แม่อายุมากไม่ใช่ปัจจัยลูก down’s syndrome เสมอไป


1,058 ผู้ชม


Down’s syndrome ดาวน์ซินโดรม         Down’s syndrome ดาวน์ซินโดรม 
 
 
โรค Down's syndrome จะว่าไปภาษาชาวบ้านเราก็บอกว่าแล้วแต่บุญแต่กรรม เพราะบางรายประวัติทางพันธุกรรมไม่มีใครเป็นโรคนี้แต่ลูกกลับเป็น  บางราย ได้ยินมาแล้วเหมือนกัน ไม่ใช่รายเดียว  หมอที่บอกกับคนไข้ว่าลูกในท้องน่ะอาจจะมีแนวโน้มหรืออาการของ Down syndrome ทั้ง ๆ ทีหมอก็ไม่รู้แน่นอน ท้ายสุดแม่ ๆ เค้ามาเล่าให้ฟังว่าถ้าหลงเชื่อหมอนะ ป่านนี้คงต้องเสียใจไปจนตาย เพราะลูกเค้าที่หมอเคยบอกว่าอาจจะมีอาการของ Down syndrome น่ะ ได้คลอดออกมาอย่างปรกติทุกประการ แถมยังเป็นเด็กที่แข็งแรง, ฉลาดและเรียนเก่งด้วย
 
 
 
มีการป้องกันหรือไม่
กลุ่มอาการดาวน์นี้สามารถป้องกันได้โดยการวินิจฉัยก่อนคลอด ปัจจุบันมักทำกันในหญิงตั้งครรภ์ที่อัตราเสี่ยงสูง  โดยแพทย์สามารถเจาะน้ำคร่ำมาตรวจดูโครโมโซมของเด็กในครรภ์ว่าผิดปกติหรือไม่ หากพบความผิดปกติคู่สามีภรรยาอาจเลือกยุติการตั้งครรภ์ได้ ก่อนพิจารณาทำการวินิจฉัยก่อนคลอดควรปรึกษาแพทย์เสมอ

การให้คำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์
เป็นสิ่งจำเป็นแก่พ่อแม่ที่มีลูกปัญญาอ่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาการดาวน์ เพราะพบได้บ่อยที่สุดโดยมีอุบัติการของโรคประมาณ 1 ต่อ 1,000 เป็นการให้ความรู้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคที่ลูกของท่านเป็น ตลอดจนการดูแลรักษาและความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่บุตรของท่าควรได้รับ เพื่อเขาจะได้พัฒนาและมีศักยภาพที่ดีที่สุดที่จะเป็นไปได้
 
สาเหตุของความพิการทางสติปัญญา  
สาเหตุของความพิการทางสติปัญญามี 3 ประการ คือ
1. กรรมพันธุ์ (genetic factor) 
2. ชีวภาพ (biological factor) 
3. สิ่งแวดล้อม (environmental factor) 
1. สาเหตุจากกรรมพันธุ์ เป็นความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดมาแต่กำเนิดทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญา ร่วมกับความ
พิการทางกาย สาเหตุทางกรรมพันธุ์พบไม่เกินร้อยละ 40 ของสาเหตุความพิการทางสติปัญญา และมีหลายประเภท ความพิการทางสติปัญญา ที่เกิดจากกรรมพันธุ์ ได้แก่ ดาวน์ซินโดรม ( down syndrome) เป็นโรคที่พบบ่อย บุคคลประเภทนี้มีความพิการทางสติปัญญาหรือปัญญาอ่อนตั้งแต่ระดับปานกลาง ถึงขนาดหนัก ซึ่งพบบ่อยในมารดาที่อายุเกิน 45 ปีขึ้นไป และพบได้มากกว่ามารดาที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี 
2. สาเหตุทางชีวภาพ 
ได้แก่สาเหตุที่เกิดจากสิ่งต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อชีวิตคนเราเป็นผลให้สมองหยุดชะงักซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการเจริญเติบโตในระยะใดระยะหนึ่ง เช่น ขณะที่กำลังตั้งครรภ์ ขณะคลอด และขณะหลังคลอด 
 
2.1 ขณะตั้งครรภ์ สาเหตุของความพิการทางสติปัญญาในขณะตั้งครรภ์ได้แก่ 
   2.1.1 สุขภาพมารดาไม่ดี มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคโลหิตจาง 
             โรคขาดสารอาหาร ฯลฯ สุขภาพของมารดาเป็นสิ่งสำคัญในขณะตั้งครรภ์ โรคแทรกระหว่าง 
             ตั้งครรภ์มักจะทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด และมีโอกาสพิการทางสติปัญญาได้
   2.1.2 มารดาติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ เช่น เชื้อหัดเยอรมัน การติดเชื้อในระยะ 3เดือนแรก มักจะมีอันตราย 
            ต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์ เป็นสาเหตุของการเกิดความพิการทางสติปัญญาได้ เชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น 
            เชื้อซิฟิลิส ต้องรีบให้การรักษา เพราะผ่านจากมารดาไปสู่เด็กได้โดยทางกระแสโลหิต ทำให้เด็กเกิด
            อาการ ซิฟิลิสแต่กำเนิด และอาจทำให้คลอดก่อนกำหนด โรคนี้ป้องกันได้โดยตรวจเลือดของมารดา 
            ถ้าพบควรรีบรักษาให้ทันท่วงที
    2.1.3 มารดาได้รับสารพิษขณะตั้งครรภ์ เช่น ยาบางอย่างอาจทำให้เด็กที่อยู่ในครรภ์ เกิดความพิการได้ 
              ฉะนั้นมารดาควรระมัดระวังอย่างยิ่งในเรื่องการรับประทานยาเอง ควรหลีกเลี่ยงให้น้อยที่สุด 
              โดยเฉพาะยา จำพวกควินินหรือเตอร์ก๊อท ซึ่งมีฤทธิ์บีบมดลูกและขับเลือดซึ่งอาจทำให้แท้งได้ 
             ยารักษาโรคเบาหวานและยาจำพวกคอร์ติโซมในสัตว์ ทดลองพบว่าทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดได้ 
    2.1.4 ยาจำพวกสารเสพย์ติด เช่น กัญชา เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแท้งได้ นอกจากนี้มารดา 
              ควรหลีกเลี่ยงสารพิษจำพวกตะกั่ว สารหนู ซึ่งทำให้เกิดโรคสมองจากพิษตะกั่วได้ การป้องกัน
              อีกทางหนึ่งคือ ต้องไม่ให้เด็กเล่นของเล่นที่พ่นสีซึ่งมีตะกั่วผสมอยู่
   2.1.5 การสูบบุหรี่มาก ๆ หรือดื่มสุราเป็นประจำขณะตั้งครรภ์ เชื่อกันว่าจะทำให้เกิดการคลอดก่อน
             กำหนดหรือแท้งหรือมีความพิการแต่กำเนิด
   2.1.6 มารดาได้รับความกระทบกระเทือนขณะตั้งครรภ์ เช่น หกล้มก้นกระแทกแรง ๆ อาจแท้งได้อาจ
             มีรกบางหรือรกมีการลอกตัวทำให้เส้นโลหิตที่จะนำอาหารและออกซิเจน ไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ 
             ก่อให้เกิดความพิการทางสติปัญญาได้
   2.1.7 มารดาขาดสารอาหารที่มีคุณค่า โดยปกติในระยะหลังการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้น ไปเป็นระยะ
             ที่สมองทารกที่อยู่ในครรภ์กำลังเจริญเติบโต จึงต้องการอาหารที่มีคุณค่าไปบำรุงเลี้ยงสมอง
             โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีน มารดาที่ตั้งครรภ์ควรจะต้องรับประทานเป็น 2 - 3 เท่าของ
             คนปกติ ถ้ามารดาสุขภาพไม่ดีและอดอาหารเหล่านี้จะทำให้เซลล์สมองทารกหยุดการแบ่งตัว
             เป็นผลให้มี สติปัญญาด้อยกว่าปกติ
   2.1.8 การขาดแร่ธาตุ เช่น ธาตุเหล็ก ทำให้เกิดโลหิตจาง ร่างกายและสมองเจริญเติบโตช้า การขาดวิตามิน 
            โดยเฉพาะกรดนิโคตินิค (nicotenic acid) อาจทำให้พิการทางสติปัญญาได้ การขาดวิตามินบี 6 
            อาจทำให้ ทารกเกิดการชักและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าต่ำมากถึง 40 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะทำให้
            เกิดความพิการ ทางสติปัญญาหรือปัญญาอ่อนได้
2.2 ขณะคลอด ทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญาได้โดย
   2.2.1 การคลอดที่ผิดปกติ การคลอดก่อนกำหนด ถ้าคลอดก่อนตั้งครรภ์ 37 วัน เด็กแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัว
             ต่ำกว่า 1,500 กรัม ซึ่งเกิดความผิดปกติทั้งทางร่างกายและสมอง เป็นผลให้มีความพิการทาง
             สติปัญญา หรือโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ได้ เช่น เด็กที่เป็นอัมพาตเนื่องจากสมองพิการ 
             (cerebral palsy) มีความผิดปกติทางการพูด การได้ยิน และการฟัง ยิ่งน้ำหนักตัวแรกเกิด
             น้อยยิ่งมีโอกาสที่สมองจะถูกทำลายได้
   2.2.2 การคลอดเกินกำหนด จะทำให้คลอดยากและลำบาก อาจทำให้สมองขาดออกซิเจนได้เพราะ
             สมองเด็กถูกกดอยู่นานเกินไป
   2.2.3 รกเกาะต่ำและลอกตัวก่อนกำหนด ทำให้มีการเสียเลือดมากและสมองขาดออกซิเจน
   2.2.4 มารดาที่ได้รับยากล่อมประสาท หรือยาระงับความเจ็บปวดที่ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ จะทำ
             ให้สมองของทารกขาดออกซิเจน หายใจไม่สะดวก ซึ่งเกิดขึ้นขณะคลอด
2.3 ขณะหลังคลอด ทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญาได้โดย
   2.3.1 เด็กขาดสารอาหารที่มีคุณค่า โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีนซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริม
             สร้างเซลล์สมอง ทำให้สมองเหี่ยวและตายไป เกิดความพิการทางสติปัญญาได้         
             ดังนั้นในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปีควรจะได้รับอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
   2.3.2 เด็กขาดภูมิคุ้มกันโรค ถ้าสุขภาพไม่ดี อาจติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายหลังคลอด เช่น เชื้อวัณโรค นิวมอเนีย 
             เชื้อไวรัส อาจลุกลามขึ้นสมองทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเนื้อสมองอักเสบหรือเป็นฝีในสมอง
การให้ภูมิคุ้มกันโรค เช่น วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ และฝีดาษ ควรให้ในระยะที่เหมาะสม เช่นไม่ควรให้ในขณะที่เด็กกำลังเป็นไข้ หรือมีแผลพุพองตามตัว จะทำให้ลุกลามขึ้นสมอง เป็นผลให้สมองอักเสบได้
   2.3.3 สมองเด็กได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ เช่น ตกจากที่สูง ๆ หรือถูกรถชน อาจทำให้
             กระโหลกศีรษะแตกร้าว มีเลือดออกในสมอง และมีก้อนเลือดกดเนื้อสมอง ทำให้เนื้อสมองถูกทำลาย
             กลายเป็นปัญญาอ่อนได้
   2.3.4 อาการตัวเหลืองในทารกแรกคลอด อาจเกิดขึ้นได้ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด จากภาวะนี้ทำให้มี
             ระดับนิสิรูบินในเลือดสูงเนื่องจากมีการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง พบได้บ่อยในพวกที่กลุ่มเลือด
             แม่กับลูกไม่พึงผสมผสารกัน ถ้าทารกมีตัวเหลืองในระยะ 3 วันหลังคลอดมักเกิดจากการติดเชื้อ เช่น 
             สายสะดือเน่า จะทำให้มีระดับนิสิรูบินในเลือดสูง การวินิจฉัยได้เร็ว และทำการถ่ายเลือดได้ทัน
             ท่วงทีจะช่วยลดอัตราการทำลายของสมองได้
   2.3.5 เนื้องอกของสมองและเส้นโลหิต ทำให้มีการกดเนื้อสมองและมีการทำลายสมองเกิดขึ้น เด็กอาจมี
             อาการชัก ทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญาได้
3. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม 
ในที่นี้หมายถึงสิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ในครอบครัวที่พ่อแม่มีฐานะยากจน ขาดการศึกษาไม่มีความรู้จะสอนลูกและกระตุ้นลูกทำให้เด็กขาดการเรียนรู้ จึงเป็นเด็กด้อยโอกาสเพราะขาดประสบการณ์ 
 
3.1 พิการทางสติปัญญาเนื่องจากขาดการกระตุ้นทางจิตใจและสังคม (psychosocial disadvantage)      เช่น ครอบครัวอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ห่างไกลวัฒนธรรมและสังคม พ� 

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2055&sub_id=43&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด