อาหารควรทาน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์


1,084 ผู้ชม


สำหรับการทานอาหารของคุณแม่ในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์ ย่อมมีผลกับลูกน้อยมาก ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรเลือกที่จะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเหมาะทั้งคุณแม่และคุณลูกเพื่อที่จะให้คุณกับลูกได้รับสารอาหารได้อย่างเพียงพอ         สำหรับการทานอาหารของคุณแม่ในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์ ย่อมมีผลกับลูกน้อยมาก ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรเลือกที่จะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเหมาะทั้งคุณแม่และคุณลูกเพื่อที่จะให้คุณกับลูกได้รับสารอาหารได้อย่างเพียงพอ 

สิ่งสำคัญของการตั้งครรภ์ก็คือ การทานอาหาร มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อทารกในครรภ์ เพราะเมื่อคุณแม่รับประทานอะไรเข้าไป ทารกก็ย่อมได้รับสารอาหารนั้นไปด้วย คุณแม่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และพยายามเลี่ยงอาหารที่อาจจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วย นอกจากนี้ยังควรเพิ่มสารอาหารบางชนิดที่มีความจำเป็นพิเศษเข้าไปด้วย 

โปรตีน 
โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ มีส่วนสำคัญในการสร้างเนื้อเยื่อให้กับทารกในครรภ์ ช่วยในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต ทารกที่ได้รับโปรตีนตลอดการตั้งครรภ์อย่างพอเพียงเมื่อคลอดออกมาทารกจะมีร่างกายที่แข็งแรง ตัวยาวสมส่วน ฉะนั้นในช่วง 3 เดือนแรกจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่จะต้องได้รับโปรตีนอย่างพอเพียง เพราะในช่วงไตรมาสนี้ เป็นช่วงที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย นอกจากนี้โปรตีนยังมีคุณประโยชน์ต่อตัวคุณแม่ คือช่วยให้มดลูกและเต้านมเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ 
แหล่งโปรตีนพบมากใน เนื้อ นม เนย ไข่ และถั่ว แต่ทว่าเนื้อปลาจะเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุด เพราะมีปริมาณไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ คุณแม่ควรได้รับโปรตีนอย่างน้อย 60 กรัมต่อวัน 
แคลเซียม 
แคลเซียม ถือเป็นแร่ธาตุ ที่มีความสำคัญต่อการสร้างกระดูก และฟันของทารกในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ร่างกายมีความต้องการแคลเซียม 1,000 -1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งมากกว่าคนปกติ ทั้งนี้เพราะแคลเซียมมีส่วนในการช่วยสร้างเสริมกระดูกและฟันของทารก และป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนสำหรับแม่ด้วย หญิงตั้งครรภ์จึงมีความต้องการแคลเซียมมากกว่าคนปกติ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 2 
แหล่งอาหารที่มีแคลเซียมได้แก่ นม และเนยแข็ง นมสด ปลาไส้ตัน ปลากรอบตัวเล็กตัวน้อยที่ทานได้ทั้งกระดูก ถั่ว และ งา เป็นต้น 
โฟเลต 
โฟเลต ถือเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างสมอง ไตรมาสแรก โฟเลตมีความจำเป็นมาก เพราะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนกำลังเจริญเติบโต แคลเซียมมีส่วนในการเสริมสร้างเซลล์สมอง มารดาควรได้รับโฟเลตอย่างน้อย 600 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อป้องกันความเสี่ยงโรคสมองพิการแต่กำเนิด เพราะมีรายงานการวิจัยว่ามารดาที่ขาดโฟเลตขณะตั้งครรภ์ โอกาสที่ทารกจะคลอดออกมามีสมองพิการค่อนข้างสูง 
โฟเลต พบมากในอาหารจำพวกเมล็ดถั่ว ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำผลไม้ โดยเฉพาะน้ำส้ม และอาหารอื่นๆ ที่เสริมด้วยโฟเลต ล้วนเป็นแหล่งอาหารที่ดีทั้งสิ้น อยากแนะนำให้ผู้หญิงที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์รับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูงทุกวัน นอกจากนี้โฟเลตยังมีความสำคัญไปตลอดการตั้งครรภ์ เพราะจะเป็นตัวช่วยสร้างเม็ดเลือดให้คุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วย 
ธาตุเหล็ก 
เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง ที่มีความจำเป็นต่อฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญในเม็ดเลือดแดง โดยเป็นตัวพาออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อและทารกในครรภ์ ถ้าร่างกายคุณมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอจะนำไปสู่การเป็นโรคโลหิตจาง (Anemia) ซึ่งทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หายใจไม่สะดวก 
ธาตุเหล็กพบมากใน เนื้อแดง เนื้อปลา ไข่ ผักใบเขียว เช่น ใบขี้เหล็ก ใบตำลึง ใบชะพลู ผักขม ถั่ว เส้น และผลไม้อบแห้งทั่วไป
แอลกอฮอล์ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะแอลกอฮอล์มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ คือ มีผลต่อสมองทำให้สมองพิการ 
คาเฟอีน คาเฟอีนพบปริมาณมากในกาแฟ ชา น้ำอัดลม และขนมบางชนิด เช่น ช็อกโกแลต ซึ่งถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับคาเฟอีนในปริมาณสูงต่อวัน คาเฟอีนจะส่งผลต่อทารกคือ ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ บางประเทศมีการรณรงค์ไม่ให้คนท้องทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือทานให้น้อยกว่าประมาณ 600 มิลลิกรัมต่อวัน (กาแฟ 1 ถ้วยมีปริมาณคาเฟอีน ประมาณ 60 มิลลิกรัม) 
อาหารดิบ ถึงแม้จะยังไม่มีข้อมูลยืนยันถึงอันตรายของอาหารดิบ แต่พบว่าอาหารดิบทุกชนิดนั้นอาจจะทำให้คุณแม่ติดเชื้อจากอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน ซึ่งจะยังมีเชื้อโรคอยู่ ตัวอย่างอาหารดิบ เช่น หอย กุ้ง ไข่ลวก เหล่านี้เป็นต้น 
อาหารรสหวาน อาหารที่มีรสหวานและมีไขมันมาก คุณแม่ควรเลี่ยงเพราะจะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลต่อวันมาก อาจจะทำให้เกิดโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์และมีผลต่อทารก คือ ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ ทำให้คลอดยาก มีผลต่อระบบหายใจของทารกและมีแนวโน้มที่ทารกที่คลอดออกมาจะเป็นเบาหวานเมื่อโตขึ้น ดังนั้นคุณแม่ควรพยายามควบคุมระดับน้ำตาลระหว่างตั้งครรภ์ด้วยค่ะ 

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณและลูกน้อยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ตั้งแต่ 3 เดือนแรกจนถึงทารกลืมตาดูโลก คุณแม่ก็ไม่ควรละเลยกับอาหารเหล่านี้น่ะค่ะ

 
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2665&sub_id=44&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด