ภาวะครรภ์เป็นพิษ คุณแม่ตั้งครรภ์


1,216 ผู้ชม


ภาวะครรภ์เป็นพิษ คือ ภาวะที่ผิดปกติที่พบในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ อาการบวม ความดันโลหิตสูง และตรวจพบสารไข่ขาวในปัสสาวะ ถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ที่อันตรายมาก         ภาวะครรภ์เป็นพิษ คือ ภาวะที่ผิดปกติที่พบในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ อาการบวม ความดันโลหิตสูง และตรวจพบสารไข่ขาวในปัสสาวะ ถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ที่อันตรายมาก 
ภาวะครรภ์เป็นพิษ คุณแม่ตั้งครรภ์

ภาวะครรภ์เป็นพิษ คุณแม่ตั้งครรภ์

ภาวะครรภ์เป็นพิษ คือ ภาวะที่ผิดปกติที่พบในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ อาการบวม ความดันโลหิตสูง และตรวจพบสารไข่ขาวในปัสสาวะ ...

มักมีอาการเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 5-6 เดือน จนกระทั่งหลังคลอด 1 สัปดาห์ ซึ่งสาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักจะพบในการตั้งครรภ์แรก ตั้งครรภ์แฝดตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (เกิดจากการเจริญของเนื้อเยื่อรกที่มากผิดปกติ ส่วนใหญ่ท้องจะโตเหมือนคนท้องแต่ไม่มีเด็กเมื่อรกลองออกมาหรือเลือดออกทางช่องคลอดจะเห็น ก้อนเล็กๆ ของรกออกมาเหมือนไข่ปลา) และในหญิงที่เป็นเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไตอยู่ก่อน
อาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ที่อันตราย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ตามัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดตรงใต้ลิ้นปี่ บวมตามมือตามเท้า และใบหน้า ในบางรายที่ป่วยรุนแรงอาจมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก เอนไซม์ตับขึ้นสูง และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้เลือดออกง่าย อาจจะมีอาการปวดลิ้นปี่รุนแรง เนื่องจากมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มตับ ในรายที่เป็นชนิดร้ายแรง จะมีอาการชักหมดสติซึ่งอาจจะเกิดก่อนคลอด หรือภายในหนึ่งสัปดาห์ หลังคลอด ในบางรายจะมีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย ถ้าอาการไม่รุนแรง หลังจากคลอดแล้ว ภาวะครรภ์เป็นพิษจะค่อยๆ หายไปได้เอง
ในรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์จะพิจารณาเพื่อช่วยชีวิตมารดาไว้ก่อน หากตรวจพบตั้งแต่เริ่มเป็นสามารถดูแลรักษาให้ปลอดภัยได้ทั้งแม่และเด็กในครรภ์ ดังนั้นจึงควรแนะนำให้ผู้หญิงมาฝากครรภ์ตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์ หมั่นชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตและตรวจปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อตั้งครรภ์ ควรระวังอาการต่อไปนี้
  1. ปวดศีรษะรุนแรง มีอาการตาพร่ามัว หรือมองเห็นแสงเป็นจุดๆ หรือเห็นแสงวูบวาบ
  2. มีอาการจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่
  3. คลื่นไส้อาเจียน แม้ว่าเหมือนอาการแพ้ท้องก็ตาม แต่ถ้าหากมีอาการอื่นร่วมด้วยควรพบแพทย์
  4. มีอาการบวมตามใบหน้า มือ ข้อมือและท้า
  5. น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไปอย่างรวดเร็ว
หากคุณแม่ตั้งครรภ์ตรวจพบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ควรพบหมอโดยด่วน
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
  1. คุณแม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  2. คุณแม่ตั้งครรภ์ที่อ้วนเกินไป หรือมีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 ขึ้นไป
  3. มีประวัติเคยเป็นโรคนี้หรือคนในครอบครัวเคยเป็น เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  4. ตั้งครรภ์แฝดหรือเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
  5. เคยมีประวัติการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจเกิดได้ในกรณีที่คุณหรือญาติของคุณเคยเกิดมาก่อน
สำหรับแนวทางป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ หากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสมดุลและถูกสุขลักษณะ อย่าปล่อย
ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจนมากเกินไป (ตามเกณฑ์ขึ้นเดือนละไม่เกิน 2 กิโลกรัม) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เค็มจัด พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ และไม่ทำอะไรที่เหนื่อยจนเกินไป
ดังนั้นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทำคือการไปตรวจครรภ์ตามนัดเป็นประจำทุกครั้ง เพื่อรับการตรวจความดันโลหิตและตรวจปัสสาวะหาปริมาณไข่ขาว เช็คอาการครรภ์เป็นพิษในระหว่างการตั้งครรภ์ เพื่อลูกน้อยจะได้คลอดออกมาอย่างปลอดภัยและสมบูรณ์ทั้งคุณแม่ คุณลูกน่ะค่ะ

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=3362&sub_id=43&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด