การไม่มีโรคถือว่าเป็นลาศอันประเสริฐของมนุษย์ แต่ถ้าคุณมีโรคประจำตัวแล้ว คุณก็ต้องดูแลตัวเอง ยิ่งถ้าคุณกำลังจะเตรียมตัวเป็นคุณแม่ โรคประจำตัวบางโรคอาจส่งไปถึงลูกในครรภ์ของคุณได้ง่าย ดังนั้นคุณจึงต้องปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด
สำหรับการตั้งครรภ์และการคลอดลูกเป็นเรื่องที่อันตรายทั้งสิ้น ไม่ว่าคุณแม่นั้นจะมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงขนาดไหนก็ตามที โรคประจำตัวบางโรคก็ส่งผลเสียทั้งคุณและลูกในท้องได้ ดังนั้น คุณจึงควรตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์เป็นการดีที่สุด เพราะถ้าหากคุณยิ่งไม่มั่นใจว่าตัวคุณเองมีโรคประจำตัวหรือเปล่า ปล่อยให้ตัวเองตั้งครรภ์โดยไม่ไปพบแพทย์ทั้งคุณและลูก ก็อาจจะได้รับอันตรายได้ง่าย แล้วโรคอะไรบ้างที่คุณควรทราบไปดูกันค่ะ |
โรคหัวใจ คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดหรือเป็นโรคหัวใจที่มาเกิด ขึ้นภายหลังล้วนแล้วแต่เสี่ยงอันตรายทั้งนั้น เพียงแต่ว่าความเสี่ยงอาจจะไม่เท่ากัน คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจที่มีลิ้นหัวใจรั่ว ต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจที่มีความดันโลหิตในหลอดเลือดของปอดสูงด้วย กรณีเหล่านี้ถ้าปล่อยให้มีการตั้งครรภ์ต่อไป คุณแม่อาจจะเสียชีวิต จากหัวใจล้มเหลวได้ เมื่อมีการตั้งครรภ์ปริมาณเลือดในร่างกายของคุณแม่จะเพิ่มขึ้น หัวใจต้องทำงานบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกายมากขึ้น แต่สภาพของหัวใจที่ไม่ดีพอจะทำงานไม่ได้ เกิดภาวะหัวใจ ล้มเหลวจนเสียชีวิตได้ คุณแม่ที่ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น คุณแม่ที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ปัญหาที่ต้องระวังเพิ่มเติมก็คือยาที่รับประทาน อาจผ่านรกไปทำให้ทารกในครรภ์พิการได้ ถ้าคุณหมอตรวจพบคุณแม่ที่มีโรคหัวใจที่รุนแรงตั้งแต่ตั้งครรภ์ใหม่ๆ จะแนะนำให้คุณแม่ทำแท้ง เพราะเกรงว่าถ้าปล่อยให้ตั้งครรภ์ไปเรื่อยๆ หัวใจของคุณแม่จะทำงานไม่ไหวจนเป็นอันตรายถึงชีวิต สำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจที่ไม่ค่อยรุนแรง เช่น มีผนังกั้นระหว่างห้องหัวใจรั่วถึงกัน ถ้ารูรั่วไม่กว้างมาก คุณแม่ไม่มีอาการเหนื่อยมาก คุณหมอก็อาจจะยอมให้ตั้งครรภ์ต่อไป แต่ก็ต้องอยู่ในการดูแลอย่างใกล้ชิดครับ อ่านมาแค่นี้คุณแม่บางคนก็อยากจะหัวใจวายแล้วใช่ไหมครับ เพราะดูมันน่ากลัวจังเลย แต่อย่างไรก็ตามผมอยากจะเรียนคุณแม่ว่ามันน่ากลัวจริงอย่างที่รู้สึกนั่นแหละ |
โรคเบาหวาน คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานมาก่อนที่จะตั้งครรภ์ ควร จะได้รับการตรวจระดับน้ำตาลและให้การควบคุมระดับน้ำตาลโดยคุณหมอจนดีเสีย ก่อนจึงตั้งครรภ์ มิฉะนั้นเมื่อมีการตั้งครรภ์ทั้งๆที่ยังควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ดี ลูกในท้องของคุณแม่ก็อาจจะมีปัญหาได้มากมาย ตั้งแต่มีความพิการ ของอวัยวะต่างๆ คลอดก่อนกำหนดทารกมีขนาดใหญ่กว่าปกติในกรณีที่คุณแม่เป็น โรคเบาหวานในระดับ ที่ไม่รุนแรงมาก หรือทารกมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติ ในกรณีที่คุณแม่เป็นโรคเบาหวานที่รุนแรงหรือเป็นมานาน ทารกบางคนคลอดออกมาแล้วเสียชีวิตภายหลังคลอดไม่นานเพราะปอดไม่ยอมทำงาน ส่วนตัวคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานเองก็อาจจะมีปัญหาจากโรคเบาหวานได้หลายประการ เช่น มีการแท้งบุตร มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เกิดการช็อกจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อถึงเวลาคลอดก็เสี่ยงที่จะคลอดยากเพราะลูกตัวใหญ่ ตกเลือดหลังหลอด เป็นต้น |
โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง คุณแม่ที่มีโรคความดันโลหิตสูงอยู่ก่อนที่จะตั้งครรภ์ ควรที่จะได้รับการประเมินความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดจากความดันโลหิตที่สูงและให้การดูแลรักษาโดยแพทย์ให้ดีเสียก่อนที่จะตั้งครรภ์ คุณแม่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเรื้องรังมาก่อนที่จะตั้งครรภ์อาจมีปัญหา อื่นร่วมด้วย เช่น ไตวาย หัวใจล้มเหลว ถ้าคุณหมอตรวจ พบว่าปัญหาที่มีความรุนแรงมากอาจจะแนะนำ ไม่ให้ตั้งครรภ์เลยก็ได้ เพราะถ้าปล่อยให้ตั้งครรภ์มีโอกาสเสียชีวิตได้ บางรายคุมกำเนิดไม่ดีมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ถ้าคุณหมอตรวจพบตั้งแต่ตั้งครรภ์อ่อนๆ ก็มักจะแนะนำให้ทำแท้ง ในกรณีที่คุณแม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง แต่คุณหมอสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี ก็อาจจะยอมให้คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ได้ อย่างไรก็ตามการ ตั้งครรภ์ของคุณแม่กลุ่มนี้ก็ต้องได้รับการดูแลโดยคุณหมออย่างใกล้ชิดเพราะ อาจมีปัญหาเกิดขึ้นหลายประการเมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป เช่น คุณแม่อาจเกิดการแท้งเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษซ้ำเติมทำให้ความดันโลหิตมากยิ่งขึ้นและอาจจะรุนแรงจน เกิดการชักเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนตัวลูกในครรภ์ก็มีปัญหาได้ไม่น้อย เช่น มีการเจริญเติบโตช้าหรือตาย ในครรภ์ เป็นต้น |
โรคไทรอยด์เป็นพิษ คุณแม่ที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษมาตั้งแต่ก่อนจะตั้งครรภ์ เมื่อคิดจะตั้งครรภ์ต้องให้คุณหมอรักษาโรคให้อยู่ในระยะสงบเสียก่อน ซึ่งการรักษามีให้หลายวิธี เช่น การรักษาโดยการใช้ยาควบคุมการผ่าตัด หรือการกลืนแร่รังสี การจะรักษาด้วยวิธีใดคุณหมอจะพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียและเลือกวิธีที่ดีที่ สุดสำหรับคุณแม่ ถ้าคุณปล่อยให้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นในขณะที่การควบคุมโรคก็ยังทำไม่ได้ดี อาจก่อปัญหาต่อการตั้งครรภ์ของคุณแม่หลายประการ เช่น แท้ง การคลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ และทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ เป็นต้น |
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย โรคเลือดจางธาลัสซีเมียเป็นโรคที่ถ่ายทอดมาทางกรรมพันธุ์คนที่เป็นโรคนี้จะมี เม็ดเลือดแดงที่มีคุณภาพไม่ดี กล่าวคือมีขนาดเล็ก แตกง่าย และอายุการทำงานสั้น อย่างไรก็ตามโรคนี้มีแบ่งย่อยออกได้เป็นอีกนับร้อยชนิด แต่ละชนิดมีความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน บางคนเป็นโรคแต่แทบไม่มีอาการของโรคให้เห็นเลย ในขณะที่บางคนมีอาการรุนแรงมากจนตายตั้งแต่แรกเกิดหรือตั้งแต่เป็นเด็กเลย คุณแม่จำนวนไม่น้อยเลยที่ไม่มีอาการแสดงอะไร แต่เมื่อเจาะเลือดแล้วพบว่า เป็นโรคนี้ ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นโรคชนิดที่ไม่ร้ายแรงหรือไม่เป็นโรคชัดเจนแต่มีลักษณะ ทางพันธุกรรมที่ผิดปกติของโรคนี้อยู่ ซึ่งทางการแพทย์จะเรียกคุณแม่กลุ่มนี้ว่าเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย เพราะไม่มีอาการของโรคแต่สามารถส่งผ่านลักษณะที่ผิดปกตินี้ไปให้ลูกในครรภ์ ได้ ถ้าสามีของคุณแม่ได้รับการตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นพาหะของโรคเหมือนกัน ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2681&sub_id=41&ref_main_id=11 |