โดยปกติกิจวัตรประจำวันของเราทุกคน คือ การออกจากบ้านไปที่ทำงาน หลังเลิกงานบางท่านอาจมีกิจกรรมอื่นๆนอกบ้าน
เช่น ไปฟิตเนส ไปวิ่งที่สวนสาธารณะ หรือไปออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค...
โดยปกติร่างกายของเราทุกคนจะอยู่ในท่าพักผ่อน หรือท่านั่ง ประมาณ 8 ช.ม. ต่อวัน บางทีอาจนั่งทำงานมากถึง 10 ช.ม. ต่อวัน (รวมเวลานั่งทานอาหารและนั่งอยู่ในรถด้วย) ซึ่งนั่นถือว่าเราอยู่ในท่านั่งเป็นเวลานานมากต่อวัน
ใครจะคิดว่า พฤติกรรมท่านั่งปกติธรรมดาเช่นนี้ จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคอย่าง “กล้ามเนื้อตะโพกหนีบเส้นประสาท” ได้
“ผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดรุนแรง กว่าโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เสียอีก นอนตอนกลางคืนจะปวดมากจนนอนไม่หลับ เวลาเปลี่ยนท่า อย่างการเดินแรกๆ มักจะปวดตะโพกลงขา แต่พอเดินๆ ไประยะหนึ่งจะค่อยๆ หายปวดขา ถ้าเป็นที่กล้ามเนื้อต้นคอ เวลาขยับกล้ามเนื้อคอจะมีอาการปวดเสียวอาการปวดตามบ่า ไหล่ ตะโพกที่ค่อยๆ ขยายวงกว้างขึ้นจนไปถึงปลายมือ ปลายเท้า ไม่ว่าจะกินยาขนานใดก็ตาม ไม่มีทีท่าว่าจะหายขาดนั้น คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นสาเหตุมาจากกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทแต่ไม่ใช่ ทั้งหมด เพราะคนไข้บางรายที่ตรงไปพบแพทย์ด้วยอาการที่ว่าอาจจะพบความผิดปกติของหมอน รองกระดูกสันหลังที่อาจเกิดขึ้นตามวัยด้วย บางรายยอมที่จะเจ็บตัวกับการผ่าตัดทว่าอาการของโรคก็ดูเหมือนจะยังไม่หายไป อย่างแรงเหมือนไฟฟ้าช็อตไปที่แขนได้ ซึ่งอาการนี้คล้ายคลึงกับในโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมาก” น.อ.นพ.ทายาท บูรณกาล ผู้อำนวยการสถาบันโรคกระดูกสันหลัง กรุงเทพ ระบุ
จาก สาเหตุนี้จึงทำให้หลายบริษัทและองค์กรต่างๆ หันมาส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยท่าบริหารร่างกายในเวลาทำงานให้กับ พนักงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ
- เวลายืนอยู่กับที่
เราสามารถใช้ท่ายืนอยู่กับที่ให้เป็นประโยชน์ได้ ในท่ายืนนั้นสามารถช่วยเผาผลาญแคลลอรี่ได้ง่ายๆ
- ยืนพูดโทรศัพท์หรือส่งข้อความจากโทรศัพท์มือถือ
- ยืนประชุมเพื่อคิดงานแทนนั่ง
- ยืนรับประทานอาหาร
- ลุกขึ้นยืนประมาณ 3-5 นาที ทุกๆ 3 ช.ม.
- เวลาพักกลางวัน
เราทุกคนควรใช้เวลาพักทานกาแฟหรือพักทานอาหารกลางวันให้เป็นประโยชน์ เช่น เดินเร็ว หรือเดินรอบบริเวณอาคารพร้อมๆกับการยืดเส้นยืดสาย ยืดกล้ามเนื้อไปด้วย
- ก้มลงไปจับนิ้วเท้า
- ก้มศีรษะลงและให้คางแตะที่หน้าอกจนรู้สึกตึงที่บริเวณหลังและลำคอ
- ยกไหล่ทั้งสองข้างขึ้นให้ถึงระดับหู
- ยกแขนข้างขวาและพับแขนลงมา ทำให้ข้อศอกตั้งฉาก จากนั้นใช้แขนซ้ายดันไปที่ข้อศอกจนรู้สึกตึง ทำซ้ำข้างละ 2 นาที
- การใช้อุปกรณ์ยกนํ้าหนัก
ควร มีดัมเบลเล็กๆที่ไม่หนักมากไว้ในที่ทำงาน ดัมเบลสามารถเป็นตัวช่วยในการออกกำลังกายที่แแขนและขา เพื่อผ่อนคลายจากอาการตึงของกล้ามเนื้อได้ - ใช้บันไดแทนลิฟท์หลังอาหารกลางวัน
การ เดินขึ้นบันไดหลังรับประทานอาหารกลางวันเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ค่อยอยากทำ แต่หากคุณเดินขึ้นบันไดเพียงแค่ 2-3 ขั้น ก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่ดีทีเดียว - เดินมาทำงาน
หาก คุณอยู่ไม่ไกลจากที่ทำงาน แทนที่จะขับรถมาทำงาน ลองหันมาเดินหรือปั่นจักรยานแทนก็เป็นการออกกำลังกายที่ดี หากต้องขับรถมาทำงานก็ควรเลือกที่จะจอดรถให้ไกลจากที่ทำงานซักนิด เพื่อทิ้งระยะในการเดินเข้าที่ทำงาน เพียงเท่านี้ก็เป็นการออกกำลังกายที่ทำได้ง่ายๆ
เมื่อคุณเริ่มจัดตารางเพื่อออกกำลังกายในที่ทำงาน คุณก็จะเห็นได้ทันทีว่า เพียงไม่กี่นาทีเราก็สามารถดูแลสุขภาพเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของเรา แบบไม่มีข้อจำกัด
มาออกกำลังกายกันเถอะครับ
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=761&sub_id=95&ref_main_id=2