10 เรื่องที่ต้องใส่ใจหลังคลอด


1,552 ผู้ชม


หลังคลอดมีเรื่องต่าง ๆ มากมายที่คุณแม่คนใหม่ต้องรับมือ ทั้งเรื่องการดูแลทารก การปรับตัวรับบทบาทใหม่ของการเป็นแม่ลูกอ่อน แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยก็คือเรื่องการดูแลตัวเองค่ะ         หลังคลอดมีเรื่องต่าง ๆ มากมายที่คุณแม่คนใหม่ต้องรับมือ ทั้งเรื่องการดูแลทารก การปรับตัวรับบทบาทใหม่ของการเป็นแม่ลูกอ่อน แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยก็คือเรื่องการดูแลตัวเองค่ะ 
หลังคลอดมีเรื่องต่าง ๆ มากมายที่คุณแม่คนใหม่ต้องรับมือ ทั้งเรื่องการดูแลทารก การปรับตัวรับบทบาทใหม่ของการเป็นแม่ลูกอ่อน แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยก็คือเรื่องการดูแลตัวเองค่ะ กองสาธารณสุขสำนักงานอนามัย กรุงเทพมหานคร แนะนำ 10 เรื่องที่คุณแม่หลังคลอดต้องใส่ใจไว้ ดังนี้
พักผ่อนมาก ๆ โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรก โดยตอนกลางคืนควรได้นอน 6-8 ชั่วโมง หลังอาหารกลางวันควรได้พักผ่อนซักครึ่งชั่วโมงค่ะ และภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอดห้ามยกของหนัก ๆ เพราะอาจกระทบกระเทืยนอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานอย่างมดลูกได้
ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และย่อยง่าย ทั้งเนื้อ นม ไข่ ผักสด และผลไม้ ไม่ควรรับประทานอาหารรสจัด ของหมักดอง ควรดื่มน้ำเปล่า และรับประทานผัก ผลไม้มาก ๆ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยหลังคลอด 12 - 24 ชั่วโมง ก็สามารถอาบน้ำได้แล้วค่ะ แต่ไม่ควรแช่น้ำในอ่าง และหมั่นเปลี่ยนเสื้อผ้าที่สวมใส่ เพราะช่วงหลังคลอดคุณแม่มักมีเหงื่อออกง่าย ส่วนเสื้อชั้นในที่เปื้อนน้ำนมก็ควรเปลี่ยนค่ะ
ทำความสะอาดอวัยวะเพศให้สะอาดทุกครั้งหลังขับถ่าย ในช่วงที่ยังมีน้ำคาวปลาไหลออกมาอยู่ ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่มดลูก จนเกิดการอักเสบติดเชื้อได้
ดูแลแผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัดให้สะอาดเสมอ
ดูแลเต้านมและหัวนมด้วยการทำความสะอาดทุกครั้งที่อาบน้ำและหลังจากให้นมลูก ถ้ามีอาการเต้านมคัด ควรบีบน้ำนมออกบ้าง และใช้น้ำเย็นประคบบริเวณเต้านมเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ถ้าเต้านมคัดมาก ทำอย่างไรก็ไม่หาย อาจเกิดจากอาการเต้านมอักเสบควรปรึกษาแพทย์
งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการฉีกขาดของช่องคลอด
คุณแม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มักมีประจำเดือนภายใน 5-6 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประจำเดือนจะมาช้ากว่า
หลังคลอด 1 เดือน ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายดูว่าอวัยวะต่าง ๆ กลับเข้าสู่สภาวะปกติหรือยัง พร้อมกันนี้ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการคุมกำเนิดด้วย เพราะบางครั้งการตั้งครรภ์ใหม่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงที่ประจำเดือนของคุณยังไม่มา
หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายกับตัวคุณได้ และ
  •  มีไข้ หนาวสั่น
  • น้ำคาวปลาผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็นมาก น้ำคาวปลาไม่เดิน หรือไหลออกมาเป็นเลือดสด ๆ
  • เต้านมบวม ช้ำ แดง อักเสบ หัวนมแตกเป็นแผล
  • ปวดท้องน้อย ปัสสาวะบ่อย มีอาการขัดเบา

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2185&sub_id=46&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด