โรคปวดใจวัยทำงานกับปัญหา


780 ผู้ชม


หากได้ยินเสียง          หากได้ยินเสียง 
หลายคนคงเคยได้ยินชื่อโรคข้อเสื่อมกันมาบ้างแล้ว ปัจจุบันโรคนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 - 45 ปีขึ้นไป แน่นอนว่าผู้อ่านบางท่านอาจส่ายหน้าและบอกว่า ฉันยังแข็งแรงดี แต่ขึ้นชื่อว่าโรคแล้ว หากมีโอกาสรู้เท่าทัน และหาโอกาสป้องกันได้ก่อน คงจะดีกว่าการมารับการรักษาเมื่อสายเกินแก้ โรคข้อเสื่อม มีสาเหตุมาจากเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนที่หุ้มอยู่ปลายกระดูกของแต่ละข้อมีการสึก ทำให้คุณสมบัติในการรองรับแรงกระแทกที่กดลงบนข้อเสียไป ส่งผลให้ข้อฝืดเคลื่อนไหวไม่สะดวก และมักมีอาการเจ็บปวดมาก มักเกิดบริเวณข้อเข่า นิ้วมือ ต้นคอ นอกจากนั้น ผู้ป่วยยังมักมีอาการขาโก่ง ขางอ และอาการข้ออักเสบตามมาด้วย ส่งผลให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การเดิน การขึ้นลงบันได ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลงในที่สุด นายแพทย์สามารถ ตันอริยกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลาง หนึ่งในโรงพยาบาลที่รับรักษาผู้ป่วยโรคข้อและกระดูกอันดับต้น ๆ ของกรุงเทพมหานครเปิดเผยว่า โรคข้อเสื่อมมีโอกาสเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลงอย่างมาก ทำให้มีผลต่อการสูญเสียมวลกระดูก และกระดูกอ่อน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้หญิงในวัยดังกล่าวจึงมักเผชิญกับการเจ็บป่วยด้วยโรคข้อเสื่อมมากกว่าผู้ชาย อีกทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีของคนเอเชียซึ่งนิยมการหมอบกราบ การนั่งพับเพียบ นั่งยอง ๆ ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้โรคข้อเสื่อมกำเริบได้ง่ายยิ่งขึ้น "สถานการณ์ผู้ป่วยด้วยโรคข้อเสื่อมในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ส่วนมากที่มารับการรักษาคือต้องผ่าตัด และเชื่อว่าผู้ป่วยข้อเสื่อมจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เหตุผลเนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และพฤติกรรมการกินที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง" ทั้งนี้ นายแพทย์สามารถเปิดเผยต่อไปว่า การให้ความรู้เพื่อให้ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงสามารถป้องกันตัวเองได้คือการรักษาที่ดีที่สุด เพราะปริมาณเคสที่ต้องผ่าตัดในแต่ละเดือนนั้นได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจมีปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอในการรักษา “พฤติกรรมของคนเอเชียก็มีผลต่อข้อกระดูกมาก แต่โรคพวกนี้ ถ้าเรียนรู้และป้องกันเป็นจะไม่มีอันตราย ปัจจุบันได้มีทีมงานลงให้ความรู้ด้านการดุแลสุขภาพกับชุมชนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถช่วยได้เยอะ เพราะแนวทางของโรงพยาบาลในตอนนี้เราต้องเน้นเรื่องการป้องกัน เพราะไม่เช่นนั้นจะรับรักษาไม่ไหว” นอกจากนั้น การออกกำลังกายและการพักผ่อนที่เหมาะสมก็จะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ ที่สำคัญผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมไม่ควรปล่อยตัวให้อ้วน เพราะจะทำให้แรงกระแทกที่ขาและข้อเข่าเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีการรักษาที่ใช้วิธีฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในข้อที่เสื่อมแล้ว เพื่อคืนความยืดหยุ่นให้กลับมาใกล้เคียงกับสภาวะปกติ อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อเสื่อมมากไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่นแล้ว การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมอาจเป็นทางเลือกสุดท้าย 
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=278&sub_id=4&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด