การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีคุมกำเนิด เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ทุกชนิดรวมทั้งการติดเชื้อเอดส์ การศึกษาวิจัยทางการแพทย์สรุปไว้อย่างชัดเจนว่า
การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการป้องกันการตั้งครรภ์และการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นจะเป็นจากการใช้ที่ไม่ถูกต้อง เช่น ถุงยางแตกหรือถุงยางหลุด เป็นต้น
การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นแม้ว่ามีการใช้ถุงยางอนามัยเกิดจากการที่ไม่ใช้ทุกครั้ง หรือใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่พบว่าเกิดจากปัญหาของถุงยางอนามัยโดยตรงเลย สำนักงานอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาเคยทำการวิจัยครั้งใหญ่ พบว่าถุงยางอนามัยที่ได้ผลิตมาจากโรงงานที่ได้มาตราฐานจะไม่มีปัญหาที่น้ำอสุจิหลุดลอดออกมาเลยแม้แต่น้อย
หัวใจสำคัญในเรื่องการใช้ถุงยางอนามัยจึงมีสองประการ คือ ต้องใช้ทุกครั้งและใช้อย่างถูกต้อง
ถุงยางอนามัยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เรียกว่า latex condom หรือ latex rubber condom ย้อนไปเมื่อประมาณปี 1980-1985 พบว่าการใช้ถุงยางอนามัยไม่เป็นที่นิยม ส่วนใหญ่เป็นการใช้เพื่อคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์ แม้ว่าจะทราบกันมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้วว่าการใช้ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันโรคดิดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่แนวความคิดนี้ยังไม่แพร่หลายจนกระทั่งเมื่อเริ่มมีการระบาดของโรคเอดส์ ถึงมีการรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัยกันอย่างกว้างขวางและถือเป็นมาตราการที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดอย่างหนึ่ง
ถุงยางอนามัยยุคแรกสุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ทำมาจากผ้าทอ ซึ่งไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้และไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ ต่อมาได้พัฒนาการผลิตหันมาใช้ไส้แกะ ซึ่งก็ดีขึ้นบ้างแต่ประสิทธิภาพยังต่ำอยู่จนถึงยุคสมัยที่นำยางมาใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมเมื่อประมาณปี 1930 ถุงยางอนามัยจึงเริ่มเป็นอุปกรณ์ลักษณะแผ่นยางที่ทำจากสารสังเคราะห์ของยางและพลาสติก ปัจจุบันมีการผลิตถุงยางอนามัยจากสารโปลียูรีเธนมากขึ้น
หลักการใช้ถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัยใช้สวมใส่อวัยวะเพศชายเมื่อแข็งตัวเต็มที่ ทำหน้าที่เป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้ตัวเชื้ออสุจิเข้าสู่ช่องคลอด ที่ปลายถุงยางอนามัยจะมีกระเปราะเล็กๆสำหรับรองรับน้ำอสุจิ
วิธีใช้ถุงยางอนามัย
- ผู้ที่ใช้ต้องใส่และถอดให้ถูกวิธี โดยให้ใส่เมื่ออวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่เท่านั้น
- บีบปลายกะเปาะไล่ลมแล้วสวมลงบนอวัยวะเพศรูดลงมาจนสุด
- เมื่อเสร็จการร่วมเพศ ต้องรีบดึงอวัยวะเพศออกขณะยังแข็งตัวอยู่ มิฉะนั้นถุงยางอาจจะหลุดอยู่ในช่องคลอดได้
- ต้องดึงออกโดยมิให้น้ำอสุจิไหลออกมาอยู่บริเวณอวัยวะเพศหญิง
-
มีถุงยางอนามัยสำรองเตรียมพร้อมไว้เสมอ
ในต่างประเทศบางแห่ง หลักการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้องถือเป็นบทเรียนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเรียนรู้วิชาเพศศึกษาที่ถูกต้องในโรงเรียน
รูปที่ 1 | รูปที่ 2 | รูปที่ 3 |
รูปที่ 4 | รูปที่ 5 | รูปที่ 6 |
Before Intercourse:
-
Carefully open the package so the condom does not tear. (Do not use teeth or a sharp object to open the package.) Do not unroll the condom before putting it on.
-
If you are not circumcised, pull back the foreskin. Put the condom on the end of the hard penis. Note: If the condom is initially placed on the penis backwards, do not turn it around. Throw it away and start with a new one.
-
Pinching the tip of the condom to squeeze out air, roll on the condom until it reaches the base of the penis.
-
Check to make sure there is space at the tip and that the condom is not broken. With the condom on, insert the penis for intercourse.
After Intercourse:
-
After ejaculation, hold onto the condom at the base of the penis. Keeping the condom on, pull the penis out before it gets soft.
-
Slide the condom off without spilling the liquid (semen) inside. Dispose of the used condom.
ปัญหาที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยที่ไม่ถูกต้อง
-
ใช้สารหล่อลื่นไม่ถูกต้อง ทำให้ถุงยางแตกหรือลื่นหลุด
-
ไม่ใช้ถุงยางอนามัยใหม่แกะกล่อง
-
ใช้ถุงยางเพียงครั้งแรกเท่านั้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์ต่อไปไม่ได้ใช้ถุงยาง
-
ใช้ถุงยางอนามัยที่เสื่อมสภาพอย่างเห็นได้ชัด
-
มึนเมาสุราหรือสารเสพติด จึงตัดสินใจถอดถุงยางทิ้งกลางคัน
-
แกะถุงยางอนามัยออกมาเล่นก่อนมีเพศสัมพันธ์
-
ใส่ถุงยางผิดด้านแล้วนำกลับมาใช้ใหม่
-
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ขลิบปลายอวัยวะเพศ ต้องดึงหนังหุ้มรูดให้สุดเสียก่อน
การเก็บรักษา
ถุงยางอนามัยควรเก็บรักษาไว้ในที่ไม่ถูกแสงแดดหรือที่มีอุณหภูมิสูง
ความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยสามารถกีดขวางไม่ให้ตัวเชื้ออสุจิและเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ เข้าสู่ช่องคลอดได้ดังต่อไปนี้
-
ตัวเชื้ออสุจิ (spermatozoa) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.003 มิลลิเมตร หรือ 3000 นาโนเมตร
-
เชื้อก่อโรคซิฟิลิส (Treponema pallidum) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 600 นาโนเมตร
-
เชื้อก่อโรคหนองใน (Neisseria gonorrhoeae) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 800 นาโนเมตร
-
เชื้อก่อโรคหนองในเทียม (C. trachomatis) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 200 นาโนเมตร
-
เชื้อไวรัสเอดส์ (HIV) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 125 นาโนเมตร
-
เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี (hepatitis B virus) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 นาโนเมตร
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=125&sub_id=3&ref_main_id=2