5 สิ่งรบกวนการนอนหลับของลูกในเวลากลางคืน


1,177 ผู้ชม


แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะฝึกลูกให้นอนหลับในเวลากลางคืนและควบคุมทั้งอากาศ เสียง แต่สิ่งที่จะรบกวนของลูกน้อยในยามหลับที่คุณจะต้องเตรียมรับมือยังมีอีกหลายเรื่องค่ะ         แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะฝึกลูกให้นอนหลับในเวลากลางคืนและควบคุมทั้งอากาศ เสียง แต่สิ่งที่จะรบกวนของลูกน้อยในยามหลับที่คุณจะต้องเตรียมรับมือยังมีอีกหลายเรื่องค่ะ 

วันนี้ลองมาทำความรู้จักกับปัจจัยอื่นๆ อีกค่ะ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้บางข้อคุณพ่อคุณแม่ต้องเจอแน่นอน ดังนั้นการเตรียมตัวรับไว้ล่วงหน้าย่อมจะดีกว่าค่ะ

1.การร้องในลักษณะโคลิก (Colic)
ในวงการแพทย์ในปัจจุบันยังไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการร้องไห้ของเด็กในลักษณะที่เรียกว่าโคลิกได้ค่ะ อาการโคลิกส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์จนถึง 2 เดือน โดยอาการคือ เด็กจะร้องไห้ซ้ำๆ ในช่วงเวลาเดิมๆ โดยมากจะเป็นช่วงเวลาเย็นๆ ใกล้ค่ำ หรือช่วงรอยต่อระหว่างกลางวันและกลางคืนค่ะ เด็กจะร้องไห้อย่างน่ากลัว งอเข่าเข้าหาลำตัว ไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้นแม้ว่าจะอุ้มหรือให้นม ส่วนใหญ่แล้วอาการโคลิกจะหายไปเองหลังจากเริ่มเป็นประมาณ 2 เดือนค่ะ หากพบว่าลูกมีอาการโคลิก การฝึกลูกให้เข้านอนด้วยตนเองอาจจะยากสักหน่อยค่ะ ควรที่จะรอให้อาการโคลิกหายไปก่อนค่ะ แล้วจึงค่อยฝึกลูกนะค่ะ โดยอาจจะพาแกเข้านอนก่อนเวลาที่แกจะร้องก็ได้ค่ะ ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อว่า โคลิกนั้นเกิดจากลมในท้องซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างวัน ดังนั้นการอุ้มพาดบ่าเพื่อให้เด็กได้เร่อ หรือนอนคว่ำพร้อมกับการลูบหลังลูกเพื่อบรรเทาอาการปวดก็อาจจะช่วยได้ค่ะ แต่หากให้นอนคว่ำก็ต้องระวังอย่าให้ลูกเผลอกดทับจมูกตัวเองจนหายใจไม่ออกนะค่ะ
2.ร้องไห้เพราะว่าปวดฟัน
ฟันที่กำลังเริ่มขึ้นนั้นสร้างความเจ็บปวดให้ลูกจนร้องไห้ตลอด ทำให้ลูกไม่สามารถนอนหลับได้ยาวในช่วงกลางคืน นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ต้องเตรียมรับมือค่ะ เพราะเมื่อฟันของลูกกำลังจะขึ้น คุณอาจจะเตรียมเจลสำหรับทาฟันที่กำลังขึ้นสำหรับเด็ก ซึ่งเมื่อทาแล้วเด็กจะรู้สึกชาเพื่อบรรเทาอาการปวด และให้เด็กนอนหลับในช่วงดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามควรที่จะปรึกษาคุณหมอก่อนนะค่ะ
3.นอนไม่หลับ ร้องไห้ตลอดเพราะลูกป่วย
การป่วยของลูก สามารถแบ่งเป็น ป่วยแบบเฉียบพลันกับป่วยเรื้อรังค่ะ การป่วยแบบเฉียบพลันเช่น เด็กเป็นไข้, ท้องเสีย แพ้อาหาร ฯลฯ ส่วนการป่วยแบบเรื้อรังได้แก่ เด็กที่เป็นโรคประจำตัวเช่น หอบ หืด แล้วอาการกำเริบค่ะ คุณควรที่จะสังเกตและเตรียมรับมือกับอาการป่วยของลูกไว้ให้พร้อมค่ะ
4.ร้องไห้เพราะแปลกที่ เมื่อต้องเดินทางหรือไปค้างคืนที่อื่น
การไปพักที่อื่นที่ไม่ใช่ห้องนอนที่เด็กคุ้นเคย อาจจะทำให้คืนนั้นเด็กนอนหลับได้ไม่นานนัก เนื่องจากยังไม่คุ้นเคย คุณพ่อคุณแม่อาจจะแก้ไขด้วยการนำที่นอน หรือสิ่งของที่ลูกติด หรือชอบให้มีเวลานอน (เด็กบางคนติดตุ๊กตา ติดหมอน ติดผ้าห่ม) ก็อาจจะนำสิ่งเหล่านี้ไปด้วยค่ะ
5.ร้องไห้เพราะว่าหิว
เนื่องจากว่าทารกที่อายุยังไม่ถึง 6 เดือน โดยมากมักจะตื่นมากลางดึกเพราะหิวค่ะ หลังจากให้นมยามดึก เด็กโดยมากก็สามารถนอนหลับต่อได้เองค่ะ แต่สำหรับเด็กบางคนที่อายุเกิน 6 เดือนไปแล้วก็ยังคงตื่นมากลางดึกเพื่อกินนม คงต้องมาดูละค่ะว่า เด็กร้องเพราะหิว หรือว่าเป็นเพราะความเคยชินกันแน่ หากคุณแน่ใจว่าลูกได้รับนมและอาหารอื่นๆ อย่างพอเพียงในเวลากลางวัน แต่ลูกยังคงร้องเพราะติดการทานนมในมื้อดึก ขอให้ลองลดปริมาณนมลง แต่หากว่าลูกไม่ยอมกินนมในตอลนกลางวัน แต่มาเน้นกินนมตอนกลางคืนแทน แสดงว่าระบบการกินของเขาไม่ปกติค่ะ ให้แก้ไขโดยให้ลูกกินน้ำเปล่า หรือผสมนมให้เจือจางในตอนกลางคืน ซึ่งจะทำให้ลูกหิวมากขึ้นในช่วงกลางวัน เมื่อให้นมในตอนกลางวันลูกจะทานนมมากขึ้นเองค่ะ
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2018&sub_id=41&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด