เตรียมตัวก่อนเป็นแม่ กับวัคซีนที่ควรรู้ก่อนตั้งครรภ์


1,352 ผู้ชม


สำหรับการเป็นคุณแม่มือใหม่นั้นเรื่องการตั้งครรภ์ เพื่อให้ลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลกอย่างแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บตามมาดูจะเป็นเรื่องยาก แต่หนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณกับลูกในท้องปลอดภัยได้ คือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ตามมา         สำหรับการเป็นคุณแม่มือใหม่นั้นเรื่องการตั้งครรภ์ เพื่อให้ลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลกอย่างแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บตามมาดูจะเป็นเรื่องยาก แต่หนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณกับลูกในท้องปลอดภัยได้ คือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ตามมา 

สำหรับวัคซีนนั้นไม่ได้มีความจำเป็นสำหรับเด็กๆ เท่านั้น

แต่ยังมีความจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ด้วย เพราะผู้ใหญ่ที่มีการติดเชื้อจะเกิดโรคที่รุนแรง และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าดังนั้นทุกคนควรได้รับวัคซีนที่จำเป็นครบถ้วนตามกำหนด โดยเฉพาะผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์

วัคซีนเป็นสารที่กระตุ้นให้ร่างกายของคนเราสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดโรคที่รุนแรง และมีโอกาสเสียชีวิตได้ การได้รับวัคซีนที่จำเป็นก่อนเริ่มตั้งครรภ์จึงสามารถป้องกันการติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์ได้ และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ดังนั้นเมื่อเริ่มวางแผนตั้งครรภ์จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวัคซีนแต่ละชนิดที่มีความจำเป็น และควรรับวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์
วัคซีนมี 3 ประเภท
  • วัคซีนประเภทท็อกซอยด์ (toxoid vaccines) เป็นวัคซีนที่ผลิตจากพิษของเชื้อโรคที่ทำให้หมดฤทธิ์ในการก่อให้เกิดโรคแล้ว แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ เช่น วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก
  • วัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccines) เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อโรคที่ตายแล้วทั้งตัว หรือเชื้อตายบางส่วน เช่น วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันโรคไอกรน วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด และวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
  • วัคซีนเชื้อเป็น (live vaccines) เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อโรคที่นำมาทำให้มีฤทธิ์อ่อนลง จนไม่ก่อให้เกิดโรค แต่ยังสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ เช่น วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน คางทูม และวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
วัคซีนจำเป็นสำหรับหญิงเตรียมตั้งครรภ์
วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม และอีสุกอีใส วัคซีนชนิดนี้มีความสำคัญมากต่อผู้หญิงที่เตรียมตัวจะตั้งครรภ์ และควรได้รับวัคซีนนี้ก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือน ก่อนตั้งครรภ์ เพราะถ้าเกิดการติดเชื้อเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์ได้ เช่น

  • วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยฉีดกระตุ้นปีละครั้ง สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนชนิดนี้ และอยู่ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดวัคซีนชนิดนี้ในขณะตั้งครรภ์ เพราะถ้าติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์อาจเกิดอันตรายและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โดยวัคซีนชนิดนี้สามารถฉีดได้อย่างปลอดภัยเนื่องจากเป็นวัคซีนชนิดตาย จึงไม่ก่อให้เกิดโรคได้เอง สามารถฉีดได้อย่างปลอดภัยทั้งในขณะที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร และพบว่าทารกที่คลอดออกมา จะได้รับภูมิคุ้มกันชนิดนี้ติดตัวมาด้วยอย่างน้อยในช่วง 6-12 เดือนแรกหลังคลอด
  • วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก ในผู้ที่ติดเชื้อบาดทะยัก อาจทำให้เกิดการทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติไป ส่วนผู้ที่ติดเชื้อคอตีบ จะทำให้บริเวณลำคอด้านหลังเป็นแผ่นหนาตัวขึ้นเกิดการหายใจลำบาก และสำหรับผู้ที่ติดเชื้อไอกรน หรือที่รู้จักกันว่า “whooping cough” จะเกิดอาการไอที่รุนแรงติดต่อกันหลายครั้ง ดังนั้นทุกคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นตอนปลาย (อายุประมาณ 19 ปี) ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไมเกรน และบาดทะยัก (Tdap/Td vaccine) โดยมีชนิดที่สามารถให้รวมกันในเข็มเดียวได้ และควรฉีดกระตุ้นซ้ำในทุกๆ 10 ปี สำหรับผู้หญิงที่เตรียมจะตั้งครรภ์ สามารถฉีดกระตุ้นอย่างน้อย 1 เดือนก่อนเริ่มตั้งครรภ์ หรืออาจฉีดกระตุ้นในขณะตั้งครรภ์ได้ แต่ควรฉีดหลังจากอายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ไปแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายกับทารกในครรภ์
  • วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ปกติวัคซีนชนิดนี้จะถูกแนะนำให้ฉีดในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 9-26 ปี ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้ในขณะตั้งครรภ์ เพราะถึงแม้ว่าวัคซีนชนิดนี้จะไม่ใช่วัคซีนเชื้อเป็น แต่ยังขาดข้อมูลเรื่องความปลอดภัยจากการใช้ในขณะตั้งครรภ์ และควรฉีดวัคซีนให้ครบ 3 เข็ม โดยเข็มที่ 1 ฉีดตามที่กำหนด เข็มที่ 2 ห่างจากการฉีดเข็มแรก 1-2 เดือน
    และเข็มที่ 3 ห่างจากการฉีดเข็มแรก 6 เดือน สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกก่อนเริ่มตั้งครรภ์ ควรรอฉีดเข็มที่เหลือภายหลังจากคลอดไปแล้ว
  • วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอจะขับเชื้อออกมาทางอุจจาระ และติดต่อไปยังผู้อื่นโดยปนเปื้อนผ่านทางอาหารและน้ำดื่ม ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการไข้ อาเจียน อ่อนเพลียเบื่ออาหาร ปวดท้อง ตับโต ตาเหลือง และตัวเหลือง นอกจากนี้ในแม่ที่ตั้งครรภ์และติดเชื้อนี้จะสามารถแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ ดังนั้นในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้อาจพิจารณาให้วัคซีนชนิดนี้ในขณะที่ตั้งครรภ์ได้ เพราะเป็นวัคซีนเชื้อตาย
  • วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อาจทำให้เกิดโรคตับอักเสบเฉียบพลัน และอาจเกิดตับวายได้ หรือบางคนอาจกลายเป็นพาหะของโรค และต่อมาอาจกลายเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับในที่สุด เชื้อชนิดนี้ติดต่อไปยังผู้อื่นโดยผ่านทางเลือด การมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยา หรือของมีคมร่วมกัน เชื้อนี้สามารถติดจากแม่สู่ลูกได้ในขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นในหญิงที่ตั้งครรภ์การตรวจเลือดสามารถทราบว่าเป็นพาหะของเชื้อโรคนี้หรือไม่ และอาจพิจารณาได้ว่าควรได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่
  • วัคซีนป้องกันโรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส นิวโมคอคคัสเป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคปอดบวม (pneumonia) และโรคอื่นๆ เช่น โรคหูชั้นกลางอักเสบ (otitis media) และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ควรได้รับวัคซีนป้องกัน สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ โดยปกติแล้วควรได้รับวัคซีนชนิดนี้ก่อนเริ่มตั้งครรภ์ แต่อาจพิจารณาให้ในขณะตั้งครรภ์ได้ถ้าพบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อชนิดนี้ หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อชนิดนี้ โดยถ้าจำเป็นต้องฉีดวัคซีน ควรให้หลังจากอายุครรภ์เกินไตรมาสแรก (3 เดือนแรก) ไปแล้ว เนื่องจากยังมีข้อมูลจำกัดในเรื่องความปลอดภัยจากการฉีดวัคซีนชนิดนี้

วัคซีนอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่อาจพิจารณาให้ก่อนเริ่มตั้งครรภ์ โดยเฉพาะถ้าพบว่าผู้หญิงที่จะตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค หรือหากเกิดโรคแล้วอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ วัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์ และวัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี เป็นต้น

ผลข้างเคียง
โดยทั่วไปแล้ว วัคซีนแต่ละชนิดจะมีความปลอดภัย และเกิดผลข้างเคียงน้อยมาก ที่พบได้ก็อย่างเช่น การเกิดรอยแดงบวมเล็กน้อยในบริเวณที่ฉีดวัคซีน อาจมีไข้ต่ำๆ หรือเกิดผื่นชนิดไม่รุนแรง หรือมีอาการปวดศีรษะ รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย

สิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติม

  • วัคซีนแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของขนาดที่ใช้ จำนวนครั้ง และวิธีการให้วัคซีน ซึ่งอาจจะให้โดยการหยอดรับประทาน หรือการฉีดทั้งแบบเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
  • หลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว ร่างกายคนเราต้องใช้เวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ จึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และไม่ควรได้รับวัคซีนที่ผลิตหรือมีส่วนประกอบจากไข่
  • ในขณะตั้งครรภ์ ถ้าไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม หรือโรคอีสุกอีใสมาก่อน ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิด หรือพบปะกับผู้ที่กำลังติดเชื้อเหล่านี้ แต่เมื่อพบว่าคนรอบข้างกำลังเป็นโรคอีสุกอีใส ควรแจ้งให้แพทย์ทราบโดยด่วน แพทย์อาจพิจารณาให้ยา varicella zoster immune globulin ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่สามารถออกฤทธิ์ต้านเชื้อได้ทันที แต่ควรให้ภายใน 96 ชั่วโมง หลังจากติดเชื้อแล้วเท่านั้น
  • วัคซีนบางชนิดไม่สามารถให้ได้ในขณะตั้งครรภ์ เช่น วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส คอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก ดังนั้นภายหลังจากคลอดแล้ว คุณแม่ควรได้รับวัคซีนที่จำเป็นให้ครบถ้วน
  • บางท่านอาจเคยได้รับวัคซีนบางชนิดมาแล้ว หรือเคยติดเชื้อมาแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าร่างกายมีภูมิคุ้มกันหรือไม่ การฉีดวัคซีนซ้ำไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด แค่เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แต่สำหรับวัคซีนที่มีราคาค่อนข้างแพง อาจขอคำแนะนำจากแพทย์เพื่อเจาะเลือดตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายก่อน
สำหรับคุณแม่มือใหม่ เพื่อให้ลูกน้อยที่กำลังจะเกิดมาแข็งแรง
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2757&sub_id=41&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด