หนูเกลียด !!!! วันเปิดเทอม


1,081 ผู้ชม


พูดถึงวันเปิดเทอม เด็กๆ หลายคนตื่นเต้นดีใจที่จะได้เจอเพื่อนๆหรือได้สวมชุดใหม่ แต่อีกหลายคนก็ยังอยากให้วันเปิดเทอมยืดยาวออกไปอีกนิด จะได้อยู่ใกล้ๆ พ่อกับแม่อีกสักพัก         พูดถึงวันเปิดเทอม เด็กๆ หลายคนตื่นเต้นดีใจที่จะได้เจอเพื่อนๆหรือได้สวมชุดใหม่ แต่อีกหลายคนก็ยังอยากให้วันเปิดเทอมยืดยาวออกไปอีกนิด จะได้อยู่ใกล้ๆ พ่อกับแม่อีกสักพัก 

แตถ้าคุณลูกเกิดเกลียดวันเปิดเทอมชนิดที่ไม่อยากให้มันมาถึงเลยล่ะ !!! )ภถ้าเด็กๆไม่ยอมไปโรงเรียน พ่อแม่ย่อมเดือนเนื้อร้อนใจเป็นธรรมดา แต่ถ้ามองกลับกันภแล้วเจ้าตัวเล็กล่ะ เกิดอะไรขึ้น จู่ๆถึงไม่อยากไปโรงเรียนขึ้นมา เรามาดูกันค่ะ ว่าเป็นเพราะอะไร แล้วเราพ่อแม่จะช่วยแก้ไขได้อย่างไรบ้างเกลียดเพราะอย่างนี้

1.ปัญหาสุขภาพ

นอกจากอาการป่วยไข้ไม่สบายแล้ว เด็กๆอาจมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ปัญหาการได้ยินหรือปัญหาสายตา อันส่งผลต่อการเรียนรู้ ซึ่งหากครูไม่เข้าใจและมีการทำโทษหรือตำหนิ เจ้าหนูอาจรู้สึกท้อถอย เสียกำลังใจ จนไม่อยากกลับไปอยู่ในสภาพเดิมที่โรงเรียนอีกเมื่อเปิดเทอมใหม่ภคงยากสักหน่อยที่เด็กๆจะรู้ปัญหาที่แท้จริงที่เกิดกับตัวเองได้ ทั้งไม่รู้ด้วยว่าจะบอกพ่อ

แม่อย่างไร ดังนั้นคุณจึงต้องช่วยเจ้าตัวน้อยด้วยการสังเกตและไถ่ถามเพื่อเสาะหาอาการต่างๆ ที่สงสัยว่าอาจเกิดขึ้นกับลูกค่ะ และรีบจัดการแก้ปัญหาพาไปปรึกษาคุณหมอ รวมทั้งพูดคุยกับคุณครูให้เป็นที่เข้าใจค่ะ

2.ปัญหาในหมู่เพื่อน

* รังแก รังควาน ล้อเลียน

เด็กแต่ละคนก็มีบุคลิกและอุปนิสัยแตกต่างกันไป เมื่อมาอยู่รวมกันที่โรงเรียนก็อาจทะเลาะเบาะแว้ง และรังแกกันบ้าง ไม่ว่าด้วยการกระทำหรือคำพูด เช่น ล้อเลียน แม้คุณครูจะคอยห้าม แต่ก็คงสร้างความหงุดหงิด รำคาญใจให้เจ้าตัวเล็กไม่น้อย ยิ่งถ้าแกเป็นเด็กอ่อนไหวง่ายด้วยแล้ว อาจขยาดโรงเรียนไปเลยล่ะ

ถ้าเจ้าตัวเล็กไม่ได้เริ่มต้นบอกปัญหาคุณเอง ก็ต้องพูดคุยเพื่อตะล่อมหาสาเหตุกันล่ะภ(ไม่ใช่การเค้น) จากนั้นคือปรึกษาคุณครู ซึ่งจะรู้เรื่องเกี่ยวกับเด็กๆแต่ละคนดี และสามารถอธิบาย ทั้งร่วมมือกับคุณแก้ปัญหาได้ ซึ่งที่สุดแล้วอาจพบว่าเด็กที่ชอบแกล้งเพื่อนคนนั้นมีปัญหาบางอย่างอยู่ คุณก็ควรอธิบายให้ลูกฟัง ทั้งให้คำแนะนำเฉพาะหน้า เช่น ให้หลีกเลี่ยงเพื่อนคนนั้น หรือ

พยายามลดความโกรธลง โดยการหายใจเข้าออกลึกๆช้าๆยามโกรธ และต้องให้ความมั่นใจกับแกด้วยว่าปัญหาหงุดหงิดหัวใจของแกครั้งนี้จะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีในที่สุด

*น้องหนูตกรุ่น

ในวัยอนุบาล เด็กๆที่เข้ากันได้จะจับกลุ่มเล่นด้วยกัน นั่งกินข้าวด้วยกัน อะไรๆก็ด้วยกันเป็นแพปาท่องโก๋เชียว ถ้าพัฒนาก้าวไปด้วยกันหมดทั้งกลุ่มก็ไม่มีปัญหาค่ะ ที่มีปัญหาก็ตรงพ่อหนูแม่หนูคนที่รั้งท้าย ที่แย่ไปกว่านั้นบางครั้งรั้งท้ายเขาอยู่คนเดียวนี่สิ แล้วเวลาเล่นด้วยกัน เพื่อนๆเขาก็เล่นเกมใหม่ๆที่เจ้าหนูท้ายแถวตามไม่ทัน เลยเหมือนถูกทอดทิ้งโดยปริยาย ซึ่งสร้างความรู้สึกเจ็บปวดให้ไม่น้อย

ในฐานะพ่อแม่ สิ่งที่ควรทำคือปรึกษากับคุณครูหรือพี่เลี้ยง เพื่อหาวิธีสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนใหม่ หรือช่วยให้ลูกลืมเรื่องเศร้าไปสนุกกับกิจกรรมใหม่ได้ นอกจากนี้ ความรู้สึกโดดเดี่ยวเช่นนี้ยังเกิดขึ้นได้จากการที่เพื่อนที่ใกล้ชิดถูกแยกไป เช่น ย้ายโรงเรียน ซึ่งอาจทำให้เจ้าหนูของคุณเศร้าได้เหมือนกัน ตอนนี้แหละที่เจ้าตัวเล็กต้องการกำลังใจจากคุณเป็นที่สุด

3.หนูอยากชนะ

บางทีที่เจ้าหนูไม่อยากไปโรงเรียนก็ใช่เพราะมีปัญหาเสมอไป แต่อาจเป็นเพราะใจแกอยากอยู่บ้าน (ในบ้านที่แม่ไม่ได้ออกไปทำงานข้างนอก) แล้วก็ไม่อยากทำตามพ่อแม่ที่บอกให้ไปโรงเรียนง่ายๆ เลยใช้ลูกอ้อนกับพ่อแม่ผู้ใจอ่อน แล้วถ้าเจ้าหนูของคุณทำสำเร็จสักครั้ง ก็เท่ากับไม้นี้ได้ผล ครั้งต่อๆ ไปก็จะตามมาในไม่ช้าภแต่ถ้าคุณมั่นใจว่าการไม่อยากไปโรงเรียนของลูกไม่มีปัญหาอะไรแอบแฝงอยู่ ลูกอ้อนนี้ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการทำใจแข็ง ไม่ยอมตามใจลูก ซึ่งก็ต้องอาศัยความสม่ำเสมอถึงจะสำเร็จ

4.มีน้องใหม่ เดี๋ยวแม่ไม่รัก

เด็กอนุบาลหลายต่อหลายคนรู้สึกไม่อยากไปโรงเรียนเพราะเหตุนี้ล่ะค่ะ เริ่มแรกเจ้าหนูอาจรู้สึกตื่นเต้นที่มีน้องใหม่ แต่เมื่อรู้ว่าน้องจะอยู่ที่บ้านตลอดไป แกก็จะเริ่มกลัว ไม่อยากปล่อยให้น้องยึดแม่ของแกไว้คนเดียวขณะที่แกต้องไปอยู่ที่โรงเรียนเกือบทั้งวัน

เรื่องนี้คงโทษพี่ใหญ่ว่าอิจฉาน้องไม่ได้กระมังคะ เพราะขณะที่น้องเล็กต้องการการเอาใจใส่เรื่องกินอยู่หลับนอนมาก พี่ใหญ่เองก็ยังต้องการเหมือนกัน โดยเฉพาะการดูแลด้านจิตใจแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้โอ๋พี่ใหญ่ทุกอย่างนะคะ นอกจากต้องช่วยเชื่อมสัมพันธ์พี่น้องแล้ว คุณคงต้องจัดแบ่งเวลาสำหรับลูกทั้งสองให้เหมาะ เจ้าตัวโตจะได้ไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง และมั่นใจได้ว่าเมื่อแกกลับจากโรงเรียน ก็จะได้ความรักจากพ่อแม่เหมือนเดิม

5.น้องหนูไม่ชอบครู

ลูกอาจไม่ชอบครูด้วยหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเพราะครูชอบทำโทษ ชอบวิพากษ์วิจารณ์หรือแม้กระทั่งครูเองนั่นแหละที่ไม่ชอบหน้าลูกเราด้วยประการต่างๆภวิธีแก้คือคุยกับครูว่าปัญหาเกิดจากอะไร หรือหารือกับทางโรงเรียนขอให้ย้ายห้องเรียน แต่ถ้าปัญหาร้ายแรงและไม่สามารถร่วมมือกับทางโรงเรียนแก้ปัญหาได้ การย้ายโรงเรียนอาจเป็นทางเลือกที่ดีค่ะ

6.ทำไม่ได้ ไม่เชื่อมั่น

การเรียนรู้ที่ตามมาด้วยการ "ทำได้" ย่อมทำให้การเรียนรู้ครั้งนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นและลูกก็จะสนุกกับการเรียนรู้ใหม่ๆที่โรงเรียนได้ต่อไปอีก แต่ถ้าการเรียนรู้ครั้งใดจบลงด้วยการภ"ทำไม่ได้" ไม่ว่าจะเพราะยากเกินไปหรือไม่ถนัด เช่น การเรียนรู้การใช้วัสดุอุปกรณ์ใหม่ๆภความเชื่อมั่นของเจ้าหนูก็อาจหดหาย จนกลัวการเรียนรู้ครั้งใหม่ไปได้เหมือนกันภและหากพ่อแม่ไหวตัวไม่ทัน เจ้าตัวน้อยก็จะก้าวไปอย่างเปะปะ ซวนเซ เป็นอันตรายต่อการเรียนรู้และเติบโตอย่างยิ่ง

ถ้าคุณครูไม่ได้ปล่อยปละละเลยเด็กๆ ก็จะสามารถหาหนทางช่วยน้องหนูให้ทำสิ่งต่างๆสำเร็จลงได้ แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น คุณคงต้องเข้ามาเป็นผู้ช่วยที่ดีค่ะ ด้วยการช่วยฝึกทักษะที่เจ้าหนูขาดตกบกพร่องไป เช่น การโยนบอลลงให้ลงตะกร้า การใช้อุปกรณ์การเรียนบางอย่าง เป็นต้น

7.เบื่อ

อาการเบื่อของเจ้าตัวเล็กเกิดขึ้นได้จากหลายอย่าง อาทิ บางครั้งอาจเพราะเหนื่อยจากกิจกรรมมากมาย วิชาเรียนไม่น่าตื่นเต้นพอ ไม่ชอบกิจกรรมบางอย่างที่ต้องทำอยู่บ่อยๆ หรือบางทีอาจมีปัญหาอื่นที่คุณมองข้าม เป็นต้นภสิ่งที่คุณต้องทำคือหาเวลาไปอยู่ในห้องเรียนกับลูกสักวัน เพื่อดูว่าอะไรทำให้ลูกเบื่อ

มื่อพบแล้วก็ลองคุยกับครูหรือพี่เลี้ยงเด็กดูค่ะ ว่าจะแก้ปัญหายังไงได้บ้าง หรือมันอาจเป็นเพียงเพราะลูกมีบุคลิกที่ไม่กระตือรือร้นก็ได้ ซึ่งคุณคงต้องช่วยโดยการชักชวนลูกทำกิจกรรมต่างๆเมื่ออยู่ที่บ้าน เพื่อให้แกคุ้นชินเมื่อต้องร่วมกิจกรรมต่างๆมากมายที่โรงเรียนค่ะ

8.ขอเวลาปรับตัว

สำหรับน้องหนูบางคนที่ปรับตัวช้า หลังจากปิดเทอมไปนานอาจยังคุ้นกับการอยู่บ้าน อยู่กับพ่อแม่ และยังไม่อยากไปโรงเรียน หรือมาเจอกับสภาพแวดล้อมที่ห่างหายไปนาน คุณคงต้องให้เวลาแกปรับตัวหน่อยค่ะ แรกๆเปิดเทอมก็อาจไปอยู่กับลูกพักหนึ่งก่อนจะส่งเข้าห้องเรียน แล้วก็ค่อยๆลดเวลาลงเรื่อยๆ สักพักเจ้าหนูของคุณก็จะกลับไปร่าเริงกันเพื่อนๆและคุณครูที่โรงเรียนได้เหมือนเดิมคะ
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=718&sub_id=2&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด