะวัยนี้เข้าใจความเกี่ยวข้องระหว่างการกระทำและผลของการกระทำนั้นแล้ว ล่ะค่ะ เช่น "คุณแม่ไม่ให้หนูเล่นตุ๊กตาแล้ว เพราะว่าหนูหยิกน้อง น้องก็เจ็บเหมือนกัน"
* ควรลงโทษทันทีที่เจ้าหนูทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม ถ้าปล่อยไว้นาน เขาอาจลืมไปแล้วก็ได้ว่าตนเองทำอะไรผิด
* การตัดสินใจลงโทษต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลนะคะ ไม่ควรอยู่บนพื้นฐานของอารมณ์โกรธค่ะ
เลือกลงโทษอย่างเหมาะสม
พิจารณาลงโทษตามสถานการณ์และความเหมาะสมได้ดังนี้
1. การ ตำหนิ เป็นการใช้คำหรือประโยคกับเจ้าตัวเล็กเพื่อให้หยุดกระทำพฤติกรรม เช่น "แม่ต้องการให้หนูหยุดระบายสีที่ข้างฝานะคะ ข้างฝาเลอะเทอะไปหมดแล้ว" ซึ่งควรตำหนิด้วยน้ำเสียงปกติ ร่วมกับการใช้ภาษาท่าทาง เช่น การจับตัว การมองตาหรือการแสดงออกทางสีหน้า
2. การใช้เวลานอก (Time Out) คือ การจำกัดพื้นที่ หรือแยกเจ้าหนูออกมาต่างหาก เช่น แยกไปอยู่ในห้องที่ว่างเปล่า หรือแยกออกมาจากกลุ่ม เพื่อให้เจ้าหนูได้นั่งเฉยๆ ในที่ที่สงบ เพื่อคิดทบทวนพฤติกรรม หรือสิ่งที่ได้ทำลงไป
3. การ ปรับสินไหม คือ การถอดถอนตัวเสริมแรงทางบวก เช่น ดาวหรือแต้มคะแนน หลังจากที่เจ้าหนูแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ซึ่งทั้งดาวและแต้มคะแนนนั้นสามารถนำมาแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่เจ้าตัวเล็ก ต้องการ    เช่น ขนม การพาไปเที่ยว ของเล่น

อย่าลืมนะคะ ถ้าเจ้าหนูหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแล้ว ต้องให้คำชมหรือให้รางวัลอื่นๆ เพื่อให้เขาแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อไปด้วยค่ะ

ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=820&sub_id=2&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด