คุณแม่ใกล้คลอดมักกังวลเรื่องการคลอด ว่าจะปลอดภัยแค่ไหน จะเจ็บหรือไม่ ลูกจะมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงหรือเปล่า คำถามเล่านี้มักสร้างความกังวลสำหรับคุณแม่มือใหม่
คุณแม่ใกล้คลอดมักกังวลเรื่องการคลอด ว่าจะปลอดภัยแค่ไหน จะเจ็บหรือไม่ ลูกจะมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงหรือเปล่า เรื่องเหล่านี้จึงเป็นคำถามท็อปฮิตที่คุณแม่สอบถามคุณหมอที่ดูแลครรภ์ จนได้คำตอบที่ช่วยคลายความความวิตกกังวลลงได้ นั่นทำให้คุณๆ สบายใจจนลืมถามต่อไปว่า แล้วหลังคลอดจะต้องเจอกับอะไรบ้าง |
เรื่องแรกที่คุณแม่ต้องเผชิญก็คือการเจ็บแผลค่ะ โดยเฉพาะแผลผ่าตัด เรื่องนี้คุณแม่ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าแผลผ่าตัดจะเจ็บน้อยกว่าและหายเร็วกว่า แต่ความเป็นจริงคือ แผลผ่าตัดมักใช้ระยะเวลาการพักพื้นเพื่อคืนสู่สภาพเดิมนานกว่าค่ะ แต่ไม่ว่าจะคลอดด้วยวิธีไหน ก็ต้องดูแลรักษาความสะอาดให้ดี ซึ่งเรื่องนี้คุณหมอ - พยาบาล ผู้ทำคลอดก็จะให้คำแนะนำวิธีการดูแลความสะอาดแผล รวมทั้งการรับประทานยาให้ คุณแม่ต้องจดจำและทำตามอย่างครบถ้วนนะคะ |
นอกจากเจ็บปวดที่แผลแล้วคุณแม่จะมีอาการปวดมดลูกร่วมด้วย เพราะมดลูกที่เคยขยายเพื่อโอบอุ้มตัวลูกไว้นั้น จะบีบตัวเพื่อลดขนาดลงสู่สภาพเดิม ทำให้เกิดอาการปวดคล้ายปวดประจำเดือน คุณแม่มักจะมีอาการเช่นนี้อยู่ 2 - 3 วัน แต่บางครั้งในเวลาที่ให้ลูกดูดนม ก็อาจมีอาการปวดมดลูกขึ้นมาได้ ซึ่งอาการนี้มักไม่เป็นอันตรายค่ะ |
หลังคลอดสองวันแรกน้ำคาวปลาจะมีสีแดงสด ออกมาประมาณหนึ่งเท่าของรอบเดือน วันที่สามและสี่ น้ำคาวปลาจะลดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อไหร่จะหมดล่ะ? คำตอบคือ ประมาณ 14 วันค่ะ แต่สำหรับคุณแม่บางท่าน อาจจะนานมากกว่านั้น แต่ไม่ควรจะเกิน 21 วันนะคะ สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูก ร่างกายจะหลั่งสารอ๊อกซิโทซินออกมา ซึ่งสารนี้จะมีส่วนช่วยลดปริมาณของน้ำคาวปลาและช่วยให้มดลูกหดตัวเร็วขึ้นด้วยค่ะ |
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการท้องผูก อาจต้องเผชิญกับการท้องผูกต่อไปอีกระยะ ควรรับประทานผักและผลไม้ให้มากๆ และดื่มน้ำสะอดเยอะๆ หากมีอาการท้องผูกมาก ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ ไม่ควรหายาระบายมารับประทานเอง โดยเฉพาะคุณแม่ที่ให้นมลูก เพราะยาอาจมีผลต่อลูกได้ค่ะ |
เป็นอาการที่พบได้บ่อยสำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณแม่มักมีอาการเจ็บหัวนมในช่วงที่ให้นมลูก บางคนอาจเกิดแผลที่หัวนมได้ ซึ่งวิธีแก้ไขก็คือคือการปรับท่าดูดนมของลูกให้เหมาะสมค่ะ การดูดนมที่ถูกต้องลุกต้องดูดนมจนถึงลานหัวนมทั้งด้านบนและด้านล่าง และควรให้ลูกดูดนมสลับกันทั้งสองข้าง โดยเริ่มจากข้างละ 5 นาที ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาต่อการดูดแต่ละข้างให้นานขึ้น การให้นมในท่าที่ถูกต้องจะช่วยลดอาการเจ็บหัวนมได้ แต่ถ้าเกิดหัวนมแตกก็ควรทาครีมลาโนลีนเพิ่มความชุ่มชื่นค่ะ อ้อ...ทาแล้วอย่าลืมทำความสะอาดหัวนมเมื่อจะให้ลูกดูดนมมื้อต่อไปนะคะ |
เรื่องนี้เดิมทีไม่ค่อยได้รับความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ซักเท่าไหร่ทั้งที่มีสถิติระบุไว้ว่าประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของคุณแม่หลังคลอด จะมีอาการซึมเศร้า ที่มาจากคามเครียด ความกังวลใจทั้งเรื่องการเลี้ยงลูก การปรับตัวสู่บทบาทการเป็นแม่ ความเหนื่อยล้าสะสม น่าดีใจที่โดยทั่วไปอาการซึมเศร้ามักอยู่กับคุณแม่ไม่นาน คุณอาจรู้สึกห่อเหี่ยวอย่างบอกไม่ถูกอยู่ 2 - 3 วัน แล้วเจ้าความรู้สึกนี้จะค่อยๆ ลดลง และหายไปภายใน 7 - 10 วัน คุณแม่บางคนอาจมีอาการนี้ก่อนคลอด แต่ส่วนใหญ่มักจะมีอาการหลังคลอด 2 - 5 วัน ว่ากันว่าการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ ตัวอย่างเช่น กล้วยสุก ที่มีกรดอะมิโนทริปโตเฟนในปริมาณสูง เจ้ากรดอะมิโนทริปโตเฟนในกล้วยนี้ เมื่อคุณแม่รับประทานเข้าไป จะถูกเปลี่ยนเป็นสารซีโรโทนินที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย และอารมณ์ดีขึ้น แต่ก็ต้องรับประทานอาหารอย่างอื่นให้ได้สารอาหารครบถ้วนด้วยนะคะ จะได้มีร่างกายที่แข็งแรงควบคู่กับจิตใจที่แจ่มใส พร้อมที่จะดูแลเจ้าตัวเล็กที่กำลังเติบโตขึ้นทุกๆ วันค่ะ |
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2294&sub_id=46&ref_main_id=11