เตือนภัย คุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก


1,530 ผู้ชม


ในยุคปัจจุบันการมีครอบครัวนั้นคงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับสาวๆ ยุคใหม่ เพราะประเด็นหลายๆ อย่างทำให้คุณสาวๆ แต่งงานกันช้ามากยิ่งขึ้น ปัญหาก็คือเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากขึ้น ลูกที่อยู่ในท้องจะปลอดภัยหรือเปล่า?         ในยุคปัจจุบันการมีครอบครัวนั้นคงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับสาวๆ ยุคใหม่ เพราะประเด็นหลายๆ อย่างทำให้คุณสาวๆ แต่งงานกันช้ามากยิ่งขึ้น ปัญหาก็คือเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากขึ้น ลูกที่อยู่ในท้องจะปลอดภัยหรือเปล่า? 
เตือนภัย คุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก

เตือนภัย คุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก

ปัจจุบันเรื่องแต่งงานของคุณสาวๆ ดูจะไกลออกไปทุกที สาวๆ มักชอบทำงานในออฟฟิตมากกว่าที่อยู่ทำงานบ้าน หรือคอยที่จะเลี้ยงลูกอยู่กับบ้าน จึงทำให้ปัจจุบันคุณสาวๆ จะแต่งงานทีก็ตอนอายุเลยเลขสามกันไปหมด

ซึ่งปัญหาการตั้งครรภ์ตอนคุณแม่อายุมาก อาจจะทำให้มีโอกาสที่จะมีบุตรได้ยาก หรือบางทีตั้งครรภ์ลูกก็เสี่ยงกับภาวะกับโรคต่างๆ มากมายทั้งกับสุขภาพลูกน้อย และสุขภาพของตัวคุณแม่เอง เหล่านี้เป็นต้น
แพทย์หญิงวราธิป โอทกานนท์ สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเผยว่า ผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นหรือมากกว่า 35 ปี ขึ้นไปจะมีอัตราการเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในหลายเรื่อง ได้แก่
  • จะมีเซลล์สืบพันธุ์ คือ “เซลล์ไข่ผิดปกติ” โดยจะมีสารพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือเราเรียกว่า การมิวเตชั่น (Mutation) เกิดจากสารชักนำ เช่น รังสีและสารเคมีบางอย่าง โดยการเปลี่ยน แปลงรังไข่จะค่อย ๆ เกิดขึ้นจนในที่สุดจะสามารถทำให้ทารกที่เกิดมาจากเซลล์ไข่ที่ผิดปกติมีอาการ ของโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสารทางพันธุกรรมได้
  • บุตรจะมีโอกาสเสี่ยงต่อความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม กรณีนี้แพทย์อาจแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจความผิดปกติ สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 17-22 สัปดาห์ โดยการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาโครโมโซม เป็นกระบวนการนำน้ำคร่ำที่อยู่รอบตัวทารกในโพรงมดลูกออกมา ในน้ำคร่ำจะมีเซลล์ทารกปนอยู่ด้วย แต่เซลล์ทารกอาจจะได้จากส่วนอื่นอีก เช่น เนื้อรกหรือเลือดจากสายสะดือทารกก็ได้ แพทย์จะคัดเอาเซลล์ไปเพาะเลี้ยงแล้วตรวจโครโมโซมต่อไป
อย่างไรก็ตาม โครโมโซม คือสารทางพันธุกรรมที่อยู่ภายในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยโครโมโซม 23 คู่ (46 แท่ง) โดยโครโมโซมจะเป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆ ของเซลล์หรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
เช่น รูปร่าง หน้าตา สติปัญญา เพศหญิงหรือเพศชาย เป็นต้น กรณีที่โครโมโซมผิดปกติ เช่น การขาดหายไปหรือการเพิ่มขึ้นของโครโมโซมจะทำให้เซลล์หรืออวัยวะต่างๆในร่างกายผิดปกติไป ที่พบบ่อยๆ คือการ
เพิ่มขึ้นของโครโมโซมคู่ที่ 21 ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายและสมองเรียกว่ากลุ่มอาการดาวน์

  • อาจเกิดปัญหาเรื่องรกมากขึ้น เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกก่อนกำหนด โดยเด็กที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักน้อยกว่าคนท้องที่อายุยังน้อย ซึ่งอาการรกเกาะต่ำนั้น คือรกจะไปเกาะที่ส่วนล่างของมดลูกทำให้มีเลือดออกในช่วง การตั้งครรภ์ในครึ่งหลังเป็นอันตรายต่อมารดาอาจถึงขั้นเสียชีวิตหรือที่ เรียกว่า การตกเลือด ส่วนทารกก็ไม่สามารถคลอดได้ตามปกติต้องใช้วิธีผ่าตัดคลอด และอาการที่รกลอกตัวก่อนกำหนดจะมีเลือดออกทางช่องคลอดและมีอันตรายมากต่อคุณ แม่และทารกที่เกิดอาจจะพิการหรือเสียชีวิตได้
สำหรับมารดาที่อายุมากและมีปัญหาสุขภาพอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงสูงในการคลอดบุตรด้วย เช่นกัน ได้แก่ ครรภ์เป็นพิษที่รุนแรง ครรภ์แฝดมีภาวะแทรกซ้อน โรคเบาหวานยังควบคุมไม่ได้ โรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจ ปอด ตับ ไต มะเร็ง ซึ่งวิธีการลดอัตราการเสี่ยง ได้แก่ รับประทานวิตามินโฟลิก ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์และฝากท้องตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดดื่มสุราและสูบบุหรี่

ในส่วนของวิธีการคลอดนั้นมี 2 แบบ คือ คลอดธรรมชาติและผ่าตัดคลอด ซึ่งการคลอดธรรมชาติเหมาะกับคุณแม่ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว และอุ้งเชิงกรานไม่แคบเกินไป ลูกอยู่ในท่าปกติ
คือ กลับหัวลง ขนาดศีรษะและขนาดทารกได้สัดส่วนกับอุ้งเชิงกรานมารดา และที่สำคัญลูกและแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตขณะคลอด ซึ่งคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติจะมีการฟื้นตัวเร็วเพียงไม่กี่ชั่วโมง
ก็กลับมาสดชื่นได้เร็วกว่า ถึงแม้ว่าจะเจ็บแผลบ้าง จึงต้องดูแลทำความสะอาดแผลที่เย็บเป็นพิเศษ
ส่วนวิธีผ่าตัดคลอดมีด้วยกันหลายสาเหตุที่ต้องใช้วิธีนี้ คือ ลูกไม่กลับหัวแต่เอาก้นลง รกเกาะต่ำ ลูกตัวโตกว่าเชิงกรานของแม่ ลูกในท้องมีภาวะขาดออกซิเจน แม่อาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูงครรภ์เป็นพิษ รวมถึงการตัดสินใจของตัวคุณแม่และครอบครัวเอง แต่มีข้อดีคือสามารถนัดหมายกับคุณหมอเพื่อกำหนดวันผ่าคลอดได้และเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดค่อนข้างแน่นอน ส่วนการผ่าตัดฉุกเฉินนั้นจะทำในกรณีที่ก่อนคลอดปากมดลูกไม่ขยายเมื่อถึงเวลาอันควร ทำให้การคลอดยืดเยื้อหรือเมื่อทารกขาดออกซิเจนกะทันหัน เช่น แม่ได้รับอุบัติเหตุหรือถูกกระทบกระเทือนรุนแรงหรือเกิดจากรกเกาะต่ำขวางทางคลอดและรกลอกตัวก่อนกำหนด อย่างไรก็ตามหากเกิดภาวะฉุกเฉินในระหว่างทำคลอดหรือหลังจากคลอดแล้ว ทีมสูตินรีแพทย์พร้อมด้วยทีมกุมารแพทย์ที่มีประสบการณ์จะให้การดูแลครรภ์และรักษาทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีภาวะแทรกซ้อนแต่เริ่มตั้งครรภ์ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและทางโรงพยาบาลกรุงเทพก็มีแผนกทารกแรกเกิดวิกฤติที่จะให้การดูแลทารก อย่างใกล้ชิด มีแพทย์เฉพาะทางทุกสาขาพร้อมที่จะให้คำปรึกษา
สุดท้ายนอกจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัยแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดของคุณแม่และลูกน้อยก็คือการดูแลสุขภาพในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะระหว่างตั้งครรภ์เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อร่างกาย เช่นแพ้ท้องในช่วง 3 เดือนแรกเมื่อตื่นนอนจะมีอาการมึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ควรดื่มน้ำผลไม้และทานขนมปังกรอบทันทีจะทำให้รู้สึกสดชื่น ส่วนอาการปวดหลังมักเป็นช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ ควรพยายามนอนพื้นเรียบ ใช้หมอนหนุนหลังเวลานั่ง อย่าก้มหยิบของ และอาจให้สามีช่วยนวดเบาๆ เพราะนอกจากจะคลายปวดหลังแล้วยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ด้วย
   
ด้านอาหารการกินควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นม ผัก ผลไม้ ไม่ควรทานพวกข้าว แป้ง น้ำตาล ขนมหวาน และอาหารที่มีไขมันมาก งดอาหารรสจัด ดิบๆ ของหมักดอง ผงชูรส ชา กาแฟ เหล้า
บุหรี่ ดูแลสุขภาพปากและฟันเพราะมักมีปัญหาเหงืออักเสบและฟันผุได้ง่าย ควรแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร และควรดูแลเต้านมเพราะช่วงตั้งครรภ์จะมีขนาดใหญ่ขึ้นจึงควรเปลี่ยนยกทรงให้ มีขนาดพอเหมาะใส่สบาย
และการพักผ่อนควรนอนหลับให้เต็มอิ่ม 8-10 ชม.และควรหาเวลานอนพักในตอนบ่ายอีกอย่างน้อย 1 ชม.เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อย.

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=3024&sub_id=43&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด