เลือกวิธีทำโทษตามวัยให้ได้ผล


777 ผู้ชม


การลงโทษ (punishment) ตามความหมายแล้วมีวัตถุประสงค์เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับตัวเด็กเองและเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้พฤติกรรมที่ถูกต้อง การลงโทษไม่ได้หมายถึงเฉพาะการตีลูกเท่านั้น มีอีกหลายวิธีที่สร้างสรรค์มากกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ลงโทษได้...         การลงโทษ (punishment) ตามความหมายแล้วมีวัตถุประสงค์เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับตัวเด็กเองและเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้พฤติกรรมที่ถูกต้อง การลงโทษไม่ได้หมายถึงเฉพาะการตีลูกเท่านั้น มีอีกหลายวิธีที่สร้างสรรค์มากกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ลงโทษได้... 
การลงโทษ (punishment) ตามความหมายแล้วมีวัตถุประสงค์เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับตัวเด็กเองและเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้พฤติกรรมที่ถูกต้อง การลงโทษไม่ได้หมายถึงเฉพาะการตีลูกเท่านั้น มีอีกหลายวิธีที่สร้างสรรค์มากกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ลงโทษได้ พ่อแม่ต้องเข้าใจพัฒนาการของลูก เพราะบางครั้งสิ่งที่ลูกทำอาจเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นตามช่วงวัยใช่ว่าจะเกิดจากอาการดื้ออาการซนและอยากลองดีเท่านั้น และจะเลือกใช้วิธีไหน คุณพ่อคุณแม่คงต้องดูพฤติกรรมและการตอบสนองของลูกเราเป็นหลัก 

0-1 ปี วัยยังไม่รู้เหตุรู้ผล
วัยนี้ยังเล็กมากเหลือเกินที่จะเข้าใจความหมายและฟังการตักเตือนของคุณ กับวัยนี้ลงโทษด้วยการที่แม่วางเฉยวัยที่ยึดแม่เป็นหลักในชีวิตเท่านี้ก็ร้าวใจสุดแล้ว วัยนี้ลูกยังบอกความต้องการไม่ได้นอกจากการร้องอือ อา หรือชี้นิ้วบอก ยิ่งกับวัยอ้อแอ้ 0-3 เห็นร้องไห้ก็อย่าเพิ่งคิดว่าลูกงอแงนะคะ หาสาเหตุที่ลูกร้องก่อนเพราะลูกอาจจะป่วยอยู่ก็ได้ สิ่งที่แม่ควรทำนอกจากจะโมโหใส่ลูกคือ ต้องอดทนและใจเย็นเท่านั้น 

เบี่ยงเบนความสนใจ
 
ถ้ากำลังสนใจอะไรที่ดูท่าว่าจะอันตรายหรือไม่เหมาะไม่ควร เช่น ร้องจะเอามือแหย่ปลั๊กไฟให้ได้ สำหรับลูกวัยนี้มีวิธีเดียวค่ะคือเบี่ยงเบนความสนใจเพราะวัยนี้สนใจอะไรเพียงชั่วครู่ชั่วยาม เดี๋ยวเดียวก็ลืมแล้วหากมีของเล่นชิ้นใหม่ที่น่าสนใจกว่า 

วางเฉย 
ถ้าพยายามเรียกร้องความสนใจ งอแง อะไรทำนองนี้ คุณแม่น่าจะวางเฉยเสีย(ทำเป็น)ไม่สนใจกับสิ่งที่ลูกทำปล่อยให้ร้องไปก่อน แต่ต้องดูด้วยว่าเขาอยู่ในสถานที่ปลอดภัยด้วยนะคะ วิธีนี้ลูกจะค่อยๆเรียนรู้ว่ามุขนี้ใช้กับแม่ไม่ได้ผลค่ะ ถ้าบ่อยๆเข้าแล้วไม่ได้รับการตอบสนองเดี๋ยวก็เลิกไปเอง 

น้ำเสียงและสีหน้าจริงจัง 
ใช้น้ำเสียง(หนักแน่น แต่ไม่ใช่การตวาดเสียงดังนะคะ) และสีหน้า แววตาจริงจังเข้าช่วย ด้วยน้ำเสียงที่ไม่อ่อนโยนเหมือนเคยกอปรกับหน้าคุณแม่ที่เคยเปื้อนรอยยิ้มกลายเป็นบึ้งตึงขึงขัง หากทำเป็นประจำเมื่อลูกทำผิด จะทำให้ลูกเรียนรู้ภาษากายที่แม่กำลังสื่อสารนั้น
1-3 ปี วัยทีเล่นทีจริง

ช่วงวัยแห่งการเลียนแบบเห็นคุณพ่อคุณแม่ทำอะไรก็นึกอยากจะทำตามเล่นด้วย เป็นวัยแห่งความอยากรู้อยากเห็นไม่มีที่สิ้นสุด อยากรู้อยากเห็นไปเสียหมด แถมบางครั้งแม่ก็ยังทำไม่ถูกใจหนูเสียอีกแต่ครั้งจะบอกก็ยังพูดไม่คล่อง อาการอึดอัดขัดใจแบบนี้ล่ะค่ะที่ทำให้หนูโมโหวีนแตกพลอยให้แม่หงุดหงิดไปด้วย 
เชื้อเชิญของเล่นชิ้นใหม่ 
ถ้าชอบที่จะรื้อตู้เสื้อผ้า ลองชวนไปเล่นบอลข้างนอกหรือเล่นตุ๊กตา วาดรูป จะดีกว่าเอ็ดใส่ลูก ด้วยคำพูดและน้ำเสียงที่เชื้อเชิญว่าน่าสนุกของคุณแม่เป็นหลุมพลางให้ลูกเดินตามไปได้ง่าย 

นิ่งเสียตำลึงทอง 
เห็นลูกร้องกรี๊ดก็นิ่งเสียค่ะ อย่าแว้ดกลับต้องข่มใจ(ทั้งที่ยากแสนยาก) บอกลูกด้วยคำสั้นๆ ที่เข้าใจง่าย และสีหน้าเป็นมิตร เช่น "หนูบอกแม่ดีๆ ว่าต้องการอะไร กรี๊ดแบบนี้แม่ฟังไม่รู้เรื่องนะคะ" วัยนี้พอจะเข้าใจและรับรู้ถึงท่าทีของเราแล้ว เมื่อบอกเสร็จก็หันกลับแล้วเฉยเสีย จากนั้นก็คอยดูท่าทีลูก สักพักถ้าเขาสงบลงไม่ว่าลูกจะเดินมาหรือเปล่าควรเข้าไปกอดลูกแล้วบอกเหตุผลว่าทำไมแม่ถึงไม่ให้หนูทำหรือไม่ให้หนูเล่น เท่านี้ก็เข้าใจแล้วค่ะ(แต่อย่าเพิ่งคาดหวังว่าคราวต่อไปจะไม่เกิดขึ้นอีก เพราะลูกยังเล็กนักค่ะ อาศัยความถี่ในการใช้วิธีการเหล่านี้ เมื่อลูกโตขึ้นอีกหน่อยก็จะเข้าใจมากขึ้น) 
คำว่า "ไม่" "อย่า" "ห้าม" ใช่ว่าจะดีเสมอ 
จริงๆ แล้วการสั่ง"ห้าม" ไม่ให้ทำสิ่งนั้นๆ ยิ่งเป็นการยั่วยุ กระตุ้นให้มนุษย์ตัวเล็กของเรา อยากรู้อยากเห็น ประมาณว่ายิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ถ้าอยากเปิดลิ้นชักคุณพ่อจังเลยก็บอกเขาว่าตู้นั้นเป็นของคุณพ่อ หนูเปิดไม่ได้ต้องขออนุญาตก่อน แต่ถ้าหนูอยากเปิดให้เปิดกล่องของเล่นหนูแทนดีกว่า แล้วก็ใช้ภาษามือกวักเรียกลูกแล้วชี้มาที่กล่องด้วยสีหน้าเชื้อเชิญและยิ้มแย้มแจ่มใสนะคะ ลูกจะได้คล้อยตามหน้าตาคุณแม่ว่าน่าสนุกจริงๆ ไงคะ
3-6 ปี วัยช่างรู้
วัยแห่งความมาดมั่นมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เขาจะคิดว่าเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งและจะชอบมากที่จะทำอะไรได้เหมือนที่ผู้ใหญ่ทำ ความคิดและจินตนาการรุดหน้า แต่ด้วยความเป็นเด็ก มีหลายอย่างที่ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ นึกอยากจะทำอะไรก็ทำ ด้วยพฤติกรรมของลูกวัยนี้นี่เองที่มักเป็นชนวนเปิดศึกให้พ่อกับแม่ได้ง่ายๆ แต่อย่าลืมว่าวัยนี้เขาสามารถเข้าใจเหตุผลมากขึ้นเป็นลำดับแล้ว การบอกเหตุผลคู่ไปกับการลงโทษจะใช้ได้ผลดี ต้องเริ่มสร้างกฎกติกาเพื่อฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองได้แล้ว เพื่อเป็นการปูทางสร้างพฤติกรรมที่ดีให้ลูกในอนาคตไง 
Time out 
วิธีลงโทษที่มุ่งให้เด็กได้ทบทวนสิ่งที่เขาทำผิด time out จะช่วยแยกเด็กออกจากสิ่งเร้าและสิ่งกระตุ้นที่เขาต้องการชั่วคราว เพื่อให้เด็กสงบและเป็นการช่วยฝึกให้ลูกควบคุมตัวเองได้ ขณะจับลูกแยกออกมาบอกเขาด้วยค่ะว่า "ลูกกำลังโกรธ ต้องมานั่งมุมห้องเพื่อให้ใจเย็นนะคะ" การใช้เวลาtime out ควรทำไปตามช่วงอายุลูก เช่น ถ้า 4 ขวบก็ใช้เวลา time out 4 นาที หรือถ้าลูก 5 ขวบก็ใช้เวลา time out 5 นาที เมื่อลูกสงบอยู่ครบตามเวลาแล้วก็ปล่อยให้เด็กกลับไปทำกิจกรรมอย่างอื่นต่อได้ค่ะ 
สร้างกฎเพื่อฝึกระเบียบวินัย 
วัยนี้สามารถเข้าใจและทำตามกฎเกณฑ์ได้บ้างแล้ว เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องอาศัยเวลาและออกกฎที่ไม่ขัดกับธรรมชาติของลูกมากเกินไป 
ที่สำคัญกฎที่ตั้งขึ้นต้องเป็นกฎที่ทุกคนในบ้านปฏิบัติกับเขาด้วยวิธีเดียวกัน
งด ละ เลิก

"งด" ของเล่นหรืองดให้รางวัลเป็นวิธีลงโทษบทหนึ่ง งดทานขนม หรืองดดูการ์ตูนเรื่องโปรด ใช้เวลางดไม่นานเกินไป ขณะเดียวกัน็ต้องบอกอธิบายเหตุผลให้ลูกรู้ด้วย 
"ละ" อารมณ์โกรธคุณพ่อคุณแม่ลง เพราะการปลดปล่อยทุกอย่างออกมาทั้งหมดเป็นการใช้อารมณ์ไม่ใช่เหตุผล และเป็นชนวนนำไปสู่การลงโทษที่ใช้ความรุนแรง เช่น การตีลูก หรือตวาดเสียงดัง ซึ่งจจะทำให้ลูกซึมซับไปโดยไม่รู้ตัว 
"เลิก" การตามใจลูก เพราะไม่อย่างนั้นความพยายามที่จะฝึกลูกให้เป็นเด็กมีเหตุมีผล คอยเป็น มีวินัย เข้าใจคนอื่น จะหายไปทั้งหมดถ้าพ่อแม่ตามใจ 

Corncern: ลงโทษหนักไป
ลูกอาจจะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว ติดที่จะใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาจากพ่อแม่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมในระยะยาวของลูก รวมไปถึงการสร้างเกราะป้องกันตัวเอง เช่น โกหก ใส่ร้ายคนอื่น หลีกเลี่ยงและเฉไฉ ปกปิดเพื่อไม่ให้ถูกจับได้ว่าตัวเองทำผิด ซึ่งพฤติกรรมนี้จะส่งผลเสียเมื่อลูกโตเป็นผู้ใหญ่ได้ 
ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก จะทำอะไรก็กลัวผิดไปหมด ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ซึ่งวัยนี้ควรเป็นวัยที่ต้องทดลองและมีสิ่งที่ตอบสนองหรือสนับสนุนความอยากรู้อยากเห็นนั้น 
เกิดพฤติกรรมไม่ตอบสนอง ซึ่งอาจจะเกิดจากความชินชากับการลงโทษและส่งผลให้ครั้งต่อไปเด็กจะไม่สนใจหรือรู้สึกกับการทำผิดใดๆ เลยค่ะ
คำถามชวนฉงนเรื่องการลงโทษ

Q : พาลูกไปห้างสรรพสินค้า ร้องดิ้นพล่านกลางห้าง ทำอย่างไรดี? 
A : หลายบ้านที่ต้องตามใจลูกเพราะอายกับพฤติกรรมแบบนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ลองเปลี่ยนเป็นไม่สนใจ นิ่งเฉย ปล่อยให้ลูกร้องไปแล้วพาลูกกลับบ้านทันที ด้วยอารมณ์ปกตินะคะคุณพ่อคุณแม่อย่าเผลออารมณ์ร้อนไปตามลูก ครั้งแรกอาจจะไม่ได้ผลแต่ต่อไปเขาจะเริ่มเรียนรู้ว่าการลงทุนร้องขอของเล่นวิธีนี้ไม่ได้ผล และจะเลิกทำไปเอง ที่สำคัญไม่ต้องอายค่ะ แม้จะอยู่ในที่สาธารณะแต่ก็ต้องมั่นใจและบอกตัวเองว่า สิ่งที่ทำอยู่เป็นวิธีการของเราที่จะฝึกลูก(คนอื่นจะมองอย่างไรเดี๋ยวก็คงต้องปล่อยไปไปค่ะ ไม่เช่นนั้นลูกก็จะเป็นผู้ควบคุมเรา โดยใช้สถานการณ์นี้เป็นเงื่อนไขอยู่ร่ำไป) 

Q : ตีลูกเบาๆ ทำได้ไหมคะ? 
A : แม้ทฤษฎีส่วนใหญ่จะไม่เห็นด้วย แต่ในความเป็นจริงของการเลี้ยงดูเด็ก ก็คงมีบ้างที่พ่อแม่เลือกใช้วิธีนี้ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคอยเตือนตัวเองคือการตีในที่นี้ต้องไม่ใช้อารมณ์หรือรุนแรง แต่เป็นเครื่องมือหนึ่งให้ลูกเรียนรู้ว่าว่าสิ่งนี้ไม่ควรทำ ต้องบอกลูกด้วยค่ะว่าถูกตีด้วยสาเหตุอะไร แล้วถ้าคิดจะตีลูกต้องรอให้ลูกครบ 5 ปีก่อนนะคะ เพราะเขาสามารถเข้าใจเหตุผลบ้างแล้ว ถ้าเด็กกว่านี้เขาจะไม่เข้าใจว่าทำไมต้องโดนตีแล้วอาจจะไปทำกับเพื่อนที่โรงเรียนได้นะคะ


ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=818&sub_id=2&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด