ตกขาวที่เกิดจากเชื้อรา


1,042 ผู้ชม


ตกขาวที่เกิดจากเชื้อรา ตกขาว (leucorrhea) นับเป็นปัญหาที่พบบ่อยในสตรี นอกจากสร้างความเหนอะหนะแล้ว ยังนำมาซึ่งอาการคันที่ช่องคลอดด้วย ตกขาวเกิดจากความผิดปกติของช่องคลอดที่มีของเหลวออกมา โดยอาจมีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น คัน อักเสบระคายเคือง มีกลิ่นเหม็น ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้         ตกขาวที่เกิดจากเชื้อรา ตกขาว (leucorrhea) นับเป็นปัญหาที่พบบ่อยในสตรี นอกจากสร้างความเหนอะหนะแล้ว ยังนำมาซึ่งอาการคันที่ช่องคลอดด้วย ตกขาวเกิดจากความผิดปกติของช่องคลอดที่มีของเหลวออกมา โดยอาจมีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น คัน อักเสบระคายเคือง มีกลิ่นเหม็น ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ 

ตกขาวที่เกิดจากเชื้อรา ตกขาว (leucorrhea) นับเป็นปัญหาที่พบบ่อยในสตรี นอกจากสร้างความเหนอะหนะแล้ว ยังนำมาซึ่งอาการคันที่ช่องคลอดด้วย ตกขาวเกิดจากความผิดปกติของช่องคลอดที่มีของเหลวออกมา โดยอาจมีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น คัน อักเสบระคายเคือง มีกลิ่นเหม็น ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดตกขาวขึ้น ตกขาวหรือระดูขาว มีทั้งที่ปกติ และผิดปกติ ตกขาวที่ปกติจะมีลักษณะคล้ายแป้งเปียก ไม่มีกลิ่น จะมีก่อนหรือหลังประจำเดือนก็ได้ ส่วนตกขาวที่ผิดปกตินั้นจะมีลักษณะแตกต่างออกไปตามสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อ ซึ่งเชื้อที่เป็นสาเหตุก็แตกต่างกันไปตามอายุ การมีเพศสัมพันธ์ โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวานก็จะพบเชื้อราได้บ่อย

ตกขาวปกติ

  1. ผู้หญิงทุกคนต้องมีตกขาว ช่วงเป็นเด็กอาจมีเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นช่วงเริ่มมีประจำเดือน ตกขาวจะมากขึ้น และมีปริมาณที่พอเหมาะจนถึงวัยสูงอายุ ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่มีปริมาณลดลงจนแทบไม่มีอีกครั้ง
  2. ปกติช่องคลอดของผู้หญิงจะบุผิวด้วยเซลล์ชนิดเยื่อเมือกเหมือนกับเซลเยื่อเมือกที่บุในช่องปาก และจมูก ทำหน้าที่สร้างเยื่อเมือก และความชื้นให้กับช่องคลอด
  3. ตกขาวปกติสร้างมาจากต่อมที่ปากช่องคลอด และปากมดลูก รวมทั้งยังสร้างมาจากผนังช่องคลอดด้วย ลักษณะคล้ายแป้งละลายน้ำ ปกติไม่มีกลิ่น แต่อาจมีกลิ่นคาวเล็กน้อย เนื่องจากเป็นสารคัดหลั่งจากเยื่อบุช่องคลอด มูกปากมดลูก และบางส่วนจากต่อม Skene's gland และ Bartholin's gland
  4. ตกขาวจากแหล่งต่างๆ จะมารวมกันในช่องคลอดเพื่อทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น หล่อลื่นช่องคลอด ช่วยขับสิ่งแปลกปลอม ฆ่าเชื้อโรคที่เข้าไปในช่องคลอด และปรับสภาพความเป็นกรดด่างในช่องคลอดให้สมดุล
  5. ในบางช่วงตกขาวที่มีอยู่ตามปกติอาจมีจำนวนมากขึ้น มักเกิดในช่วงใกล้ๆ ตกไข่ โดยมีมูกปากมดลูกเพิ่มขึ้น จึงมีตกขาวเป็นน้ำใสๆ ออกมา หรือมีออกมาในระยะใกล้ๆมีระดู ซึ่งมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญตกขาวที่มีอยู่ตามปกติจะไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น แสบหรือคันช่องคลอด และจะหายไปได้เอง โดยไม่ต้องให้การรักษาใดๆ
  6. ปริมาณตกขาวมากหรือน้อยจะขึ้นกับแต่ละคน โดยทั่วไปตกขาวจะมีมากช่วงวันที่ไข่ตกซึ่งอยู่ระหว่างวันที่ 14 ของรอบเดือน นอกจากนั้นขณะตั้งครรภ์ก็จะพบว่าตกขาวมากจนบางครั้งอาจจะเหนียวหนืด การกระตุ้นทางเพศสัมพันธ์ก็จะมีการหลั่งน้ำออกมาหล่อลื่นมาก หลังจากมีกิจกรรมทางเพศก็มีตกขาวเป็นปริมาณมาก และการใช้ยาคุมกำเนิดก็ทำให้ตกขาวเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
  7. ตกขาวปกติเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ถ้าเป็นในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน ตกขาวจะมีลักษณะเหลวใสปริมาณมาก ถ้าเป็นในช่วงก่อนหรือหลังมีประจำเดือนตกขาวจะมีลักษณะข้น ขาวขุ่นคล้ายแป้งเปียก

ตกขาวผิดปกติ

บางครั้งผู้ป่วยมีตกขาวเพิ่มขึ้น ถือว่าไม่ใช่ตกขาวที่มีอยู่ตามปกติ ผู้ป่วยมักจะมีอาการคัน หรือปวดแสบปวดร้อน ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ที่สำคัญอาการจะไม่หายไปเอง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ รองลงมาได้แก่ เนื้องอก ซึ่งหากเกิดจากเนื้องอกแล้วมักจะมีเลือดปนด้วย บางรายเกิดจากสิ่งแปลกปลอม เช่น การใส่วัตถุหรือวัสดุต่างๆ เข้าไปในช่องคลอด ผ้าอนามัยชนิดสอดช่องคลอด หรือถุงยางคุมกำเนิด เป็นต้น

เชื้อโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อ เกิดจากเชื้อราเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อราชื่อ Candida albicans รองลงมาพบว่าเกิดจากพยาธิ Trichomonas vaginalis และเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ระยะหลังพบตกขาวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ไม่อาศัยออกซิเจนที่มีชื่อเรียกว่า Garnerella vaginalis ดังนั้นการรักษาจึงขึ้นกับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ แพทย์จะทำการตรวจภายในและนำตกขาวมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งจะพบลักษณะเฉพาะของการติดเชื้อแต่ละชนิดหรือย้อมสีเพิ่มเติมเพื่อตรวจหาเชื้อก่อเหตุ จากนั้นจึงพิจารณาใช้ยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อบำบัดรักษาการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งยาที่ใช้มีได้หลายชนิด ทั้งชนิดสอดช่องคลอด ชนิดรับประทาน หรืออาจพิจารณาให้ยาทาภายนอกร่วมด้วยตามความเหมาะสม

ตกขาวคันที่เกิดจากเชื้อรา

  1. ลักษณะของตกขาวที่เกิดจากเชื้อราจะคล้ายนม หรือยางมะละกอ บางครั้งเป็นก้อนคล้ายเต้าหู้ มักจะมีอาการคันมาก ร่วมกับมีผื่นคันแดงที่บริเวณปากช่องคลอด สาเหตุสำคัญเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า Candida albicans เชื้อราชนิดนี้อาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วไป แต่ชอบสภาพสิ่งแวดล้อมที่ร้อนชื้นเป็นพิเศษ ซึ่งช่องคลอดของคนเราก็เป็นอวัยวะที่ชื้นอยู่แล้ว
  2. เชื้อราชอบสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนจนถึงร้อนมาก บางคนใส่เสื้อผ้าที่อบมาก สภาพร่างกายที่อ้วนมาก บางคนแค่ยืนเฉยๆ ขาก็มาชนกันแล้วทำให้ช่องคลอดถูกอบอยู่ตลอดเวลา เหตุนี้จึงทำให้ผู้หญิงไทยมีการติดเชื้อราในช่องคลอดกันง่ายมาก บางทีอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ ก็ยังเป็นเชื้อราในช่องคลอดได้ ผิดกับผู้หญิงในเมืองหนาวที่มีการติดเชื้อราน้อยกว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดเฉพาะรายที่เป็นโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคที่ต้องกินยากดภูมิต้านทาน
  3. ตกขาวบ่อยๆ ไม่ทำให้เป็นมะเร็ง ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ ไม่ทำให้ลูกพิการ ปัญหาสำคัญของตกขาวคืออาการคัน ถ้าไปเกามากๆ อาจทำให้เกิดแผลติดเชื้อตามมา

อาการของโรคเชื้อราในช่องคลอด

  1. ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่มีการติดเชื้อราโดยไม่มีอาการอะไรเลย ที่รู้ว่ามีเชื้อราก็เพราะเผอิญไปตรวจภายในด้วยเหตุอื่น เช่น ไปตรวจภายในประจำปี หรือตรวจเนื้องอกมดลูก กลุ่มนี้อาจไม่จำเป็นต้องให้การรักษาอะไรก็ได้ เพราะเชื้อราที่ไม่ก่ออาการพวกนี้ ส่วนมากก็จะถูกตกขาวขับทิ้งออกไปจากร่างกายได้เอง
  2. แต่ในรายที่การติดเชื้อลุกลาม โดยเมื่อได้รับเชื้อราเข้าไปในช่องคลอด มันจะเจริญเติบโตต่อไป ในระยะแรกจะมีรูปร่างคล้ายดอกเห็ด ซึ่งยังไม่ทำให้เกิดอาการอะไร แต่ถ้าไม่ได้รับยารักษา เชื้อราจะเจริญต่อไปกลายรูปร่างเป็นสายยาวๆ ซึ่งสามารถแทรกเข้าไปในผนังช่องคลอดได้ ถึงขั้นนี้จะเริ่มมีอาการคัน นอกจากคันแล้ว ลักษณะของตกขาวที่มีก็จะเปลี่ยนไปด้วย จากที่เคยเป็นมูกใสๆ หรือขาวขุ่นๆ ก็จะกลายเป็นคล้ายนมที่เด็กอ้วกออกมา ของบางคนอาจมีลักษณะคล้ายแป้ง
  3. ลักษณะของตกขาวที่เกิดจากเชื้อรา จะคล้ายนมหรือยางมะละกอ บางครั้งเป็นก้อนคล้ายเต้าหู้ มักจะมีอาการคันมากร่วมกับมีผื่นแดงที่บริเวณปากช่องคลอด

การวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด

โดยนำเอาตกขาวที่มีเชื้อรามาส่องกล้องจุลทรรศน์ ตรวจด้วยวิธี wet mount หรือ KOH preparation

การรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด

การติดเชื้อราในช่องคลอดสามารถรักษาหายได้ด้วยยา ยาเหน็บช่องคลอดที่นิยมใช้ ได้แก่ clotrimazole vaginal tab, nystatin vaginal tab ยารับประทาน ได้แก่ fluconazoloe 150 mg ครั้งเดียว, itraconazole 200 mg วันละสองครั้งวันเดียว, ketoconazole 400 mg วันละครั้งเป็นเวลา 5 วัน บางครั้งอาจพิจารณาใช้ชนิดครีมทาในช่องคลอดร่วมด้วย

การป้องกันโรคเชื้อราในช่องคลอด

  1. ไม่ใส่เสื้อผ้าที่คับ อึดอัด
  2. ไม่ปล่อยให้บริเวณช่องคลอดชื้นแฉะ
  3. เวลารู้สึกร้อนหรือเหนอะหนะบริเวณปากช่องคลอด ควรทำความสะอาดเช็ดให้แห้ง
  4. ไม่นำเอาผ้าอนามัยแผ่นเล็กๆ ปิดปากช่องคลอด จะทำให้ร้อนมากขึ้น
  5. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน

แบคทีเรียในช่องคลอด

  1. ปกติในช่องคลอดจะมีแบคทีเรียอยู่หลายชนิด โดยไม่ก่อให้เกิดโรคหรือความผิดปกติใดๆ ที่สำคัญได้แก่ แบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่าแลคโตบาซิลลัส (lactobacillus) ซึ่งจะเปลี่ยนสารไกลโคเจนจากเยื่อบุช่องคลอดเป็นกรดแลคติก ทำให้ pH ในช่องคลอดต่ำกว่า 4.5
  2. ความเป็นกรดในช่องคลอดจะช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียอื่นเจริญเติบโต ธรรมชาติสร้างให้ช่องคลอดมีฤทธิ์เป็นกรดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยจะเริ่มสร้างเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจนกระทั่งวัยทอง ดังนั้นผู้หญิงอาจจะรู้สึกชื้นๆ บริเวณอวัยวะเพศ หากช่องคลอดแห้งจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่ช่องคลอด และรู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  3. ตกขาวที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จะมีสีออกเหลืองหรือเขียว มีกลิ่นเหม็น บางรายอาจคัน และมีกลิ่นคาวปลาไหลออกมาจากช่องคลอด สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น Gardnerella vaginalis, Mycoplasma hominis, Prevotella sp., Mobiluneus sp., Bacteroides, Peptostreptococcus
  4. พิจารณาให้การรักษาด้วยยา metronidazole 500 mg วันละสองครั้งเป็นเวลา 7 วัน, metronidazole 2000 mg วันละครั้งเป็นเวลา 7 วัน, tinidazole 2000 mg วันละครั้งเป็นเวลา 7 วัน, clindamycin 300 mg วันละสองครั้งเป็นเวลา 7 วัน

ตกขาวจากการติดเชื้อโปรโตซัว

ตกขาวที่เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวจะมีสีออกเทาหรือเขียว และมีลักษณะเฉพาะคือ จะมีกลิ่นเหม็นคล้ายปลาเน่าหลังมีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดอักเสบ แสบช่องคลอด คันมาก สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ Trichomonas vaginalis สามารถให้การรักษาได้ด้วยยาเหน็บช่องคลอดชนิด di-iodohydroxyquin vaginal tab, clotrimazole vaginal tab หรือพิจารณาใช้ยารับประทาน metronidazole 2000 mg ครั้งเดียว, tinidazole 2000 mg ครั้งเดียว

การดูแลเรื่องตกขาวที่ผิดปกติ

  1. ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบและไปตรวจนัดของแพทย์
  2. รักษาเรื่องความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยเฉพาะเรื่องความอับชื้น
  3. ในรายที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เบาหวาน ก็ต้องรักษาโรคให้ดี
  4. ในบางสาเหตุ จะต้องรักษาคู่นอนด้วยทุกคน ไม่เช่นนั้นจะเป็นซ้ำอยู่เรื่อย
  5. ในบางรายต้องหาคู่นอนไปตรวจหาเชื้อกามโรคด้วย

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=128&sub_id=3&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด