ชะตากรรมของวัยรุ่นจะเป็นอย่างไร...เมื่อคอมพิวเตอร์ครองเมือง


889 ผู้ชม


คอมพิวเตอร์ครองเมืองจริง ๆ ค่ะตอนนี้ มองไปทางไหน ที่ทำงาน ที่โรงเรียนของลูก ที่หน้าปากซอย ที่บ้าน หรือคอมพิวเตอร์โนตบุ๊คที่อยู่บนตักบางคนบนเตียง! และสำหรับบ้านที่มีลูกวัยรุ่น ชะตากรรมเด็กวัยรุ่นในยุคคอมพิวเตอร์ จะเป็นยังไง         คอมพิวเตอร์ครองเมืองจริง ๆ ค่ะตอนนี้ มองไปทางไหน ที่ทำงาน ที่โรงเรียนของลูก ที่หน้าปากซอย ที่บ้าน หรือคอมพิวเตอร์โนตบุ๊คที่อยู่บนตักบางคนบนเตียง! และสำหรับบ้านที่มีลูกวัยรุ่น ชะตากรรมเด็กวัยรุ่นในยุคคอมพิวเตอร์ จะเป็นยังไง 

คุณหมอ ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ผอ.สำนักงานพัฒนาสุขภาพจิต บอกว่า
การที่คอมพิวเตอร์ดึงดูดใจวัยรุ่นได้เพราะสามารถตอบสนองความต้องการทางสัญชาติญาณของมนุษย์ได้ เช่น ความก้าวร้าว ความตื่นเต้น หรือแม้แต่เรื่องเพศ โดยไม่มีใครอื่นในสังคมมาเกี่ยวข้อง  ทำให้รู้สึกมีอิสระ    จึงเล่นนานจนติดถ้าภาวะเช่นนี้เกิดต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จะสูญเสียความเป็นตัวเอง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  การติดแบบนี้ ทางจิตวิทยาเขาว่าเป็น กระบวนการเรียนรู้โดยวางเงื่อนไข 

คุณหมอยกตัวอย่างสุนัขค่ะ 
ในครั้งแรกที่สุนัขได้กลิ่นเนื้อ จะน้ำลายไหล ต่อมาเราสั่นกระดิ่งพร้อมกับวางเนื้อ สุนัขก็น้ำลายไหล หลังจากนั้น แค่สั่นกระดิ่งโดยไม่มีเนื้อ สุนัขก็น้ำลายไหลเสียแล้ว คนก็เช่นกัน เล่นคอมพิวเตอร์แล้วสนุก หลังจากนั้น แทนที่จะเชื่อมโยงกับความสนุกโดยตรง แต่กลับไปเชื่อมโยงกับสิ่งอื่น เช่น เบื่อก็เล่น มีเวลาก็เล่น แม่บ่นก็เล่น คอมพิวเตอร์เลยกลายเป็น ตัวกระตุ้น ให้อยากเล่น ทั้งที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการเล่น เช่นเดียวกับสุนัขที่ได้ยินเสียงกระดิ่งก็น้ำลายไหล...ทั้งที่ไม่มีชิ้นเนื้อ 
แล้วถ้าเด็กใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์นาน ๆ ล่ะ ? น่าห่วงค่ะ
...เพราะการเรียนรู้ครั้งแรก ๆ จะมีผลต่อมนุษย์มาก เด็กอาจเรียนรู้สิ่งที่ผิด ๆ จากคอมพิวเตอร์ได้ อย่างเรื่องท็อปฮิตอย่างเรื่องเอ๊กซ์ ๆ นั่นไงคะ เด็กจะเริ่มเรียนรู้เรื่องเพศในบริบทของความรัก ตอนอายุ 10 ขวบขึ้นไป ถ้าเรียนรู้เรื่องนี้จากหนังสือโป๊ ก็จะมีทัศนคติต่อความรัก เรื่องเพศ แบบที่เขาเรียนรู้มา ติดตัวไปจนกระทั่งมีครอบครัว การเรียนรู้แบบผิด ๆ ส่งผลวุ่นวายหลายประการที่เรารู้เห็นกันทุกวันนี้
ซึ่งสาเหตุหลักที่เด็กติดคอมพิวเตอร์มาจากครอบครัวด้วยค่ะ หลายครอบครัวไม่ตระหนักปัญหาที่เกิดขึ้น พ่อแม่ไม่สนใจลูกมากนัก อาจไปทำงานต่างจังหวัด หรือเหนื่อยจากงาน กลับบ้านก็อยากพักผ่อน เลยฝากลูกไว้กับสื่อทีวี วิดีโอเกม คอมพิวเตอร์ เพื่อที่ลูกจะได้ไม่กวนใจมากนัก...แล้วคอมพิวเตอร์ก็เอาลูกเราไปในที่สุด 

ดร.กิตติ กันภัย  อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เห็นว่า
ทุกครั้งที่เกิดสื่อใหม่ในแต่ละช่วงสังคม ทำให้เกิด การกระเพื่อมทางความคิดและพฤติกรรมและคอมพิวเตอร์ก็เหมือนกับเหรียญสองด้านที่มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง ด้านบวกคือเป็นตัวส่งผ่านข่าวสารที่มีประโยชน์ ทำให้เกิดสภาพสังคมประชาธิปไตย ที่คุยกันได้ทุกเรื่อง แต่อีกด้าน เว็บไซต์หรือเกม มีลักษณะที่ดึงดูดให้ผู้ใช้ติด ทำให้คนคิดไปว่าคอมพิวเตอร์เป็นเสมือนเพื่อนที่ฟังคำสั่ง ปลอบใจให้คำปรึกษา ทำหน้าที่ครอบครัวแทนคนจริง 

ผลคือ ผู้ใช้(ที่ใช้มาก ๆ )  จะลดความเป็นคนลงเรื่อยๆ ทำให้รู้สึกว่าสามารถควบคุมได้ เด็กที่ใช้คอมพิวเตอร์มากจะพูดน้อย ชอบสั่งการ ใช้คำสั้น ๆ เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ เมื่อเด็กอยู่ในโลกของคอมพิวเตอร์นานๆ จะซึมซับการสื่อสารนั้นมา พอมาอยู่ในโลกแห่งความจริงก็จะปรับตัวไม่ได้ ผศ.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ คณะนิเทศศาสตร์ มสธ.มองในประเด็น รู้เท่าทันสื่อ ที่มีเงาของการตลาดแฝงกายมา "สังคมปล่อยให้เรื่องปล่อยให้เรื่องของการตลาดเข้ามากำหนดวิถีชีวิตคน" คอมพิวเตอร์ถูกผูกโยงเข้ากับเรื่องการตลาด กระแสจึงแรงไปทั่วโลก อินเตอร์เน็ตคาเฟ่เกิดขึ้นมากมาย ไม่ใช่เฉพาะในกทม. ต่างจังหวัดก็มี และอินเตอร์เน็ตก็กำลังจะไปถึงท้องถิ่นในรูปของการเก็บข้อมูลประชากร การใช้คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ มาจากความต้องการของเราจริง ๆ หรือเป็นเพราะกระแสที่เราจำเป็นต้องมีกันแน่ ? อาจารย์เอื้อจิตทิ้งท้ายไว้น่าคิดค่ะ เราจำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ไหม หรือเพียงต้านกระแสไม่ไหวเลยต้องซื้อมา ถ้าหาคำตอบตรงนี้ไม่ได้ชัด ลูกกับเราก็คงต้องเผชิญชะตากรรมกันอย่างไร้ทิศต่อไปล่ะค่ะ
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=19&sub_id=3&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด