หูด warts


1,691 ผู้ชม


หูดหรือ warts ที่เรียกว่า cutaneous warts หรือ verrucae

Introduction

หูด (warts) เป็นโรคติดเชื้อของผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่รู้จักกันดีคือ HPV หรือ human papilloma virus มักก่ออาการกับผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ
เชื้อ HPV หรือแพพิวโลมา ไวรัสนี้ ปัจจุบันโด่งดังขึ้นเพราะเชื่อว่าเป็นสาเหตุของ มะเร็งปากมดลูก และมีการผลิตวัคซีนมาป้องกัน ซึ่งจะกล่าวในอีกตอน
เชื้อ HPV มีประมาณ 150 แบบหรือ subtype และการเกิดโรคขึ้นอยู่กับ type ด้วยเช่น HPV 1 มักก่อให้เกดโรคที่ฝ่ามือ และเท้าที่เรียกว่า plantar wart ส่วนแบบ HPV 6 และ 11 ก่อให้เกิดหูด ที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์

ลักษณะทางระบาดวิทยา

พบได้บบ่อยที่สุดในเด็ก และคนอายุน้อย ในบุคคลบางอาชีพเช่น ผู้ที่ต้องแล่เนื้อ หรือปลา พบมากกว่า ภาวะที่เสี่ยงอื่นๆต่อการเกิดโรคเช่น ผิวหนังมีความต้านทานต่อโรคต่ำกว่า หรือเป็นโรคแพ้แบบ atopic
การติดต่อ ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรง ระยะฟักตัว 2-6 เดือนบางคนเป็นลักษณะพาหะ คืออาการน้อย แต่มีเชื้อที่ผิวหนัง
หูดสามารถหายเองได้ใน 2 ใน 3 ของผู้ที่เป็น ภายใน 2 ปี โดยเฉพาะผู้ที่ภูมิคุ้มกันดี แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการกลับเป็นใหม่สูง

อาการและชนิดของหูด

หูด อาจจะเรียบหรือนูนเล็กน้อยจนกระทั่งนูนออกมามาก แต่ลักษณะร่วมคือ แข็งกว่าหนังธรรมดา และเวลาตัดส่วนยอดแล้ว จะเห็นเส้นเลือดแคปิลลารี่เล็กๆที่อุดตันภายใน และมีจุดเลือดออกเล็กๆ ขนิดของหูดตามลักษณะและสถานที่ได้แก่
1. common wart หูดแบบนูนปกติ
periangual wart
2. plane wart or flat wart หูดชนิดแบนราบ
flat wart
3. plantar wart หูดแบนที่ฝ่าเท้า แยกยากจากตาปลา ออกเป็นลักษณะหนาๆ แต่ถ้าฝานดูจะมีจุดเลือดออกเล็กๆ
Plantar_verrucae or wart
4. genital wart หรือ anogenital wart หูดที่อวัยวะเพศ

การวินิจฉัยแยกโรค

ต้องแยกให้ออกจากโรคอื่นๆเช่น
1. seborrheic keratosis ตุ่มสีเข้มคล้ายๆเห็บเกาะบนหนังคนแก่ๆ เป็นการหนาตัวจากการสร้างเคอราติน ไม่ใช่โรคติดเชื้อ
2. lichen planus
3. acrochordon หรือ skin tag ที่รู้จักกันดีคือติ่ง พวกนี้คือหนังธรรมดาที่งอกเป็นติ่ง ลักษณะนุ่ม สีเดียวกับหนังปกติ
4. corn หรือ clavus หรือที่เรียกว่า ตาปลานั่นเอง แยกยาก แต่ถ้าเอามีดฝานจะไม่พบจุดเลือดออกเล็กๆ
5. มะเร็งผิวหนัง พวกนี้จะมีอาการโตขึ้น แตกเป็นแผลเรื้อรัง
6. มะเร็งแบบเมลาโนมา ที่ไม่มีสี เจอน้อยมากๆ แยกยาก ต้องตัดชิ้นเนื้อตรวจ

การรักษาหูด

การรักษา ขึ้นกับภูมิคุ้มกัน ความรุนแรงของโรค และตำแหน่งที่เป็น การรักษาในปัจจุบัน ไม่ได้ฆ่าไวรัส แต่เป็นการทำลายบริเวณก่อโรคและบริเวณโดยรอบเช่น เลเซอร์จี้ หรือเปลี่ยนแปลงภูมิของผิวหนังให้ต่อสู้เชื้อได้ และอย่างที่ทราบ เราอาจรอได้ในระยะ 2 ปี หูดอาจหายได้เอง
การรักษาแบบทำลายเนื้อเยื่อ ต้องเข้าใจว่า บางครั้ง ไวรัสอาศัยอยู่รอบๆ ที่ผิวหนังเป็นปกติ ดังนั้น การใช้การรักษาแบบทำลายเนื้อเยื่อ แม้จะตัดออกไปกว้างพอ ก็ไม่เป็นการรับประกันว่าเชื้อจะหมดไป ดังนั้น การรักษาแบบนี้ ต้องกินบริเวณกว้างกว่าหูดที่มองเห็น เช่น กว้างกว่า 0.5-1 ซม.รอบๆ

การเลือกวิธีการรักษา

    • หูดแบบธรรมดา common wart ,plantar wart อาจใช้ liquid nitrogen ไนโตรเจนเหลว กรด salicylic ป้าย(salicylic acid) หรือยาพวก cantharidin ,bichloroacetic acid ไนโตรเจนในเด็ก อาจต้องเลี่ยงเพราะเจ็บปวดมากทีเดียว มักใช้ยาป้ายมากกว่า
    • flat wart หูดแบบเรียบ มักใช้ nitrogen , 5-FU ([[5-Fluorouracil]]) หรือ [[tretinoin]]
    • [[cimetidine]]
    • ฉีดยาเข้าไปในหูดโดยตรง intralesional immunotherapy
    • หูดที่ดื้อต่อการรักษาหรือขึ้นมาใหม่ อาจต้องใช้ nitrogen เหลว จี้ด้วยไฟฟ้าหรือเลเซอร์
    • การป้องกันและปรับภูมิใน[[การรักษาหูดด้วย imiquimod]] เป็นแนวใหม่ที่เรียกว่า [[immunomodulator treatment]] หรือการรักษาโดยการทำให้ภูมิคุ้มกันที่ผิวบริเวณนั้น สามารถสู้กับโรคได้ มักใช้ในกรณีที่[[หูดบริเวณรูทวาร]]หรือ[[หูดที่อวัยวะเพศ]] ([[anogenital wart]])

* ดู [[การรักษาหูดด้วย liquid nitrogen]]
**[[การรักษาหูดด้วยกรด salicylic]]
***[[การรักษาหูดด้วย cantharidin]]
****[[การรักษาหูดด้วยเลเซอร์]]
+[[imiquimod]]

การป้องกัน

คนไข้มักถามแพทย์เสมอว่า จะป้องกันภายหลังจากรักษาอย่างไร ซึ่งแม้ว่าในบางคนยาก เนื่องจาก local immune หรือภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ไม่ดี วิธีที่พอทำได้คือเลี่ยงการสัมผัสหูดทั้งของตนเอง หรือของผู้อื่น การใส่รองเท้าแบบเดินในห้องน้ำสาธารณะ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อที่เท้าได้ ห้ามใช้เครื่องมือที่สำหรับตัดหรือเฉือนหูดร่วมกับผู้อื่น ในบางครั้งเราอาจต้องเลี่ยงการไปแคะหรือทำเล็บ ตัดผมแบบที่มีการโกนขนหรือหนวดตามร้าน

สรุป

      • ชนิด ปริมาณ และสถานที่เป็นหูดจะเป็นตัวบ่งบอกการรักษา
      • เริ่มรักษาจากวิธีที่เจ็บน้อยๆก่อน โดยเฉพาะในเด็ก
      • อาจรอให้หายเองได้ภายใน 2 ปี
      • จำไว้เสมอว่าผิวหนังปกติก็อาจมีไวรัสนี้ได้
      • เลี่ยงการสัมผัสหูดคนอื่น รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ตัดหูด
      • หูดเกิดใหม่ได้เอง อาจต้องการการรักษานาน หลายรอบ

เอกสารอ้างอิง

      • 1. หูด ไทยเฮลท์ เอนไซโคลปีเดีย
      • 2. update
        Bonnez, W, Reichman, RC. Papillomaviruses. In: Principles and Practice of Infectious Diseases, 5th ed, Mandell, GL, Bennett, JE, Dolin, R (Eds), Churchill Livingstone, Philadelphia 2000. p.1630.
        Kilkenny, M, Marks, R. The descriptive epidemiology of warts in the community. Australas J Dermatol 1996; 37:80. Barbosa, P. Plantar verrucae and HIV infection. Clin Podiatr Med Surg 1998; 15:317.
        Viac, J, Thivolet, J, Chardonnet, Y. Specific immunity in patients suffering from recurring warts before and after repetitive intradermal tests with human papilloma virus. Br J Dermatol 1977; 97:365.
        Pyrhonen, S, Johansson, E. Regression of warts. An immunological study. Lancet 1975; 1:592.
        Rogozinski, TT, Jablonska, S, Jarzabek-Chorzelska, M. Role of cell-mediated immunity in spontaneous regression of plane warts. Int J Dermatol 1988; 27:322.
        Gibbs, S, Harvey, I. Topical treatments for cutaneous warts. Cochrane Database Syst Rev 2006; 3:CD001781.
        Bunney, MH, Nolan, MW, Williams, DA. An assessment of methods of treating viral warts by comparative treatment trials based on a standard design. Br J Dermatol 1976; 94:667.
        Gibson, JR, Harvey, SG, Barth, J, et al. A comparison of acyclovir cream versus placebo cream versus liquid nitrogen in the treatment of viral plantar warts. Dermatologica 1984; 168:178.
        Berth-Jones, J, Bourke, J, Eglitis, H, et al. Value of a second freeze-thaw cycle in cryotherapy of common warts. Br J Dermatol 1994; 131:883.
        Bourke, JF, Berth-Jones, J, Hutchinson, PE. Cryotherapy of common viral warts at intervals of 1, 2 and 3 weeks. Br J Dermatol 1995; 132:433.
        Parish, LC, Monroe, E, Rex, IH Jr. Treatment of common warts with high-potency (26%) salicylic acid. Clin Ther 1988; 10:462.
        Steele, K, Shirodaria, P, O’Hare, M, et al. Monochloroacetic acid and 60% salicylic acid as a treatment for simple plantar warts: Effectiveness and mode of action. Br J Dermatol 1988; 118:537.
        Focht DR, 3rd, Spicer, C, Fairchok, MP. The efficacy of duct tape vs cryotherapy in the treatment of verruca vulgaris (the common wart). Arch Pediatr Adolesc Med 2002; 156:971.
        de Haen, M, Spigt, MG, van Uden, CJ, et al. Efficacy of duct tape vs placebo in the treatment of verruca vulgaris (warts) in primary school children. Arch Pediatr Adolesc Med 2006; 160:1121.
        Wenner, R, Askari, SK, Cham, PM, et al. Duct tape for the treatment of common warts in adults: a double-blind randomized controlled trial. Arch Dermatol 2007; 143:309.
        Coskey, RJ. Treatment of plantar warts in children with a salicylic acid-podophyllin-cantharidin product. Pediatr Dermatol 1984; 2:71.
        Moed, L, Shwayder, TA, Chang, MW. Cantharidin revisited: a blistering defense of an ancient medicine. Arch Dermatol 2001; 137:1357.
        Lee, S, Kim, JG, Chun, SI. Treatment of verruca plana with 5% 5-fluorouracil ointment. Dermatologica 1980; 160:383.
        Hursthouse, MW. A controlled trial on the use of topical 5-fluorouracil on viral warts. Br J Dermatol 1975; 92:93.
        Goncalves, JC. 5-Fluorouracil in the treatment of common warts of the hands. A double-blind study. Br J Dermatol 1975; 92:89.
        Goette, DK. Topical chemotherapy with 5-fluorouracil. A review. J Am Acad Dermatol 1981; 4:633.
        Glass, AT, Solomon, BA. Cimetidine therapy for recalcitrant warts in adults. Arch Dermatol 1996; 132:680.
        Orlow, SJ, Paller, A. Cimetidine therapy for multiple viral warts in children. J Am Acad Dermatol 1993; 28:794.
        Yilmaz, E, Alpsoy, E, Basaran, E. Cimetidine therapy for warts: A placebo-controlled, double-blind study. J Am Acad Dermatol 1996; 34:1005.
        Parsad, D, Saini, R, Negi, KS. Comparison of combination of cimetidine and levamisole with cimetidine alone in the treatment of recalcitrant warts. Australas J Dermatol 1999; 40:93.
        Gupta, AK, Cherman, AM, Tyring, SK. Viral and nonviral uses of imiquimod: a review. J Cutan Med Surg 2004; 8:338.
        Muzio, G, Massone, C, Rebora, A. Treatment of non-genital warts with topical imiquimod 5% cream. Eur J Dermatol 2002; 12:347.
        Harwood, CA, Perrett, CM, Brown, VL, et al. Imiquimod cream 5% for recalcitrant cutaneous warts in immunosuppressed individuals. Br J Dermatol 2005; 152:122.
        Micali, G, Dall’Oglio, F, Nasca, MR. An open label evaluation of the efficacy of imiquimod 5% cream in the treatment of recalcitrant subungual and periungual cutaneous warts. J Dermatolog Treat 2003; 14:233.
        Hengge, UR, Esser, S, Schultewolter, T, et al. Self-administered topical 5% imiquimod for the treatment of common warts and molluscum contagiosum. Br J Dermatol 2000; 143:1026.
        Grussendorf-Conen, EI, Jacobs, S. Efficacy of imiquimod 5% cream in the treatment of recalcitrant warts in children. Pediatr Dermatol 2002; 19:263.
        Johnson, SM, Roberson, PK, Horn, TD. Intralesional injection of mumps or Candida skin test antigens: a novel immunotherapy for warts. Arch Dermatol 2001; 137:451.
        Clifton, MM, Johnson, SM, Roberson, PK, et al. Immunotherapy for recalcitrant warts in children using intralesional mumps or Candida antigens. Pediatr Dermatol 2003; 20:268.
        Horn, TD, Johnson, SM, Helm, RM, Roberson, PK. Intralesional immunotherapy of warts with mumps, Candida, and Trichophyton skin test antigens: a single-blinded, randomized, and controlled trial. Arch Dermatol 2005; 141:589.
        Wilkerson, MG, Connor, TH, Wilkin, JK. Dinitrochlorobenzene is inherently mutagenic in the presence of trace mutagenic contaminants. Arch Dermatol 1988; 124:396.
        Munn, SE, Higgins, E, Marshall, M, Clement, M. A new method of intralesional bleomycin therapy in the treatment of recalcitrant warts. Br J Dermatol 1996; 135:969.
        Salk, R, Douglas, TS. Intralesional bleomycin sulfate injection for the treatment of verruca plantaris. J Am Podiatr Med Assoc 2006; 96:220.
        Robson, KJ, Cunningham, NM, Kruzan, KL, et al. Pulsed-dye laser versus conventional therapy in the treatment of warts: a prospective randomized trial. J Am Acad Dermatol 2000; 43:275.
        Ross, BS, Levine, VJ, Nehal, K, et al. Pulsed dye laser treatment of warts: an update. Dermatol Surg 1999; 25:377.
        Sloan, K, Haberman, H, Lynde, CW. Carbon dioxide laser-treatment of resistant verrucae vulgaris: Retrospective analysis. J Cutan Med Surg 1998; 2:142.
        Johnson, LW. Communal showers and the risk of plantar warts. J Fam Pract 1995; 40:136.
ที่มา https://selfcare.thaihealth.net/หูด-warts.html

อัพเดทล่าสุด