การคลอดลูกด้วยวิธีการบล็อคหลังในแบบต่างๆ


1,197 ผู้ชม


การคลอดลูกสำหรับคุณแม่อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์วิตกและเป็นกังวลว่าตัวเองนั้นจะต้องทำอย่างไรบ้างเมื่อถึงเวลาในคลอด วันนี้เรามีวิธีการคลอดลูกแบบล็อกหลังมาให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ลองศึกษากันดูค่ะ         การคลอดลูกสำหรับคุณแม่อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์วิตกและเป็นกังวลว่าตัวเองนั้นจะต้องทำอย่างไรบ้างเมื่อถึงเวลาในคลอด วันนี้เรามีวิธีการคลอดลูกแบบล็อกหลังมาให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ลองศึกษากันดูค่ะ 
การคลอดลูกด้วยวิธีการบล็อคหลังในแบบต่างๆ

การคลอดลูกด้วยวิธีการบล็อคหลังในแบบต่างๆ

คุณแม่ตั้งครรภ์อยู่และใกล้คลอดลูกอาจจะกำลังเป็นกังวลกับการคลอดว่าตัวเองจะคลอดแบบไหนดีถึงจะเหมาะกับตัวเอง

วันนี้เรามีวิธีการคลอดลูกแบบบล็อกหลังมาให้คุณแม่ที่กำลังอยากทราบว่าการบล็อกหลังนั้นมีผลอะไรกับตัวเองหลังจากนั้นหรือเปล่า และมีวิธีการทำอย่างไรกันบ้าง มากฝากคุณแม่ตั้งครรภ์ค่ะ
การบล็อกหลังแบบ Epidural
วิธีการ: วิสัญญีแพทย์จะแทงเข็มซึ่งภายในมีหลอดนำยาขนาดเล็กเข้าไปในกระดูกสันหลังของคุณแม่ หลอดนำยาจะค้างอยู่ข้างในและค่อยๆ ปล่อยยาชาอย่างต่อเนื่องออกไปควบคุมชั้นผิวหนังของไขสันหลังที่เรียกว่า Dura ให้หมดความรู้สึก คุณแม่จะบอกให้แพทย์ใช้วิธีนี้ในช่วงใดของการรอคลอดก็ได้
ข้อดี: หลังจากที่แพทย์แทงเข็มบริเวณกระดูกสันหลังแล้ว คุณแม่ส่วนมากจะหมดความรู้สึกตั้งแต่ช่วงเอวลงไปภายใน 5 นาที แต่ในบ้างครั้งอาจใช้เวลานานกว่านี้ แล้วแต่ปริมาณของตัวยาที่ใช้วิธีบล็อกหลังแบบ Epidural จะช่วยให้คุณแม่ไม่เจ็บปวดจากการบีบรัดตัวของมดลูก และยังสามารถขยับตัวเคลื่อนไหวร่างกายได้ คุณแม่สามารถพักผ่อนหรืองีบหลับเพื่อรอเวลาเบ่งคลอดได้
ข้อควรระวัง : ผลข้างเคียงจาการบล็อกหลังแบบ Epidural ที่พบมากที่สุดคืออาการปวดศีรษะ (1:200) ซึ่งเป็นผลจากการใช้เข็มเจาะและปล่อยยาเข้าไปในแนวไขสันหลัง
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่นอกจากปวดศีรษะก็คือ คลื่นไส้ อาเจียน คัน เละสั่นตามร่างกาย ส่วนใหญ่จะหายไปเองเมื่อหมดฤทธิ์ยา แต่ถ้ายาหมดฤทธิ์แล้วอาการเหล่านี้ยังไม่หายไป คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์
ในทันที
นอกจากนี้การบล็อกหลังแบบ Epidural อาจทำให้ความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อกระดูกเชิงกรานลดลง ซึ่งจะส่งผลให้การคลอดในระยะที่สองต้องใช้เวลาเนิ่นนานออกไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมงและยังมีโอกาสสูงที่จะต้องใช้คีมช่วยคลอด
โดยปกติการบล็อกหลังแบบ Epidural เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศได้พยายามคิดค้นวิธีที่จะลดปริมาณการใช้ยา รวมทั้งการผสมชนิดของยาเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อคุณแม่น้อยที่สุด และทำให้คุณแม่รอคลอดสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้มากที่สุด จึงมีผู้เรียกวิธีบล็อกหลังแบบ Epidural ว่า “ชนิดเดิน” เพราะคุณแม่ยังสามารถลุกเดินไปไหนได้

การบล็อกหลังแบบ Spinal Block
วิธีการ : แพทย์จะแทงเข็มเข้าไปที่บริเวณหลังส่วนล่างของคุณแม่ ซึ่งเข็มจะเจาะผ่านกระดูกไขสันหลังชั้น Dura ตรงเข้าไปยังแนวไขสันหลังทันที คุณแม่ส่วนมากจะรู้สึกชาตั้งแต่ช่วงเอวลงไป ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิ ภาพในการเบ่งคลอดลดลงด้วย การบล็อกหลังแบบ Spinal มักจะใช้ช่วงทารกใกล้คลอด เนื่องจากยามีฤทธิ์อยู่ได้ในช่วงสั้นเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น
ข้อดี : เป็นวิธีที่จะช่วยระงับความเจ็บปวดได้ในทันทีภายใน 1–2 นาทีก็เห็นผล และปริมาณยาที่ใช้ก็น้อยกว่าการบล็อกหลังแบบ Epidural
ข้อควรระวัง : เนื่องจากมีฤทธิ์ค่อนข้างสั้น ยาที่ฉีดไปอาจหมดฤทธิ์ก่อนที่ทารกจะคลอดมา และแพทย์จะไม่ฉีดยาให้ซ้ำเป็นครั้งที่สอง เป็นวิธีที่ก่อให้เกิดประโยชน์น้อยมาก เพราะยังไม่มีใครสามารถคำนวณเวลาในการคลอดได้ และอาจทำให้คุณแม่ปวดศีรษะซึ่งเป็นผลจากการแทงเข็มไปในแนวไขสันหลังระดับลึก ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ ตัวสั่น อาการคัน และรู้สึกคลื่นไส้
การบล็อกหลังแบบผสมระหว่าง Epidural กับ Spinal
วิธีการ : วิธีการบล็อกหลังแบบผสมมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เทคนิคแบบสองเข็ม” คือการใช้เข็มเป็นเซ็ต โดยวิสัญญีแพทย์จะแทงเข็มขนาดใหญ่ซึ่งข้างในจะมีเข็มขนาดเล็กอยู่อีกอันหนึ่งเข้าไปที่กระดูกไขสันหลัง เข็มเล็กข้างในจะแทงลึกตรงเข้าไปที่แนวไขสันหลังคือ Spinal เพื่อให้ยาออกฤทธิ์แบบเฉียบพลัน
หากการคลอดยังไม่เกิดขึ้นภายในช่วงที่ยาบล็อก Spinal ออกฤทธิ์ แพทย์ก็จะให้ยาชาบล็อกหลังอีกครั้งในระดับ Epidural ซึ่งออกฤทธิ์ช้าและอยู่ได้นานกว่าทางเข็มใหญ่ โดยไม่ต้องแทงเข็มซ้ำ

ข้อดี: เป็นการรวมข้อดีของการบล็อกหลังทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน และคุณแม่ยังเคลื่อนไหวร่างกายได้
ข้อควรระวัง: ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขั้นกับคุณแม่ก็คือ ปวดศีรษะ ตัวสั่น อาการคัน และคลื่นไส้
ยังไงซะคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังจะคลอดลูกก็ควรศึกษาหาข้อมูลวิธีการคลอดลูกแบบต่างๆ เอาไว้บ้างน่ะค่ะ เผื่อว่าเวลาตอนนั้นมาถึงคุณแม่ตั้งครรภ์จะได้ไม่ต้องมาคอยพะวงกับการคลอดลูกค่ะ

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=3321&sub_id=43&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด