การใช้ยาในผู้สูงอายุ


765 ผู้ชม


ผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป) เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยาได้มากกว่า บุคคลทั่วไป         ผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป) เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยาได้มากกว่า บุคคลทั่วไป 

เนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ เสื่อมประสิทธิภาพไปตามวัยที่มากขึ้น ทำให้มีผลกระทบต่อกระบวนการดูดซึม การแตกตัว การละลาย การออกฤทธิ์...การกำจัดของตัวยาในร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงปัญหาอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงอันตรายของการใช้ยาในผู้สูงอายุด้วย เช่น ปัญหาการหลงลืม ปัญหาการช่วยเหลือตนเอง ดังนั้น การใช้ยาในผู้สูงอายุต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ข้อควรปฏิบัติในการใช้ยาของผู้สูงอายุ

การใช้ยาในผู้สูงอายุมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา ผู้สูงอายุ และผู้ที่ดูแลควรปฏิบัติดังนี้

  1. เมื่อต้องไปพบแพทย์แต่ละครั้ง ควรมีญาติมิตรหรือผู้ที่ดูแลติดตามไปด้วย เพื่อช่วยร่วมรับฟังรายละเอียดการรักษาและข้อแนะนำการใช้ยา ช่วยสอบถามประเด็นที่สำคัญต่อการดูแลผู้ป่วย
  2. แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ ยิ่งถ้าผู้สูงอายุนั้นมีแพทย์ประจำที่รักษาโรคมากกว่าหนึ่งคน หรือเปลี่ยนแพทย์บ่อย ๆ ก็จำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์แต่ละคนทราบถึงการจ่ายยาของแพทย์คนอื่นๆ ด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาการจ่ายยาของแพทย์
  3. แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เพราะอาการนั้นอาจจะเป็นอาการที่เกิดจาก ยาที่ผู้สูงอายุใช้อยู่ ไม่ใช่อาการที่สืบเนื่องมาจากความชรา เช่น ใช้ยาไปแล้วมีอาการหูตึง ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน เป็นต้น
  4. แจ้งให้ทราบถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนยา เพื่อแพทย์จะได้เลือกชนิดยาที่เหมาะสม เช่น ให้ยาน้ำ แทนยาเม็ด เป็นต้น
  5. ศึกษาเกี่ยวกับยาที่ผู้สูงอายุใช้อยู่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา เช่น ยาที่ใช้เป็นยารับประทานหรือใช้ทา ใช้รับประทานก่อนหรือหลังอาหาร รับประทานครั้งละเท่าไร วันละกี่ครั้ง มีอาการข้างเคียงหรือไม่ อย่างไร เป็นต้น
  6. สอบถามแพทย์เกี่ยวกับระยะเวลาการใช้ยาให้ชัดเจน เช่น จะหยุดยานี้ได้เมื่อใด ขณะทำงานจะรับประทานยานี้ได้หรือไม่ หรือต้องงดกิจกรรมอะไรบ้าง
  7. สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับอาหารที่รับประทานว่ามีผลต่อการใช้ยาหรือไม่ อย่างไร
  8. อ่านฉลากยาและปฏิบัติตามคำแนะนำทุกขั้นตอน ก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
  9. รับประทานยาตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำอย่างเคร่งครัด ในรายที่มีการหลงลืม ควรใช้สิ่งช่วยจดจำ เช่น ปฏิทิน หรือกล่องใส่ยาชนิดที่รับประทานช่องละหนึ่งครั้ง หรือให้มีผู้ดูแลคอยเตือนเพื่อจะได้ไม่ลืมรับประทานยา หรือรับประทานยาซ้ำซ้อน

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=635&sub_id=6&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด