อย่าวางใจโรคปอดอักเสบ


756 ผู้ชม


ปอดอักเสบ หรือบางครั้งเรียกว่าปอดบวม ฟังดูแล้วไม่น่าจะเป็นโรคที่ร้ายแรง รักษาให้หายได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ถ้าพ่อแม่ชะล่าใจ แล้วปล่อยให้อาการหนัก อันตรายก็จะทบทวีทีเดียวค่ะ         ปอดอักเสบ หรือบางครั้งเรียกว่าปอดบวม ฟังดูแล้วไม่น่าจะเป็นโรคที่ร้ายแรง รักษาให้หายได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ถ้าพ่อแม่ชะล่าใจ แล้วปล่อยให้อาการหนัก อันตรายก็จะทบทวีทีเดียวค่ะ 

อย่าวางใจโรคปอดอักเสบ

 

ปอดอักเสบมาได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงทั้งสงสัยและประหลาดใจว่าทำไมลูกน้อยถึงเป็นโรคปอดอักเสบได้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้วิ่งตากฝน ไม่ได้นอนแช่น้ำนานๆ หรือไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคนี้

สาเหตุที่พบได้บ่อยคือเกิดจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียค่ะ ซึ่งเด็กๆ มีโอกาสติดได้ง่าย เพราะร่างกายยังมีภูมิต้านทานน้อยอยู่ เมื่อผ่านไปในสถานที่แออัด หรือใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ ก็อาจจะติดโรคมาได้โดยง่าย ยิ่งถ้าเด็กเล็กเกิดการติดเชื้อก็ยิ่งน่าเป็นห่วงค่ะ

 

เบบี้เป็นแสนอันตราย

การที่ลูกน้อยเป็นโรคปอดอักเสบ แล้วอาการรุนแรงเนื่องมาจาก ในเด็กเล็กจะมีท่อทางเดินหายใจเล็กกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งเพียงเสมหะปริมาณน้อย ก็สามารถทำให้ท่อทางเดินหายใจอุดตันได้ และทำให้เป็นปอดอักเสบได้ง่ายกว่าเด็กโตหรือผู้ใหญ่แล้วค่ะ

แต่อาการของโรคบางครั้งมักไม่แตกต่างกับไข้หวัด แต่จะมีอาการหอบ หายใจเหนื่อยร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงต้องรู้จักสังเกตนะคะ

 

เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว อาการเด่น

เนื่องจากอาการบางอย่างคล้ายคลึงกับไข้หวัด แต่จะมีอาการไอ หอบ และมีไข้ร่วมด้วย จึงต้องสังเกตจากการหายใจของลูกว่ามีความผิดปกติ หรือมีอาการเหนื่อยหอบร่วมด้วยหรือไม่ โดยอาการแรกที่สังเกตได้คือหายใจเร็ว

 

อายุ การหายใจ
อายุน้อยกว่า 2 เดือน หายใจเร็วมากกว่า หรือเท่ากับ 60 ครั้ง/นาที
อายุ 2 เดือน – 1 ปี หายใจเร็วมากกว่า หรือเท่ากับ 50 ครั้ง/นาที
อายุ 1 ปี – 5 ปี หายใจเร็วมากกว่า หรือเท่ากับ 40 ครั้ง/นาที

 

นอกจากนี้ในเด็กบางคนอาจมีอาการหายใจลำบาก หายใจอกบุ๋ม จมูกบาน ส่วนในรายที่เป็นมากจะพบว่ามีอาการริมฝีปากเขียวร่วมด้วย

 

ไวรัส แบคทีเรีย สาเหตุที่ตรวจได้

โดยทั่วไปขั้นต้นจะอาศัยประวัติ และการตรวจร่างกายเป็นหลัก จากนั้นจึงจะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจนับเม็ดเลือดและการตรวจภาพรังสีทรวงอก จะสามารถช่วยบอกได้ว่าเป็นไวรัสหรือแบคทีเรียได้

ซึ่งไวรัสจะตรวจจากสิ่งคัดหลั่งในจมูก ส่วนแบคทีเรียตรวจจากเสมหะของผู้ป่วยมาย้อมสีหรือเพาะเชื้อ เพื่อการรักษาที่เหมาะสม

วิธีรักษา

การรักษาแบ่งตามอาการ ดังนี้

1. อาการไม่รุนแรง เด็กๆ ที่เป็นกลุ่มนี้สามารถให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ โดยให้ยาปฏิชีวนะชนิดกิน ในกรณีที่สงสัยว่าเป็นจากเชื้อแบคทีเรีย ร่วมกับการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาขับเสมหะ ยาขยายหลอดลม ที่สำคัญให้ดื่มน้ำและพักผ่อนมากๆ ถ้ามีเสมหะครืดคราดควรเตรียมจัดท่าให้ลูกระบายเสมหะ และเคาะปอดอย่างถูกวิธี

2. อาการรุนแรง คือมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลว ได้แก่

2.1 อายุน้อยกว่า 2 เดือน หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ เป็นต้น

2.2 หอบเหนื่อย มีการหายใจอกบุ๋มมาก หรือ หยุดหายใจเป็นพักๆ

2.3 ภาวะขาดน้ำหรือไม่กินอาหาร

2.4 ซึม มีอาการแสดงของภาวะช็อก เช่น ชีพจรเต้นเบาสลับกับเต้นเร็ว ปลายมือ ปลายเท้าเขียว

เด็กๆ ที่เป็นกลุ่มนี้ คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถสังเกตอาการและให้การดูแลที่บ้านได้ ควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำและยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด ร่วมกับการให้ออกซิเจนและประเมินอาการอย่างใกล้ชิด

 

วิธีรักษาโรคปอด

1. การรักษาทั่วไป

1.1 การให้สารน้ำ ควรให้สารน้ำทดแทน โดยการกินหรือทางหลอดเลือดดำ

1.2 พยายามหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ หรือมลพิษในอากาศ เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองของทางเดินหายใจ ต่อมขับน้ำมูกทำงานมากกว่าปกติ

1.3 ส่งเสริมการไอและการระบายเสมหะที่คั่งค้างอย่างถูกวิธี สำหรับการจัดท่าระบายเสมหะและเคาะปอด ไม่จำเป็นต้องทำในเด็กทุกคนค่ แต่จะเลือกทำเฉพาะเด็กที่ฟังปอดแล้วพบว่ามีเสมหะคั่งค้างในหลอดลม และไม่สามารถไอออกมาได้ดี หรือมีปอดแฟบ

2. การรักษาตามอาการ

2.1 คุณหมอจะพิจารณาให้ออกซิเจนในกรณีต่อไปนี้

• หายใจเร็วกว่าเกณฑ์อายุ

• หอบจนผนังทรวงอกบุ๋ม

• กระวนกระวาย ซีด หรือซึมลง

• ตัวเขียว หรือวัดออกซิเจนได้น้อยกว่าร้อยละ 92

 

2.2 ให้ยาขยายหลอดลมในรายที่ฟังปอดได้ยินเสียงวี้ด (wheezing) และมีการตอบสนองดีต่อการให้ยาพ่นขยายหลอดลม

2.3 ยาละลายเสมหะ ในกรณีที่ให้สารน้ำเต็มที่แล้ว แต่เสมหะยังเหนียวอยู่

3. การรักษาจำเพาะ

ในเด็กรายที่เป็นปอดอักเสบไม่รุนแรง และคิดว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากเชื้อไวรัส ก็ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าในรายที่มีอาการรุนแรง หรือคิดว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสร่วมกับแบคทีเรีย ควรเลือกใช้ยาปฏิชีวนะให้ตรงกับเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุมากที่สุด ที่สำคัญไม่ควรให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อกว้างจนเกินไปนะคะ การเลือกชนิดของยาปฏิชีวนะต้องอาศัยข้อมูลจากตัวผู้ป่วย อายุ ผู้ใกล้ชิดที่นำเชื้อมาให้ รวมถึงข้อมูลของเชื้อที่กระจายตามฤดูกาลในชุมชนนั้นๆ ด้วยค่ะ

 

อากาศเปลี่ยน ลูกน้อยติดเชื้อง่ายขึ้น

ในสภาวะที่สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ฝนตก แดดออก อากาศชื้นแบบนี้ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาเชื้อโรคทั้งหลายค่ะ และถือเป็นสภาพอากาศที่มีความเหมาะสมกับการแพร่กระจายของเชื้อแต่ละชนิดได้ดี ซึ่งทำให้มีการระบาดของเชื้อได้ง่าย และอาจแวะไปทักทายลูกน้อย ให้เป็นโรคปอดอักเสบได้
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1526&sub_id=42&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด