ภาวะท้องเทียม ที่คุณไม่เคยรู้


682 ผู้ชม


ภาวะท้องเทียม หรือที่รู้จักกันดี คือ ท้องลม อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้คุณหาคำตอบไม่ได้ เพราะไม่ว่าอาการต่างๆ หรือแม้นกระทั่งท้องที่ใหญ่ขึ้นทุกเดือน ซึ่งทำให้คุณนั้นเข้าใจผิดนึกว่าตัวเองตั้งครรภ์จริงๆ         ภาวะท้องเทียม หรือที่รู้จักกันดี คือ ท้องลม อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้คุณหาคำตอบไม่ได้ เพราะไม่ว่าอาการต่างๆ หรือแม้นกระทั่งท้องที่ใหญ่ขึ้นทุกเดือน ซึ่งทำให้คุณนั้นเข้าใจผิดนึกว่าตัวเองตั้งครรภ์จริงๆ 
ภาวะท้องเทียม ที่คุณไม่เคยรู้

ภาวะท้องเทียม ที่คุณไม่เคยรู้

ภาวะท้องเทียม (pseudocyesis หรือ false pregnancy) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกรณีคลาสสิกทางจิตเวชที่แสดงให้เห็นว่า บางครั้งจิตใจก็มีอิทธิพลเหนือร่างกายได้ ลองมารู้จักภาวะท้องเทียม หรือว่าท้องลม กันให้ดีกว่านี้ดีกว่าค่ะ

“ท้องเทียม” หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ท้องลม” คือการที่ผู้หญิงมีอาการเหมือนการตั้งครรภ์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นประจำเดือนขาด คลื่นไส้ อาเจียนตอนเช้า (morning sickness) เต้านมขยาย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือท้องโตขึ้น และในบางกรณีที่พบได้ไม่บ่อย ผู้ป่วยอาจบอกว่า รู้สึกถึงเด็กดิ้นอยู่ในท้องด้วย แต่ไม่พบว่ามีทารกแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี ท้องเทียมเป็นภาวะที่พบได้น้อยมากเพียงแค่ 0.0045-0.0272% ของการตั้งครรภ์เท่านั้น และในปัจจุบันมีแนวโน้มพบได้น้อยลงเรื่อยๆ โดยไม่ได้พบเฉพาะในผู้หญิงเท่านั้น เพราะมีรายงานการพบภาวะท้องเทียมในผู้ชายด้วย แต่น้อยมากๆ (ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีอาการหลงผิด) นอกจากนี้ยังพบในสัตว์ด้วยเช่นกัน ที่มีรายงานบ่อยๆ ก็คือในสุนัข แต่กลไกการเกิดไม่เหมือนกับที่พบในคน

ท้องเทียมเกิดจากอะไร?
แม้ว่าสาเหตุที่ชัดเจนระดับฟันธงนั้นจะยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด (อีกแล้ว) แต่จากการศึกษาในผู้ป่วยจำนวนมาก พบว่าปัจจัยอันหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับภาวะท้องเทียมก็คือความต้องการมีบุตรอย่างมาก ส่วนปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การเสียใจจากการแท้ง การต้องการที่จะแต่งงาน การกลัวการตั้งครรภ์อย่างมาก การผิดหวังจากการที่ต้องตัดมดลูก เป็นต้น หรือในบางกรณีก็พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเภท (schizophrenia)
โดยทางการแพทย์เชื่อว่า เมื่อคนๆ หนึ่งมีความปรารถนาหรือความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะมีลูก ร่างกายจะมีการตอบสนองบางอย่างทำให้เกิดอาการคล้ายการตั้งครรภ์ (แต่อาการยังไม่ชัดเจน) เช่น ประจำเดือนมาช้า เต้านมคัดตึง คลื่นไส้ หรือท้องโตขึ้นเล็กน้อย ซึ่งความปรารถนานี้เมื่อบวกกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น ทำให้สมองเชื่อหรือรับรู้แบบผิดๆ (misinterpret) ไปว่าร่างกายตั้งท้องจริง จึงกระตุ้นสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) ซึ่งเป็นสมองส่วนสำคัญในการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และโปรแลคติน (prolactin) ออกมา ซึ่งมีผลทำให้ร่างกายเกิดอาการเหมือนกับการตั้งครรภ์จริงๆ กรณีการท้องเทียมจึงเป็นกรณีหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า บางครั้งจิตใจก็มี
อิทธิพลเหนือร่างกายจริง และยังสามารถชักนำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่จิตใจเชื่อได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องระวัง เพราะโรคบางอย่างสามารถทำให้เกิดอาการคล้ายๆ กับภาวะท้องเทียมได้เช่นกัน เช่น เนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง (pituitary tumor) เป็นต้น ซึ่งในกรณีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 ก็มีแพทย์หลายๆ คนตั้งข้อสงสัยเหมือนกันว่า อาจจะเกิดจากเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองก็เป็นได้ เพราะพระองค์เกิดภาวะท้องเทียมถึงสองครั้งในรอบสี่ปี ซึ่งถือว่าหาได้ยากมากๆ แต่ก็อย่างว่าล่ะ ในสมัยนั้นคงไม่มีปัญญาไปตรวจ MRI สมองได้ กระทั่งแค่ตรวจระดับฮอร์โมนในเลือดยังไม่มีให้ตรวจเลย จึงเป็นการยากที่จะหาคำตอบได้ในขณะนั้น

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นภาวะท้องเทียม
การวินิจฉัยสำหรับภาวะท้องเทียม ได้แก่ การทดสอบการตั้งครรภ์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะให้ผลเป็นลบ (คือไม่ท้อง) มีเพียงส่วนน้อยที่อาจจะพบผลบวกลวง (เรียกว่า false positive คือการที่ผลการตรวจออกมาว่าตั้งครรภ์ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีทารกจริง) นอกจากการทดสอบการตั้งครรภ์แล้ว การตรวจอื่นๆ ที่ช่วยในการวินิจฉัยภาวะท้องเทียม ได้แก่ การตรวจร่างกายแล้วฟังไม่ได้ยินเสียงหัวใจทารก หรือคลำมดลูกกับตัวทารกไม่ได้ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจยืนยันได้ด้วยการตรวจอัลตราซาวด์แล้วไม่พบว่ามีทารกอยู่ในมดลูก ซึ่งจากความก้าวหน้าในปัจจุบันทำให้มีโอกาสน้อยมากที่จะพบผู้ป่วยที่มีภาวะท้องเทียมนานหลายๆ เดือนโดยไม่รู้ว่าตัวว่า ไม่ได้ตั้งครรภ์จริงๆ (ยกเว้นว่าคนนั้นจะอยู่ในป่าเขา ไม่เคยตรวจ หรือฝากครรภ์เลยสักครั้ง)
การรักษาในปัจจุบัน
โดยทั่วไปเมื่อผู้ป่วยได้รับการยืนยันอย่างชัดเจนจากการตรวจเพิ่มเติมแล้วว่าไม่ได้ท้องจริง อาการที่คล้ายการตั้งครรภ์ต่างๆ ก็มักจะค่อยๆ หายไปเองโดยไม่ต้องทำอะไร แต่การไปพบจิตแพทย์ก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะได้ทำการประเมินและรักษาปัญหาทางด้านจิตใจที่อาจเป็นต้นตอของการเกิดอาการต่อไปได้
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=3306&sub_id=43&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด