รังแคที่หนังศรีษะ รังแคมีลักษณะเป็นขุยขาวเล็กที่บริเวณหนังศีรษะ ทำให้มีอาการคัน และมองดูไม่สะอาดตา ยิ่งเกายิ่งคัน และจะมีขุยหลุดร่วงมากขึ้น สร้างความรำคาญ และบั่นทอนบุคลิกภาพเป็นอย่างมาก
บางครั้งสามารถรักษาให้หายได้ แต่มักจะกลับเป็นซ้ำได้อีก รังแคจะไม่มีการอักเสบบวมแดงทีบริเวณหนังศีรษะเลย เนื่องจากรังแคคือขุยบนเส้นผม บนหนังศีรษะ อาจมีลักษณะแห้งหรือมันก็ได้ เป็นความแปรปรวนของเซลล์หนังศีรษะที่แบ่งตัวมากขึ้นกว่าปกติ แล้วหลุดออกง่าย และเร็วกว่าปกติ กลายเป็นขุยขนาดใหญ่ที่สามารถสังเกตได้
ปัญหารังแคเกิดขึ้นที่เซลล์ชั้นบนสุดของหนังศีรษะลอกตัวหลุดออก ตามปกติแล้วเซลล์หนังศีรษะของคนเรา ซึ่งเกิดใหม่จะค่อยๆ เลื่อนจากใต้ผิวหนังขึ้นมาจนถึงผิวชั้นบนสุด และหลุดออกไปในเวลา ประมาณ 28 วันโดยเฉลี่ย โดยเซลล์ที่หลุดออกจะเป็นชิ้นเล็กๆ ที่ตาเปล่ามองไม่เห็น แต่ถ้ามีสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้วงจรนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้น เช่น จาก 28 วัน เหลือแค่ 7-21 วัน โดยเซลล์ที่หลุดออกแทนที่จะเป็นชิ้นเล็ก กลับมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นขุยสีขาวหรือเทา และมองเห็นได้ชัด แถมยังจะมีอาการคันศีรษะร่วมด้วย แสดงว่ามีรังแคเกิดขึ้น หนังศีรษะมีเซลล์ที่ตายแล้วหลุดลอกอยู่ตลอดเวลา แต่คนที่มีรังแคนั้นเซลล์ผิวหนังจะหลุดลอกเร็วมาก อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ความเครียด ไปจนถึงต่อมน้ำมันผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป รวมทั้งผิวหนังอักเสบที่เรียกว่า ผื่นรังแค (seborrhoeic dermatitis)
รังแคเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมาก บางคนอาจมีรังแคมาก บางคนอาจมีรังแคน้อย หรือไม่มีเลยก็ได้ หนังศีรษะที่มีรังแคจะคัน และมีกลิ่นเหม็น จากสถิติพบว่ารังแคมักเกิดขึ้นตั้งแต่อายุก่อน 20 ปี โดยทั่วไปวัยรุ่นจะเริ่มมีรังแค และเมื่ออายุ 50 ปี จะสังเกตพบว่ารังแคเริ่มหายไป จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าชาวคอเคเชียนประมาณครึ่งหนึ่งมีปัญหาเรื่องรังแค
สาเหตุ
- รังแคเกิดได้อย่างไรยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเชื้อราชนิดหนึ่ง และฮอร์โมนแอนโดรเจน มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเกิดรังแค ภาวะที่ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สบาย มีความเครียด รังแคอาจกำเริบขึ้นมาอีกได้
- เชื้อราที่เกี่ยวข้องกับการเกิดรังแคเป็นเชื้อราเซลล์เดียว หรือที่เรียกว่า 'เชื้อยีสต์' ชื่อวิทยาศาสตร์คือ malassezia หรือชื่อเดิมว่าpityrosporum เชื้อราพวกนี้อาศัยอยู่ที่หนังศีรษะ กินน้ำมันที่สร้างมาจากต่อมรากผมและต่อมไขมันเป็นอาหารโดยปกติไม่ก่อให้เกิดปัญหาแต่อย่างใด แต่บางครั้งพบว่าเชื้อกำเริบและเติบโตรวดเร็วผิดปกติ จะก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังศีรษะ ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวที่เร็วขึ้น และพบมีเซลล์ที่ตายแล้วอยู่บนหนังศีรษะเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดเป็นรังแคในที่สุด
- คนที่หนังศีรษะมันมากจึงมักเป็นรังแคง่าย มีหลักฐานบ่งชี้ว่ารังแคมักเกิดจากเชื้อราเซลล์เดียว หรือที่เรียกว่า 'เชื้อยีสต์' ชื่อ พิไทโรสโพรัม ออร์บิคูแลร์ (pityrosporum orbiculare) ซึ่งกินน้ำมันที่ผิวหนังเป็นอาหาร
- รังแคยังอาจเกิดจากการรบกวนต่อหนังศีรษะ ซึ่งอาจเป็นทางเคมีหรือกายภาพก็ได้ การรบกวนทางเคมี เช่น แชมพู น้ำยาดัดผม หรือน้ำยาย้อมผม ส่วนการรบกวนทางกายภาพ เช่น การเกา การถู เป็นต้น
- บางคนเชื่อว่า รังแคเกิดจากผิวหนังแห้ง ผิวหนังมันเกินไป การสระผมด้วยแชมพูบ่อยเกินไป การสระผมด้วยแชมพูน้อยเกินไป ภาวะโภชนาการไม่ดี ความเครียด หรือใช้ผลิตภัณฑ์ตกแต่งทรงผมมากเกินไป
อาการ
- ผิวหนังคัน และลอก ซึ่งเป็นได้ทั้งใบหน้า และอก รวมทั้งหนังศีรษะ
- รังแคทำให้มีอาการคัน และมองดูไม่สะอาดตา ยิ่งเกายิ่งคัน และจะมีขุยหลุดร่วงมากขึ้น สร้างความรำคาญ และบั่นทอนบุคลิกภาพเป็นอย่างมาก บางครั้งสามารถรักษาให้หายได้ แต่มักจะกลับเป็นซ้ำได้อีก
- โรคบางอย่างที่ก่อให้เกิดโรครังแคได้ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ โรคผิวหนังอักเสบ การแพ้สารเคมีบางชนิด เป็นต้น
- รังแคมีทั้งชนิดผมมัน และชนิดผมแห้ง อาจตรวจสอบได้ง่ายๆ ด้วยการก้มศีรษะลง วางกระดาษดำ หรือผ้าสีเข้มๆ ไว้ตรงหน้า แล้วหวีเอาฝุ่นผงต่างๆ จากเส้นผมออก ดูว่าฝุ่นผงที่หลุดมาจากเส้นผมมีลักษณะอย่างไร ถ้าเป็นผงเล็กๆ เหมือนแป้ง แสดงว่าเป็นปัญหารังแคผมแห้ง แต่ถ้าฝุ่นผงที่หลุดออกมามีลักษณะชิ้นใหญ่ เป็นก้อน และชื้น แสดงว่าเป็นปัญหารังแคผมมัน
- โดยทั่วไปรังแคจะไม่มีการอักเสบบวมแดงทีบริเวณหนังศีรษะเลย แต่ถ้ามีรังแคมาก ร่วมกับอาการคัน หรือผื่นแดงที่หนังศีรษะ อาจเป็นอาการของโรคผิวหนัวบางชนิด เช่น โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม (seborrheic dermatitis) โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) หรือโรคแพ้สารเคมี หรือน้ำยาบางอย่าง
การวินิจฉัย
สามารถให้การวินิจฉัยได้ไม่ยาก ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่ามีโรคผิวหนังชนิดอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วยหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์
การรักษา
- ดูแลเอาใจใส่ผมด้วยการสระผมบ่อยๆ จะช่วยให้ดีขึ้นได้ พิจารณาใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของยาบางตัว เช่น เซเลเนี่ยม ซัลไฟด์ (selenium sulfide) , ซิงค์ ไพรีตั้น (zinc pirition) หรือ คีโตโคนาโซล (ketoconazole) เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ปัญหารังแคทุเลาเบาบางลงได้ โดยใช้สระผมสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไม่ควรใช้บ่อยเกินไป เนื่องจากมีส่วนผสมของตัวยาที่อาจทำให้ผมแห้งเป็นสีเหลืองน้ำตาลได้ ถ้ามีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
- เวลาสระผมต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาทีแล้วค่อยล้างออก เพื่อให้แชมพูออกฤทธิ์เต็มที่ ยิ่งเป็นรังแคมากก็ยิ่งต้องทิ้งไว้นาน ยีให้เป็นฟองทั่วศีรษะ แล้วใช้หมวกอาบน้ำคลุมไว้สัก 1 ชั่วโมงค่อยล้างงออก
- เลือกใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของซีลีเนียมซัลไฟด์ (selenium sulphide) ซิงค์ไพริไทออน (zinc pyrithione) หรือทาร์ (tar) สารสองอย่างแรกช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์หนังศีรษะ มีอยู่ในแชมพูขจัดรังแคสูตรอ่อนโยน เช่น เฮดแอนด์โชลเดอร์ส ส่วนแชมพูที่ผสมทาร์จะยับยั้งการเติบโตของเซลล์ แชมพูทั้งสองชนิดนี้ล้วนขจัดรังแคได้ดีกว่าแชมพูที่ผสมซัลเฟอร์ (sulphur) หรือกรดซาลิไซลิก (salicylic acid) ซึ่งแค่ทำให้หนังศีรษะหลุดลอกออกมา แล้วล้างออกไประหว่างการสระ
- ถ้าใช้แชมพูขจัดรังแคสูตรอ่อนโยนแล้วไม่ดีขึ้น ให้ใช้แชมพูผสมสารคีโตโคนาโซล (ketoconazole) เช่น ไนโซรัล คีโตโคนาโซลเป็นยาฆ่าเชื้อรา จะช่วยฆ่ายีสต์ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดรังแค
- ถ้าใช้แชมพูขจัดรังแคไปสักพักแล้วเริ่มกลับมามีรังแคอีก แสดงว่าหนังศีรษะาจเกิดอาการดื้อยา ลองเปลี่ยนไปใช้แชมพูที่ผสมสารขจัดรังแคชนิดอื่น ใช้ไปสัก 2-3 เดือนแล้วค่อยกลับมาใช้ยี่ห้อเดิม
แชมพูขจัดรังแคหรือ Antidandruff
สารที่เป็น Anti-dandruff นั้น ควรมีคุณสมบัติ 2 อย่าง คือ
- ลดการแบ่งตัวของเซลล์ที่หนังศีรษะ และต้านเชื้อแบคทีเรียด้วย ได้แก่ ซิงค์ไพริไทออน (zinc pyrithione หรือ ZPT) และ เซลิเนียมซัลไฟต์ (selenium sulfide)
- สามารถลดขุย (keratolytic) ขจัดเซลล์ชั้นที่ตายแล้วให้หลุดออกไป ได้แก่ รีซอร์ซินอล (resorcinol) ซัลเฟอร์ (sulfur) และกรดซาลิซิลิค (salicylic acid)
จากการทดลองพบว่า สารที่ได้รับการยืนยันว่าได้ผลในการขจัดรังแคและมีความปลอดภัย ได้แก่
- 1-2% ZPT
- 1% Selenium sulfide
- 1-3% Salicylic acid
- 2-5% Sulfur
เลือกใช้แชมพูขจัดรังแคอย่างไรดี
- ถ้ามีรังแคเพียงเล็กน้อย การใช้แชมพูธรรมดาๆ ก็สามารถช่วยได้แล้ว ปฏิบัติร่วมกับการดูแลเส้นผม และหนังศีรษะอย่างถูกต้อง เช่น ไม่เกา ไม่ขูดหนังศีรษะแรงเกินไป โดยต้องสระผมให้บ่อยพอควร โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรก และมีอาการคัน
- ถ้ามีรังแคค่อนข้างมาก ควรเลือกใช้แชมพูที่ผสมตัวยาที่กล่าวไปแล้ว ที่นิยมใช้กันมาก คือ ZPT และ selenium sulfide เนื่องจากใช้ได้ผลดีกว่า salicylic acid และ sulfur ซึ่งใช้ได้ผลดีพอควร ถ้านำมาผสมกัน
- ZPT มีข้อดีกว่า selenium sulfide ที่มีข้อแทรกซ้อนน้อยกว่า ในแง่ของการเกิดพิษต่อตา หรือเยื่อบุตาอักเสบ
- selenium sulfide ยังมีกลิ่นไม่ค่อยดีนัก ทำให้บางคนไม่ชอบใช้ได้
สระผมอย่างไรให้ถูกวิธี
- การสระผมให้ถูกวิธีนั้น ควรสระผมเบาๆ โดยไม่เกาเพื่อไม่รบกวนหนังศีรษะ ไม่ว่าจะใช้แชมพูใดก็ตาม
- สำหรับ ZPT shampoo นั้นหลังจากขยี้ผมทั่วแล้ว ให้ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วค่อยล้างออก
- ถ้าเป็นรังแคเพียงเล็กน้อย คันไม่มาก สามารถใช้แชมพูธรรมดาสระผมทุกวัน เพื่อขจัดอาการคันให้หายไป ห้ามเกาแรงหรือหวีขูดหนังศีรษะเป็นอันขาด
- ถ้ามีรังแคปานกลาง คันไม่มาก ใช้ ZPT shampoo สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ก็ช่วยลดอาการคัน และปริมาณรังแคได้
- ถ้ามีรังแคค่อนข้างมาก และคันมาก ควรสระผมด้วย ZPT ทุกวัน
- การขจัดรังแคบนหนังศีรษะ ต้องอาศัยการดูแลผม และหนังศีรษะอย่างต่อเนื่อง โดยเลี่ยงการรบกวนต่อหนังศีรษะโดยเฉพาะการเกา การสระผมให้ถี่พอ และควรสระเมื่อมีอาการคัน ไม่ปล่อยทิ้งไว้โดยใช้แชมพูที่เหมาะสม แต่ถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล หรือมีปัญหาว่าอาจเป็นโรคอื่นของหนั
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=629&sub_id=95&ref_main_id=2