คุณแม่ตั้งครรภ์ กับภัยจากอุปกรณ์ไฮเทค


944 ผู้ชม


ในปัจจุบันเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฮเทคนั้นถือว่าเป็นปัจจัยหลักอีกหนึ่งอย่างไปแล้ว แต่ถ้าเจ้าอุปกรณ์ไฮเทคที่ว่าส่งผลเสียกับลูกในท้องของคุณ คุณแม่ตั้งครรภ์มีวิธีการรับมืออย่างไรที่จะไม่ทำให้ลูกน้อยของคุณได้รับอันตราย         ในปัจจุบันเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฮเทคนั้นถือว่าเป็นปัจจัยหลักอีกหนึ่งอย่างไปแล้ว แต่ถ้าเจ้าอุปกรณ์ไฮเทคที่ว่าส่งผลเสียกับลูกในท้องของคุณ คุณแม่ตั้งครรภ์มีวิธีการรับมืออย่างไรที่จะไม่ทำให้ลูกน้อยของคุณได้รับอันตราย 
คุณแม่ตั้งครรภ์ กับภัยจากอุปกรณ์ไฮเทค

คุณแม่ตั้งครรภ์ กับภัยจากอุปกรณ์ไฮเทค

ในยุคปัจจุบันคุณผู้หญิงมีบทบาทในการทำงานมากขึ้น และอุปกณ์ที่ให้ในการทำงานส่วนใหญ่ก็จะเป็นเจ้าพวกมือถือ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องถ่ายเอกสารที่ส่งผมเสียกับคุณอยู่แล้ว..

แล้วถ้าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ล่ะ เจ้าอุปกรณ์ที่ว่า จะส่งผลเสียกับลูกในท้องหรือไม่ อย่างไร เราไปเรียนรู้วิธีและดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งครรภ์ให้ลูกน้อยปลอดภัยกันดีกว่าค่ะ
1.คอมพิวเตอร์ ...ใช้อย่างไรจึงปลอดภัย?
ในหนึ่งวัน ผู้หญิงทำงานหลายท่านคงต้องใช้เวลาในการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์โดยเฉลี่ย 6-8 ชั่วโมง ซึ่งมีผลการวิจัยจากต่างประเทศทั้งที่กล่าวว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและรังสีที่แผ่ออกมาจากคอมพิวเตอร์จะมีผลต่อลูกในท้อง ทำให้เป็นมะเร็ง หรือการอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทุกวันจะทำให้โอกาสตั้งครรภ์ลดน้อยลง แต่ก็มีการวิจัยอีกหลายชิ้นที่กล่าวว่าการใช้คอมพิวเตอร์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียต่อลูกโดยตรง แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าการใช้คอมพิวเตอร์จะมีผลเสียต่อลูกในท้องโดยตรงหรือไม่ แต่หากใช้เป็นเวลานาน ย่อมทำให้คุณแม่ มีอาการไม่สบายเนื้อตัว อ่อนล้าหรือมีความเครียดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาการเหล่านี้ย่อมกระทบต่อลูกแน่นอนค่ะ
ตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ : เมื่อต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานมักทำให้สายตาล้า ตาแห้ง ระคายเคืองหรือมีอาการสายตาสั้นชั่วคราว จึงควรนั่งให้สายตาอยู่ห่างจากจอไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อลดปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาให้ได้รับน้อยที่สุด รวมถึงการติดแผ่นกรองแสงก็จะช่วยลดไฟฟ้าสถิตและป้องกันแสงสะท้อนเข้าสู่ตาได้ ภายในห้องควรมีแสงสว่างพอเหมาะ ไม่มืดหรือสว่างจนเกินไป และควรพักสายตาจากหน้าจอประมาณ 5-10 นาที หลังจากใช้งานทุก 1 ชั่วโมง
ท่าที่ถูกต้อง : การนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน อาจทำให้ปวดเมื่อยบริเวณไหล่ คอและหลัง เพราะร่างกายต้องรับน้ำหนักเกินความจำเป็นและทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่สะดวก จนเกิดอาการบวมบริเวณมือหรือเท้าได้ ท่านั่งที่ถูกต้องคือนั่งลึกให้เต็มเก้าอี้และหลังพิงพนัก ใช้หมอนหนุนหลังและเก้าอี้ตัวเล็กรองที่เท้า ลุกขึ้นยืนยืดแขนขา เปลี่ยนอิริยาบถในขณะทำงานบ้าง ก็จะช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
อุปกรณ์ต้องสะอาด : หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์และรอบๆ บริเวณคอมพิวเตอร์เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
สุขภาพที่ต้องใส่ใจ : การเพ่งจอคอมพิวเตอร์นานๆ จะทำให้เกิดความเครียดเพราะสมองต้องทำงานหนัก ทางที่ดีควรหยุดพักบ้างหรือทำงานอย่างอื่นไปด้วย เพื่อลดระยะเวลาทำงานกับคอมพิวเตอร์ให้น้อยลงนอกจากนี้ต้องเอาใจใส่สุขภาพโดยการกินอาหารให้เป็นเวลา ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำและพักผ่อนให้เพียงพอด้วย
นอกเหนือจากคอมพิวเตอร์แล้ว คุณแม่ก็ไม่ควรนั่งหน้าจอโทรทัศน์เป็นเวลานานเช่นกัน เพราะนอกจากผลกระทบดังที่กล่าวมาแล้ว การนั่งดูโทรทัศน์เป็นเวลานานจะทำให้ปวดเมื่อยร่างกายและอ้วนง่าย เพราะเพลิดเพลินไปกับการดูและการกินขนมจุบจิบในเวลาเดียวกันด้วยค่ะ
2. มือถือ …ใครว่าไม่อันตราย
คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือถือเป็นเวลานานในช่วงตั้งครรภ์เนื่องจากในขณะที่ใช้งานโทรศัพท์มือถือจะมีรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (รังสีไมโครเวฟ) ออกมา โดยคลื่นความร้อนนี้สามารถทำลายเซลล์ประสาทและเซลล์ตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์ ส่งผลให้ทารกเป็น โรคต้อกระจก ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ สมาธิสั้น พัฒนาการล่าช้า และยังเป็นสาเหตุของโรคเนื้องอกในสมองของคุณแม่อีกด้วย
หากมีความจำเป็นที่ต้องคุยโทรศัพท์มือถือบ่อยๆ ควรจำกัดระยะเวลาการใช้งานไม่ให้นานจนเกินไป ให้รีบวางโทรศัพท์ทันทีเมื่อรู้สึกปวดหัว แสบร้อนที่หูหรือผิวหนังบริเวณที่ถือโทรศัพท์ ควรใช้สมอลทอร์คแทนการ
ใช้โทรศัพท์แนบหูจะปลอดภัยกว่า เพราะคลื่นจะพุ่งเข้าสู่โทรศัพท์ไม่ได้เข้าสู่ผู้ใช้โดยตรง
สำหรับคุณแม่ที่มีลูกแล้วก็ไม่ควรให้เด็กใช้โทรศัพท์มือถือก่อนอายุ 9 ขวบ เนื่องจากระบบประสาทของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ คลื่นความร้อนอาจเข้าไปทำลายสมองและส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก ทั้งทางด้านการ
ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง นิสัยใจคอและการพูดจาด้วย
3. เครื่องถ่ายเอกสาร ...ปลอดภัยไว้ก่อน
เครื่องถ่ายเอกสารเป็นอุปกรณ์สำนักงานอีกหนึ่งอย่างที่ไม่ควรมองข้ามความปลอดภัยในการใช้งาน เพราะการใช้งานเครื่องถ่ายเอกสารบ่อย ๆ หรือแม้แต่การนั่งทำงานใกล้เครื่องถ่ายเอกสารนั้น จะทำให้ร่างกายได้รับอันตรายจากรังสีและสารเคมีที่แผ่ออกมาจากเครื่องโดยที่ไม่รู้ตัว ถ้าไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดการสะสมในร่างกายและเป็นสาเหตุให้แท้งได้
รังสียูวี : ในการถ่ายเอกสารทุกครั้งควรปิดแผ่นบังแสง เพื่อป้องกันการได้รับรังสียูวีจากแสงที่แผ่ออกมาจากหลอดไฟเป็นเวลานานหรือในปริมาณมาก ซึ่งจะทำให้ระคายเคือง เกิดการอักเสบของกระจกตาหรือเกิดผื่นคัน ตามผิวหนัง
ผงหมึก: ในหมึกของเครื่องถ่ายเอกสารระบบแห้งจะมีส่วนผสมของผงคาร์บอนและเรซิน ส่วนผงหมึกของเครื่องถ่ายเอกสารระบบเปียกจะละลายในสารละลายอินทรีย์พวกปิโตรเลียม หากหายใจผงหมึกเข้าไป
ในปริมาณมากจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ ไอ จาม และทำให้เกิดความผิดปกติต่อทารกด้วย
ก๊าซโอโซน : เกิดจากการอัดตัวและปล่อยประจุไฟฟ้าที่ลูกกลิ้ง กระดาษ และเมื่อมีการปล่อยแสงยูวีในขณะที่ถ่ายเอกสาร ทำให้ระคายตา จมูก หายใจสั้น วิงเวียนมีอาการล้า โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอาการของโรค
ทางเดินหายใจ อย่างหอบหืดอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงก๊าซโอโซนเป็นอย่างมาก
เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องถ่ายเอกสารบ่อยๆ ไม่นั่งทำงานใกล้กับเครื่องถ่ายเอกสาร ใส่ผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันฝุ่นจากผงหมึก และอย่าลืมล้างมือให้สะอาดหลังการใช้งานทุกครั้งเพื่อไม่ให้มีผงหมึก
หรือสารเคมีติดที่มือ หากเผลอไปหยิบจับอาหารหรือขนมแล้วกินเข้าไป จะทำให้เกิดการสะสมของสารเคมีและเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ค่ะ
4. ไมโครเวฟ ...อุ่นอาหารอย่างไร ให้อุ่นใจ
การอุ่นหรือปรุงอาหารด้วยไมโครเวฟถึงแม้จะสะดวกและรวดเร็วก็ตามแต่หากกินอาหารที่อุ่นด้วยไมโครเวฟ บ่อยๆ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการได้รับรังสีไมโครเวฟที่ออกมาในขณะที่อุ่นอาหารสะสมในร่างกาย
เป็นสาเหตุให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ประสาทและเซลล์ตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่จึงต้องใช้ไมโครเวฟอย่างระมัดระวังและการกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ย่อมมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าอาหารที่อุ่นจากไมโครเวฟ
ภาชนะ : เลือกภาชนะใส่อาหารที่จะนำเข้าไมโครเวฟให้เหมาะสม เช่น ชามแก้วทนไฟ ชามกระเบื้อง ภาชนะไม้ ห้ามใช้ภาชนะโลหะ ภาชนะกระเบื้องที่มีขอบสีเงินหรือทอง ภาชนะพลาสติกที่ไม่ทนความร้อน รวมถึง
ไม่ควรใช้ไมโครเวฟอุ่นนมในขวดนมด้วย
อาหาร : เลือกปรับอุณหภูมิปานกลางในการอุ่นอาหาร หรืออ่านบนฉลากอาหารก่อนทุกครั้ง ไม่ควรใช้อุณหภูมิที่สูงจนเกินไป เพราะจะทำให้มีการซึมของสารฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อร่
างกายได้ และควรใช้ฝาชีหรือพลาสติกทนความร้อนครอบอาหาร (โดยไม่ต้องปิดฝาแน่น) จะช่วยกรองรังสีไมโครเวฟได้ในระดับหนึ่ง
ข้อควรระวัง :   ไม่ควรให้ดวงตาแนบกับฝาตู้ หรือจ้องมองภายในเครื่อง (โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งคุณแม่ต้องระวังไม่ให้จ้องมองระหว่างการอุ่นอาหาร) ปิดฝาตู้ให้สนิท เพื่อไม่ให้มีคลื่นไมโครเวฟรั่วออกมาระหว่างใช้งาน
ไม่ควรนำอาหารที่มีผิวมันหรือมีเปลือกแข็งทำให้สุกโดยไมโครเวฟ เพราะความร้อนจะทำให้อากาศภายในอาหารขยายตัวและไอน้ำที่เกิดขึ้นจะมีแรงดันสูง จนเกิดการระเบิดได้ ควรใช้ส้อมจิ้มที่ผิวหรือเปลือกอาหาร
ให้เป็นรูก่อน เพื่อป้องกันการปะทุที่เกิดจากความร้อนภายใน
5. เครื่องเล่น MP3 ...ดังไป นานไป ไม่ดีนะ
การฟังเพลงในช่วงที่ตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ดีเพราะจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย โดยเฉพาะการฟังจากเครื่องเล่น MP3 เพราะพกพาได้สะดวก ฟังที่ไหนก็ได้ แต่ควรฟังในระดับเสียงและระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อการได้ยินของคุณแม่เอง และไม่กระทบต่อไปยังเส้นประสาทด้านการได้ยินเสียงของทารกด้วย
ระดับเสียงที่ฟัง : ไม่ควรเปิดเสียงในระดับที่ดังจนเกินไป ซึ่งระดับเสียงที่ทำให้เกิดอันตราย คือ ระดับเสียงที่ดังมากกว่า 85 เดซิเบล หากใช้หูฟังแบบเสียบหูก็ไม่ควรตั้งระดับความดังของเสียงเกิน 60 เปอร์เซ็นต์ของระดับเสียงทั้งหมด และไม่ควรดังเกิน 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้หูฟังแบบครอบศีรษะ นอกจากนี้ ควรรักษาระดับเสียงที่เปิดให้คงที่ ไม่ควรเพิ่มระดับให้ดังขึ้นเรื่อย ๆ ตามสภาพแวดล้อม เพราะจะเป็นสาเหตุให้การได้ยินเสียงบกพร่องมากขึ้น อีกทั้งเสียงที่ดังมาก ๆ ยังเป็นอันตรายต่อเซลล์รับคลื่นเสียงทำให้เกิดความบกพร่องด้านการได้ยินของทารกอย่างถาวรได้

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2988&sub_id=41&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด