8 พัฒนาการแรก เวลามหัศจรรย์วัยเบบี๋


687 ผู้ชม


ขวบปีแรก เป็นช่วงเวลาแห่งความมหัศจรรย์ของวัยเบบี๋ค่ะ เพราะเจ้าตัวน้อยจะมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เจ้าหนูได้สัมผัสกับประสบการณ์          ขวบปีแรก เป็นช่วงเวลาแห่งความมหัศจรรย์ของวัยเบบี๋ค่ะ เพราะเจ้าตัวน้อยจะมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เจ้าหนูได้สัมผัสกับประสบการณ์ "แรก" 

ขวบปีแรก เป็นช่วงเวลาแห่งความมหัศจรรย์ของวัยเบบี๋ค่ะ เพราะเจ้าตัวน้อยจะมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เจ้าหนูได้สัมผัสกับประสบการณ์ "แรก" ในหลาย ๆ ด้านที่สอดคล้องกับการเติบโตของตัวเอง ซึ่งสร้างความตื่นเต้นทั้งกับเจ้าหนูเองและเหล่าบรรดาพ่อแม่มือใหม่ไม่น้อย
รอยยิ้มแรก
แม่มือใหม่หลายคนออกอาการเป็นปลื้ม เมื่อเห็นเจ้าตัวเล็กวัยไม่กี่วันยิ้มแย้มให้ การยิ้มตอบทักทายของลูก แท้ที่จริงแล้วไม่ได้มาจากการที่ลูกจำคุณได้หรือกำลังอิ่มเอมเปรมปรีดิ์กับสิ่งใด เพราะที่มาของรอยยิ้มนั้นเกิดจากการที่กล้ามเนื้อใบหน้าหดตัวหรือกล้ามเนื้อกระตุกนั่นเอง
ขณะที่ยิ้มแรกของลูกที่สื่อความหมายจริง ๆ จะเกิดขึ้นตอนอายุ 1-2 เดือน เมื่อลูกได้ยินเสียงที่คุ้นเคย พึงพอใจกับสิ่งใด กระทั่งกลิ่นนมของแม่ที่เจ้าตัวเล็กจำได้ก็เรียกรอยยิ้มได้เหมือนกันค่ะ
คว่ำได้หงายเอง
แล้วก็ได้เวลาที่เจ้าตัวน้อยจะเห็นโลกในมุมที่ต่างไปจากเดิม หลังจากที่นอนหงาย สอดส่าย สายตาไปทางไหนก็มองเห็นแต่หลอดไฟ โมบายและเพดานห้องมากกว่า 4 เดือน เจ้าหนูเริ่มมีกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวที่แข็งแรงพอจะตะแคงตัว เคลื่อนไหวด้วยตัวเองได้บ้างแล้ว หลังจากพยายามตะแคงตัวไปทางซ้าย ไปทางขวา ในที่สุดก็สามารถพลิกคว่ำได้สำเร็จ และเห็นโลกในมุมกลับ
คืบ เริ่มเคลื่อนไหว
หลังจากพลิกได้หงายสำเร็จแล้ว เป็นช่วงเวลาที่เจ้าตัวน้อยกำลังพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยเฉพาะลำตัว ท้องและหลัง รวมไปถึงแขนขาด้วย ลูกจึงมีการเคลื่อนไหวแขนขาอย่างอิสระ รวมถึงการคืบตัวไปข้างหน้าหรือถอยหลัง เป็นการส่งสัญญาณถึงพัฒนาการที่ก้าวหน้าไปอีกขั้นในวัย 5 เดือน
คลานอย่างอิสระ
เจ้าตัวเล็กเริ่มหัดเรียนรู้การทำงานประสานกันระหว่างมือ เข่า และเท้าทั้งสองข้างคลานไปมาตั้งแต่วัย 6 เดือน และคลานได้อย่างคล่องแคล่วในเดือนที่ 8 เจ้าหนูแต่ละคนจะมีรูปแบบการคลานที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นคลานถอยหลัง คลานเป็นวงกลม คลานไปด้านข้างเหมือนปูหรือคลานโหย่งๆ คล้ายแมงมุม เห็นแล้วอดอมยิ้มไม่ได้เลยทีเดียว จนกระทั่งคลานได้คล่องทีนี้แหละค่ะ ลูกจะคลานแบบสปีดไม่ตกเลยทีเดียว
นั่งแล้วจ้า
เผลอแป๊บเดียว 6 เดือนเข้าให้แล้ว นี่เป็นอีกช่วงเวลาสำคัญของลูก เจ้าตัวเล็กจะพยายามนั่งด้วยตัวเอง แต่ช่วยนี้อาจต้องใช้ตัวช่วยสักนิด เพราะลูกกำลังเรียนรู้เรื่องการทรงตัวและการจัดสมดุลร่างกายตัวเองอยู่ กว่าที่กล้ามเนื้อหลังและท้องจะแข็งแรงจนลูกนั่งได้เอง ก็เมื่อย่างเข้าสู่เดือนที่ 7 ที่ลูกจะนั่งได้นานและมีความมั่นใจกับการนั่งด้วยตัวเองมากขึ้น
ยืน ยืน ยืน!
แน่นอนว่า ด้วยวัย 10 เดือนของเจ้าตัวเล็ก กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ แข็งแรงมากขึ้น จากคืบเป็นคลาน และจากคลานก็เริ่มเรียนรู้ที่จะเกาะยืนด้วยตัวเองได้แล้ว แม้จะยังยืนได้ไม่มั่นคงในช่วงแรก เนื่องจากยังทรงตัวไม่ได้ดี เห็นแบบนี้แม่ๆ คงดีใจไม่น้อย ส่วนเจ้าตัวเล็กเองก็ตื่นเต้นไข่ย่อย เพราะสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ในมุมที่สูงขึ้น
ก้าวแรกของหนู
นับเป็นพัฒนาการที่น่าตื่นตามาก ๆ เมื่อลูกรักได้สัมผัสกับก้าวแรกของตัวเอง หลังจากที่ลุ้นกันมาตลอดจนในวัยขวบปีแรก เจ้าตัวเล็กก็เดินได้สมใจ พร้อมกับมุมมองใหม่ ๆ ที่สูงกว่าเดิมระดับสายตาของเจ้าหนูจะเปลี่ยนไป แม้ช่วงแรกอาจจะยังรักษาสมดุลของร่างกายไม่ได้มีหกล้มหกลุกบ้าง ก็นับเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อก้าวไปสู่อีกขั้น จนถึงวันที่เจ้าตัวเล็กมีความมั่นใจกับการก้าวเดินและทรงตัวได้อย่างมั่นคง
คำแรก
แม้ไม่ใช่เสียงแรก เพราะเจ้าหนูคุยกับตัวเองและสื่อสารกับคนใกล้ชิดผ่านการเล่นน้ำลายอ้อแอ้ และเสียอืออามาเป็นระยะเวลาหลายเดือน และสามารถพูดเป็นคำที่มีความหมายได้ ตอนครบ 1 ปีพอดี คำแรกของเจ้าหนูมักเป็นคำพยางค์เดียว เช่น มะ หม่ำๆ เท่านี้ที่ว่าปลาบปลื้มแล้ว ก็ยังไม่เท่าเมื่อลูกเปล่งเสียงออกมาว่า "แม่" หรือ "พ่อ" จริงไหมคะ
คงไม่มีอะไรชื่นใจพ่อแม่ได้เท่ากับการได้เห็นพัฒนาการของลูกรัก ซึ่งเขาจะมีพัฒนาการได้ดีมากน้อยแค่ไหนคุณคือคนสำคัญค่ะ อยู่ใกล้ชิดกับเขาให้มาก เล่นกับเขา คุยกับเขา ลูกก็จะยิ่งมีพัฒนาการได้เร็วและดียิ่งขึ้นค่ะ
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2200&sub_id=41&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด