สายสัมพันธ์แม่ลูก... พื้นฐานแห่งชีวิต


1,449 ผู้ชม


ความรักความอบอุ่นสามารถควบคุมสถานการณ์เมื่อเกิดความเครียดได้ แม่         ความรักความอบอุ่นสามารถควบคุมสถานการณ์เมื่อเกิดความเครียดได้ แม่" คำสั้นๆ แต่ความหมายนั้นยิ่งใหญ่เหลือเกินสำหรับลูก เพราะสิ่งกระตุ้นสำคัญที่สุดสำหรับลูกแรกเกิดก็คือ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากความรักที่แม่มีต่อลูก... 
จากการที่ลูกจ้องตา หรือดูสีหน้า อารมณ์ของแม่ ได้ยินเสียงพูดคุย เสียงร้องเพลง การสัมผัสโอบกอด อุ้ม-กล่อมอย่างอ่อนโยนอบอุ่น สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าเล็กๆ ขึ้นในเซลล์สมองส่งข้อมูลไปตามเครือข่ายในสมอง และทำให้ประจุไฟฟ้าครบวงจร เซลล์สมองเกิดการเชื่อมโยงกันเพื่อทำหน้าที่สำคัญต่างๆ ดังนั้น การสัมผัสอันอ่อนโยนนอกจากจะเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้สมองเด็กสร้างฮอร์โมนที่สำคัญและสร้างเส้นใยประสาทขึ้นมากมาย ซึ่งล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการทางสมอง และเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจะพัฒนาประสิทธิภาพของสมองต่อไปในอนาคต เด็กที่มีสัมพันธภาพที่ดี มีความผูกพันกับแม่ จะเป็นเด็กที่สามารถปรับตัวได้กับความเครียดในชีวิตประจำวันทั้งในปัจจุบันและอนาคต เด็กที่อยู่กับครอบครัวที่มีความรักความอบอุ่นจะสามารถควบคุมสถานการณ์เมื่อเกิดความเครียดได้ ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่านยังเชื่อว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่และได้รับการสัมผัสตั้งแต่แรกเกิดจะฉลาด มีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่ หรือขาดการกระตุ้น ขาดการสัมผัสตั้งแต่แรกเกิด การเล่นระหว่างแม่กับลูกก็เป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการของลูกเช่นกัน ในช่วงแรกเกิดถึง 1 ปีนั้น คุณแม่ควรเล่นกับเขา มองหน้าเขา สบตาเขา หรือใช้กระจกเงาที่หุ้มขอบไว้เรียบร้อยปลอดภัยเพื่อให้เขาได้เห็นหน้าของตัวเอง เพราะสมองเด็กแรกเกิดเริ่มรับรู้หน้าตาคนได้ จึงเป็นการดีถ้าจะช่วยกระตุ้นเขาด้วยกิจกรรมดังกล่าว จากนั้นในช่วงวัย 4-7 เดือน เด็กจะพยายามเอื้อมมือหยิบของ พยายามเรียนรู้ถึงผลของการกระทำ ฉะนั้น ควรใช้ของเล่นที่มีเสียง เคลื่อนไหวได้ อย่าไปดุเวลาเขาเขย่าของเล่นหรือโยนของเล่นลงพื้น เพราะนั่นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เขาเรียนรู้ได้เช่นกัน ในช่วง 8-12 เดือน เด็กวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างท่าทางกับความหมาย เช่น สั่นศีรษะ แปลว่าไม่ เริ่มที่จะบ๊ายบาย ธุจ้า ซึ่งคุณแม่ก็สามารถช่วยกระตุ้นได้โดยพูดคุยกับเขา อ่านนิทานให้เขาฟังเพื่อเพิ่มทักษะทางภาษา อาจเล่นจ๊ะเอ๋ ซ่อนหา หรือซ่อนของเล่นให้เขาหา เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กสังเกต และยังทำให้เขาสนุกสนาน เพลิดเพลิน ร่าเริง อารมณ์ดี และได้รับความรักความอบอุ่นจากแม่ด้วย จะเห็นได้ว่าการสัมผัสของแม่ที่แสดงความรัก ความอบอุ่น ความปรารถนาดีต่อลูกนั้น เป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะเสริมสร้างทั้ง IQ และ EQ ให้แก่ลูกได้อย่างดีทีเดียว ฉะนั้นหวังว่าคุณแม่ทุกๆ คนจะเห็นถึงความสำคัญนี้และมีเวลาให้แก่ลูกๆ มากขึ้น เด็กในวัยแรกเกิดถึง 6 ปีนี้ต้องการความใกล้ชิดของพ่อแม่เป็นอย่างมาก หากต้องการให้ลูกฉลาดและมีพัฒนาการที่ดี อย่าละเลยที่จะเล่นกับเขาเมื่อมีเวลา อย่าคิดว่าลูกยังเด็กเล็กนักเกินกว่าจะรู้อะไร เปล่าเลย...เขากำลังศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวอยู่ต่างหาก และนี่แหละคือเวลาทองที่พ่อแม่จะสามารถส่งเสริมให้เข้าเรียนรู้ได้ดีที่สุด 
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=270&sub_id=2&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด