สะกดจิตบำบัด (Hypnosis)


843 ผู้ชม


ซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้ศึกษาการสะกดจิต และพบว่าสามารถใช้การสะกดจิตช่วยผู้รับการบำบัดให้อาการดีขึ้นได้จาก         ซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้ศึกษาการสะกดจิต และพบว่าสามารถใช้การสะกดจิตช่วยผู้รับการบำบัดให้อาการดีขึ้นได้จาก 

ความทรงจำที่เก็บกดไว้ โดยในขณะสะกดจิตผู้รับการบำบัดจะปลดปล่อยเหตุการณ์สะเทือนใจในวัยเด็กออกมา...

สะกดจิตบำบัด (Hypnosis) เป็นกระบวนการบำบัดทางจิตโดยชักนำผู้รับการบำบัดให้เข้าสู่ภาวะภวังค์ จากนั้นพยายามแก้ไขปมขัดแย้งที่คาดว่าผู้รับการบำบัดยังยึดติดอยู่(Fixation) เพื่อให้ผู้รับการบำบัดแก้ปมดังกล่าว ส่งผลให้มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรือดำเนินชีวิตที่เป็นปกติ
 

ขั้นตอนการสะกดจิต

  1. พิจารณาเลือกผู้รับการบำบัดที่จะถูกสะกดจิตว่าสมควรใช้การสะกดจิตหรือไม่
  2. การทดสอบความสามารถของผู้รับการบำบัดในการถูกสะกดจิต
  3. เทคนิคการสะกดจิตมีหลายวิธี ได้แก่ การใช้เสียงแบบสม่ำเสมอ เรียกว่า monotonous sound การใช้ยาร่วมเพื่อให้ผู้รับการบำบัดง่วง การใช้เสียงเคาะไม้ให้เป็นจังหวะ เสียงสวดมนต์ การใช้จ้องมองแสงไฟ ลูกแก้ว และวิธีการสัมผัส โดยลูบเบา ๆ หรือแตะตัวผู้รับการบำบัด เป็นต้น
  4. วิธีการดูกิริยาท่าทาง ที่แสดงความลึกของภวังค์ (Trance) ภายใต้การสะกดจิต และการทำให้หลับลึกขึ้น
  5. การปลุกจากการสะกดจิต เป็นการยุติการสะกดจิตซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้เสียงปลุกผู้ถูกสะกดจิตเท่านั้น แต่ต้องบอกให้ผู้ถูกสะกดจิตกลับคืนสู่สภาพปกติเสียก่อน
  6. การใช้ประโยชน์จากการสะกดจิต จำเป็นต้องพิจารณาข้อบ่งใช้และข้อห้าม

ภวังค์ (Trance) มี 4 ระดับ

  • ระดับที่ 1 ภวังค์ขั้นอ่อนที่สุด (Very light trance) ผู้ถูกสะกดจิตจะไม่รู้สึกว่าถูกสะกดจิต แต่จะรู้สึกผ่อนคลายความตึงเครียด (Relaxation) พบได้ร้อยละ 10
  • ระดับที่ 2 ภวังค์ขั้นอ่อน (Light trance) ผู้ถูกสะกดจิตยังไม่รู้สึกว่าถูกสะกดจิต ประสาทสัมผัสทั้งห้ายังปกติ ไม่สามารถเปิดตาแต่อาจกระพริบตาได้ พบได้ร้อยละ 25
  • ระดับที่ 3 ภวังค์ขั้นปานกลาง (Medium trance) ระดับนี้หนังตาปิดสนิท และยังรู้สัมผัสแต่ไม่เต็มที่ อาจมีอาการชาแขนขาได้ พบได้ร้อยละ 35
  • ระดับที่ 4 ภวังค์ขั้นลึกที่สุด (Deepest trance) เกิดอาการลืม (Amnesia) ร่างกายแข็งเกร็ง ไม่รับความรู้สึกเจ็บปวดหรือร้อนเย็นสามารถขักจูงให้กระทำตรามได้ ทั้งขณะสะกดจิตและภายหลังจากหยุดสะกดจิตแล้วที่เรียกว่า Post Hypnotic Suggestion พบได้ร้อยละ 25
    image

ข้อบ่งใช้

  1. ใช้ควบคุมผู้รับการบำบัดที่เสพติดสารต่าง ๆ สุรา และบุหรี่
  2. ใช้แทนยาชาในการผ่าตัด สูติกรรม และทันตกรรม
  3. Psychosomatic disorder และโรคทางกายต่าง ๆ
  4. อาการ conversion, Amnesia และ Fugue
  5. นิสัยผิดปกติ ได้แก่ ปัสสาวะรดที่นอน กินจนเป็นโรคอ้วน ติดอ่าง
  6. ใช้การสะกดจิต เพื่อให้ผู้รับการบำบัดผ่อนคลายความตึงเครียด (Relaxation)
  7. ใช้ในการค้นหาข้อมูลเพื่อสร้างสมมติฐานจิตพลศาสตร์

ข้อห้าม

ผู้รับการบำบัดที่ได้การสะกดจิตจะอยู่ในภาวะที่พึ่งพิงผู้รักษา ทำให้อาจเกิด Transference อย่างรุนแรงได้ โดยเฉพาะTransference ชนิดลบ อาจเกิดขึ้นในผูรับการบำบัดที่มีจิตเปราะบาง มีปัญหาในการทดสอบความเป็นจริง (Reality Testing)
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=763&sub_id=71&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด