เด็กเล็กกับการแปรงฟัน


1,132 ผู้ชม


เด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง จะมีฟันกรามและน้ำนมขึ้นมาในช่องปาก ผู้ใหญ่ควรทำความสะอาดฟันโดยใช้แปรงสีฟันที่มียาสีฟันผสมฟลูออไรด์ แตะเพียงเล็กน้อย แปรงฟันให้เด็กเล็ก รวมทั้งสอนให้ลูกรู้ วิธีแปรงฟัน และให้เด็กลองหัดแปรงฟันด้วยตนเองบ้าง...          เด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง จะมีฟันกรามและน้ำนมขึ้นมาในช่องปาก ผู้ใหญ่ควรทำความสะอาดฟันโดยใช้แปรงสีฟันที่มียาสีฟันผสมฟลูออไรด์ แตะเพียงเล็กน้อย แปรงฟันให้เด็กเล็ก รวมทั้งสอนให้ลูกรู้ วิธีแปรงฟัน และให้เด็กลองหัดแปรงฟันด้วยตนเองบ้าง... 

เด็กเล็กกับการแปรงฟัน

 

เด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง จะมีฟันกรามและน้ำนมขึ้นมาในช่องปาก ผู้ใหญ่ควรทำความสะอาดฟันโดยใช้แปรงสีฟันที่มียาสีฟันผสมฟลูออไรด์ แตะเพียงเล็กน้อย แปรงฟันให้เด็กเล็ก รวมทั้งสอนให้ลูกรู้ วิธีแปรงฟัน และให้เด็กลองหัดแปรงฟันด้วยตนเองบ้าง โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี ผู้ใหญ่จำเป็นต้องแปรงฟันให้ เพราะเด็กยังมีพัฒนาการในการใช้มือไม่ดีพอ ถ้าเด็กมาความพร้อมดีก็สามารถแปรงฟันด้วยตนเองได้ สังเกตจากการที่เด็กผูกเชือกรองเท้าเป็นโบว์เองได้ หรือเด็กสามารถเขียนหนังสือได้เอง ก็แสดงว่าเด็กสามารถใช้มือแปรงฟันได้ดี ถึงแม้ว่าเด็กแปรงฟันเองได้แล้ว ผู้ใหญ่ก็ควรตรวจดุความสะอาดในการแปรงฟันของเด็กทุกครั้ง

การป้องกันโรคฟันผุ มี 2 ระดับ คือ

  1. การปฏิบัติ, การป้องกันโรคฟันผุขั้นพื้นฐาน เป็นวิธีป้องกันโรคฟันผุที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่าย ได้แก่
    • แปรงฟันเพื่อกำจัดจุลินทรีย์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
    • ใช้อุปกรณ์อื่นๆ ช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์บริเวณที่แปรงได้ไม่ดีพอ เช่น ใช้ ไหมขัดฟัน หรือไม้จิ้มฟันบริเวณซอกฟัน
    • พบทันตแพทย์ เพื่อตรวจรักษาสุขภาพในช่องปากรับคำแนะนำต่างๆ ทำการเคลือบหลุมและร่องฟัน หรือให้ฟลูออไรด์เข้มข้นกับเด็ก
  2. การปฏิบัติการป้องกันโรคฟันผุเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่มีฟันหน้าล่างผุ หรือ 2 ใน 3 ของกรณีต่อไปนี้ มีฟันผุเป็นรู ตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไปมีฟันผุบริเวณที่ไม่ใช่หลุม และร่องฟันตั้งแต่ 1 แห่งขึ้นไป มีฟันผุรอบๆ รอยวัสดุอุดเดิม ตั้งแต่ 1 แห่งเป็นต้นไป การป้องกันโรคฟันผุเพิ่มเติม ได้แก่ ลักษณะที่ผุเป็นรูผุชัดเจนพบทันตแพทย์ เพื่อ เอาส่วนที่ผุออกให้มากที่สุด ทุกซี่ อุดชั่วคราว (Caries control) เพื่อควบคุมโรคและนัดมาทำการรักษาต่อในแต่ละซี่ ถ้าลักษณะที่ผุเป็นจุดสีขาวขุ่นบนผิวฟัน (White spot) พบทันตแพทย์เพื่อทาฟลูออไรด์เฉพาะที่และอมบ้วนปากด้วย Sodium fluoride 0.05% วันละ 1 ครั้ง แนะนำการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อลดระดับความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากทุก 3-4 เดือน

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=796&sub_id=2&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด