เมื่อไรจึงต้องตรวจเบาหวาน คัดจากแนวทางในการรักษาโรคเบาหวาน ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
โรคเบาหวาน คือกลุ่มโรคทางเมตาบอลิสมที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อันเป็นผลมาจากความบกพร่องของการหลั่งอินสุลิน หรือการออกฤทธิ์ของอินสุลิน หรือทั้งสองอย่าง
อินสุลินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาเมื่อมีการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือดเช่นตอนรับประทานอาหาร
เมื่อไรสงสัยเบาหวานและต้องทำการตรวจ
- มีอาการที่สงสัยเบาหวาน เช่น กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย รับประทานเก่ง ตามัว แผลหายช้า หรือมีประวัติติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อผิวหนังบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากเชื้อรา
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี หรือมากกว่า ถ้าผลตรวจปกติให้ตรวจทุก 3 ปี
- ผู้ที่ไม่มีอาการแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ถ้าผลตรวจปกติต้องตรวจทุก 3 ปี ได้แก่
- อ้วน นนมากกว่า 120% ของน้ำหนักมาตรฐานหรือ ดัชนีมวลกาย > 27 กก/ตรม.
- มีประวัติญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
- มีประวัติคลอดลูกนน.เกิน 4 กก หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- มีความดันโลหิตสูง
- มีไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำกว่า 35 mg/dl หรือไตรกลีเซอรไรด์ > 250 mg/dl
- มีประวัติการตรวจสอบโดยการรับประทานน้ำตาลแล้วมีน้ำตาลสูง (impaired glucose tolerance)
ระดับน้ำตาลเท่าใดจึงเป็นเบาหวาน
- น้ำตาลก่อนอาหารเช้า (fasting) > 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มากกว่า 2 ครั้ง
- หรือ น้ำตาลเจาะเมื่อไรก็ได้ >200 ร่วมกับมีอาการที่สงสัย