เทคนิคกระตุ้นกล้ามเนื้อมือ


710 ผู้ชม


พัฒนาการทางกล้ามเนื้อมือไม่สามารถดำเนินไปตามลำพัง จำเป็นต้องอาศัยทักษะการมองเห็นร่วมด้วยเพราะการทำงานของมือและตาจะประสานกัน คือมีการมองตามมือตัวเอง เช่น เวลาเขาจับนิ้วคุณแม่ ตาก็จะมองนิ้วตามด้วยเหมือนกัน         พัฒนาการทางกล้ามเนื้อมือไม่สามารถดำเนินไปตามลำพัง จำเป็นต้องอาศัยทักษะการมองเห็นร่วมด้วยเพราะการทำงานของมือและตาจะประสานกัน คือมีการมองตามมือตัวเอง เช่น เวลาเขาจับนิ้วคุณแม่ ตาก็จะมองนิ้วตามด้วยเหมือนกัน 

มือเล็ก...มือน้อยของหนูก็มีพัฒนาการเหมือนกันนะ  เพราะฉะนั้นที่คุณแม่เห็นนิ้วน้อยๆ เคลื่อนไหวหยิบจับของง่ายๆ นั้น จริงๆ แล้วต้องใช้การทำงานประสานกันของอวัยวะหลายส่วน 


พัฒนาการของมือน้อย 

1-3 เดือน 
หลังจากแรกเกิดที่เจ้าตัวเล็กมีสัญชาตญาณการคว้าจับ ช่วง 3 เดือนนี้แรงคว้าจับเริ่มคลายตัวลงไป นิ้วมือจะค่อยๆ ยืดเหยียด ซึ่งเด็กมักให้ความสนใจมือของตัวเอง บางครั้งก็จะกางมืออ้าตลอด ชอบยกมือขึ้นมาดูเล่น ถ้าลองวางสิ่งของลงในมือ เด็กจะถือไว้ได้ไม่ ช่วงนี้เพียงกำๆ กางๆ ยกมือขึ้นดูเล่นเท่านั้น 
กระตุ้นเสริมพัฒนาการ : ลองใช้ของเล่นที่มีพื้นผิวต่างกันเขี่ยมือเด็กเบาๆ เพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัส หรือวางสิ่งของลงในมือ เด็กจะรีบใช้อุ้งมือรัดของเล่น หรือจะเล่นด้วยการใช้นิ้วมือแม่ 
3-6 เดือน 
กล้ามเนื้อมือเจ้าตัวเล็กเริ่มแข็งแรงขึ้นมาก สามารถควบคุมมือได้มากขึ้น เช่น ดึงเสื้อมาเล่นจ๊ะเอ๋ได้ ช่วงนี้จะชอบคว้าของด้วยสองมือ ชอบหยิบจับหรือขยำของเล่นที่มีเสียง แต่จะยังถือของที่มีน้ำหนักไม่ค่อยได้ พยายามใช้ปลายนิ้วเกี่ยวหรือคว้าจับสิ่งของ และค่อยๆ ใช้นิ้วกลางกับนิ้วชี้คีบของมากกว่า 
กระตุ้นเสริมพัฒนาการ : ลองยื่นของเล่นไปให้เขาใกล้ๆ เด็กจะเอื้อมมือออกมาคว้า หรือเล่นด้วยการจับและปล่อย หรือจะฝึกให้ใช้ช้อนทานอาหารเองก็ได้ 
6-9 เดือน 
เด็กมักจับของเล่นไว้ในมือนานๆ แม้จะหยิบของเล่นชิ้นใหม่ขึ้นมาก็ไม่ยอมทิ้งชิ้นเดิม และชอบทำให้เกิดเสียง เช่น ใช้ของเล่นเคาะโต๊ะ เริ่มเคลื่อนไหวมือได้คล่องแคล่วมากขึ้น ใช้นิ้วแหย่ แคะ เกา ได้และพยายามหยิบจับของเล็กจิ๋ว เช่น เม็ดถั่ว สร้อยคอเส้นเล็ก 
กระตุ้นเสริมพัฒนาการ : ลองหั่นอาหารหรือผลไม้เป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดพอดีคำ เด็กจะสนุกที่หยิบได้และยังอิ่มท้องด้วย 
9-12 เดือน 
เริ่มหยิบของด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ได้แล้ว สามารถหยิบและกำของไว้ในมือได้ ซึ่งสนุกที่จะหยิบของขว้าง และพยายามจะถือแท่งไม้ 2 อันด้วยมือข้างเดียว 
กระตุ้นเสริมพัฒนาการ : ให้วางของเล่นลงในมือลูกหลายๆ ชิ้นแล้วให้ลูกโยนทิ้ง เพราะการปล่อยของให้หลุดจากมือเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนที่สมองจะรับรู้และสั่งการ เด็กต้องฝึกอยู่นาน ส่วนการถือของ 2 ชิ้นในมือเดียวนั้น คุณแม่คงต้องค่อยๆ ฝึกโดยวางแท่งไม้ทั้งสองลงไปในมือเขาพร้อมๆ กัน 
Doctor's Advice 
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าพัฒนาการมือของลูกไม่เป็นไปตามช่วงวัย อย่าเพิ่งวิตกกังวลจนเกินไปนะคะ เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการแต่ละด้านไม่เท่ากันค่ะ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ใจร้อนไปเร่งรัดมากเกินไปลูกอาจเกิดความเครียดได้ ทางที่ดีควรสังเกตและมั่นกระตุ้นพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด และอย่าลืมดูพัฒนาการด้านอื่นประกอบด้วยนะคะ แล้วจะพบว่าแต่ละระยะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นค่ะ

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=812&sub_id=2&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด