Amniotic Fluid Embolism


690 ผู้ชม


มารดาที่เสียชีวิตจากการคลอด เนื่องจากน้ำคร่ำหลุดเข้าไปในกระแสเลือด และก่อให้เกิดการอุดตันในปอด เรียกว่า Amniotic Fluid Embolism (AFE) พบได้ 1 ต่อ 8,000-30,000 ของการตั้งครรภ์ โรคนี้จะมีอัตราการตายสูงมากถึงร้อยละ 80-90         มารดาที่เสียชีวิตจากการคลอด เนื่องจากน้ำคร่ำหลุดเข้าไปในกระแสเลือด และก่อให้เกิดการอุดตันในปอด เรียกว่า Amniotic Fluid Embolism (AFE) พบได้ 1 ต่อ 8,000-30,000 ของการตั้งครรภ์ โรคนี้จะมีอัตราการตายสูงมากถึงร้อยละ 80-90 

imageโดยครึ่งหนึ่งเสียชีวิตภายในชั่วโมงแรกที่เกิดอาการ ผู้ที่รอดชีวิตมักเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่รุนแรง

โรคนี้รายงานไว้ในเอกสารทางการแพทย์เป็นครั้งแรกในปี 1941 โดยสูติแพทย์ชาวเยอรมันสองท่าน นายแพทย์สไตเนอร์ Steiner และนายแพทย์ลัชบวก Luschbaugh หลังจากที่ตรวจพบเซลล์ที่เป็นของทารกในเนื้อเยื่อปอดของมารดาที่เสียชีวิตจากการคลอด

อย่างไรก็ตามข้อมูลจากการศึกษาในระยะหลัง เชื่อว่ากลไกการเกิดโรคนี้คล้ายคลึงกับปฏิกิริยาแพ้ขั้นรุนแรง ที่เรียกว่า อะนาฟิแล็กซิส โดยพบว่า อาการที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการแตกตัวของเซลล์ชนิด mast cell ทำให้เกิดการหลั่งสารฮิสตามีนและทริปเทสออกมาในปริมาณมาก สารดังกล่าวกระตุ้นระบบคอมพลิเม้นท์ในร่างกายภายในเวลาอันรวดเร็ว

สาเหตุการเกิดโรค

เนื่องจากเซลล์ของทารกและเซลล์ต่างๆ ในน้ำคร่ำหลุดเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดา เซลล์เหล่านั้นเป็นแอนติเจนที่แรงที่ร่างกายมารดาไม่เคยรับรู้มาก่อน จึงทำให้ร่างกายมารดาเกิดปฏิกิริยาตอบสนองอย่างรุนแรง ปฏิกิริยาตอบสนองแบ่งได้เป็นสองระยะ

ระยะแรก หลอดเลือดปอดจะหดตัวอย่างรุนแรง ทำให้เกิดภาวะแรงดันในปอดสูงผิดปกติ และส่งผลให้แรงคันในห้องหัวใจห้องล่างขวาเพิ่มขึ้นจนถึงขั้นวิกฤต ร่างกายของมารดาตกอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน ภาวะขาดออกซิเจนจะทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจล้มเหลว เกิดกลุ่มอาการที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ในรายที่รอดชีวิตจากระยะแรก จะเข้าสู่ระยะที่สอง

ระยะที่สอง ปฏิกิริยาตอบสนองก่อให้เกิดปัญหาเลือดออกทั่วร่างกายอย่างรุนแรง ซึ่งจะรุนแรงมากจนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้เช่นกันในเวลาต่อมา

image

อาการของโรค

AFE : เกิดขึ้นโดยผู้ป่วยเกิดอาการหอบเหนื่อยและความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างกระทันหัน อาการรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนต้องเข้าห้องไอซียู บางรายพบอาการชักร่วมด้วย และอาจมีปัญหาเลือดออกทั่วร่างกาย ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตภายในหนึ่งชั่วโมงหลังเกิดอาการครั้งแรก

การวินิจฉัยโรค

เป็นการวินิจฉัยจากการตรวจศพหลังจากเสียชีวิตแล้ว โดยเมื่อทำการตรวจศพของมารดาที่เสียชีวิต จะพบเซลล์ของทารกในครรภ์ชนิดสควอมัสเซลล์ ในระบบไหลเวียนเลือดปอดของมารดา
อาจพบลักษณะเลือดออกผิดปกติในเนื้อเยื่อไตร่วมด้วย ตรวจพบสารมิวซินในเนื่อเยื่อปอดโดยการย้อมพิเศษด้วยสีพีเอเอส การตรวจมิวซินใช้แอนติบอดี้ชนิด TKH-2 ให้ผลบวก

หลักการรักษา

เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ต้องให้ยาเพื่อเพิ่มความดันโลหิตทันที ขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อค ใช้ยาโดปามีน Dopamine ซึ่งออกฤทธิ์เพิ่มแรงหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มความดันโลหิต และเพิ่มปริมาณเลือดไปที่ไต ขนาดที่ใช้ 2-5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อนาที ฉีดเข้าเส้นเลือด ปรับขนาดตามความเหมาะสม ให้ยาหลังจากประเมินและแก้ไขปริมาณสารน้ำในร่างกายผู้ป่วยร่วมด้วย รวมทั้งบันทึกการเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนอย่างละเอียด

การใช้ยาเพื่อกระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจได้แก่ ดิจิตัลลิส Digoxin ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด ขนาดที่ใช้ 0.5 มิลลิกรัม ฉีดทันที จากนั้นให้อีก 0.25 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง ยากลุ่มนี้
นอกจากออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจแล้ว ยังช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจอีกด้วย อีกทั้งควบคุมอัตรากการกระตุ้นของไฟฟ้าหัวใจได้บางส่วน ควรตรวจเช็คระดับแคลเซี่ยมและแม็กนีเซียมในเลือด จะช่วยให้การใช้ยาเกิดประโยชน์สูงสุด

การใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์เนื่องจากเชื่อว่าโรคนี้เกิดจากกลไกทางระะบบอิมมูน โดยฉีดไฮโดรคอรติโซน Hydrocortisone 500 มิลลกรัมเข้าเส้นเลือดทันทีและฉีดซ้ำทุก 6 ชั่วโมง

การใช้ยากระตุ้นการบีบตัวของมดลูกเพื่อป้องกันไม่ให้มดลูกบีบตัวแรงเกิน จนเป็นเหตุให้ตกเลือดจำนวนมาก อาจเลือกใช้อ็อกซิโทซิน Oxytocin หรือ เมเทอจิน Methergine ในขนาดสูงสุด

อัพเดทล่าสุด