เทคนิค บีบน้ำนมแม่ เก็บไว้ได้นาน


1,043 ผู้ชม


นมแม่คืออาหารที่ดีต่อสุขภาพลูกน้อยที่วุดนะคะ แต่คุณแม่หลังคลอดยุคใหม่ อาจไม่มีเวลาเลี้ยงดู ให้นมลูกด้วยตัวเองได้ตลอด เพราะอาจจะต้องไปทำงานนอกบ้าน การบีบน้ำนมเก็บสต๊อกไว้ให้ลูก เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้ค่ะ         นมแม่คืออาหารที่ดีต่อสุขภาพลูกน้อยที่วุดนะคะ แต่คุณแม่หลังคลอดยุคใหม่ อาจไม่มีเวลาเลี้ยงดู ให้นมลูกด้วยตัวเองได้ตลอด เพราะอาจจะต้องไปทำงานนอกบ้าน การบีบน้ำนมเก็บสต๊อกไว้ให้ลูก เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้ค่ะ 

คำแนะนำการบีบ เก็บ ถนอม น้ำนมแม่

ขั้นตอนการบีบน้ำนมจากเต้า
1. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ ก่อนการบีบและเก็บน้ำนมทุกครั้ง
2. นั่งในสิ่งแวดล้อมที่สงบ นั่งให้สบาย ผ่อนคลายจิตใจ ทำใจให้เป็นสุข จะช่วยให้น้ำนมหลั่งได้มาก
3. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านม ประมาณ 3-5 นาที ก่อนบีบ
4. กระตุ้นหัวนม โดยการใช้นิ้วมือดึง หรือคลึงหัวนม
5. วางหัวแม่มือไว้ที่ขอบลานหัวนม และนิ้วมืออีก 4 นิ้วใต้เต้านมที่ขอบลานหัวนม
6. กดนิ้วเข้ากระดูกทรวงอก แล้วบีบนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้ง 4 เข้าหากัน โดยเคลื่อนนิ้วหัวแม่มือมาทางด้านหน้าเล็กน้อย แต่ไม่ให้เลยขอบลานหัวนม
7. บีบเป็นจังหวะ ย้ายตำแหน่งที่วางนิ้วมือไปรอบๆ เต้านม เพื่อบีบน้ำนมออกให้หมดทุกแห่ง ทิ้งนมใน 2 ครั้งแรกที่บีบออกมาก่อน
8. บีบน้ำนมลงในขวดนมที่ต้มแล้ว หรือถุงพลาสติคที่สะอาด
9. บีบน้ำนมสลับข้างทุกๆ 5 นาที หรือเมื่อน้ำนมไหลช้า
10. เมื่อบีบเต้านมเสร็จ ให้บีบน้ำนมทาหัวนม ประมาณ 2-3 หยด แล้วปล่อยให้แห้ง

หมายเหตุ: ข้อ 3 – 5 ไม่จำเป็นต้องปฎิบัติ หากไม่มีปัญหาเต้านมคัด

การเก็บถนอมน้ำนมแม่
1. เมื่อเก็บน้ำนมเสร็จ ควรปิดภาชนะให้มิดชิด แช่เย็นในตู้เย็นทันที เขียนวันที่ เวลา ที่ข้างขวด หรือถุง
2. นมที่ไม่ใช้ภายใน 2 วัน ควรเก็บในช่องแช่แข็ง ไม่ควรเก็บที่ประตูตู้เย็น เพราะอุณหภูมิไม่คงที่
3. การส่งนมจากบ้านมาโรงพยาบาลต้องเก็บในกระติกน้ำแข็ง

ระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำนมแม่
วิธีการเก็บ ระยะเวลาที่เก็บได้
เก็บที่อุณหภูมิห้อง (>25 องศาเซลเซียส)  1 ชั่วโมง
เก็บที่อุณหภูมิห้อง (<25 องศาเซลเซียส)  4 ชั่วโมง
เก็บในกระติกน้ำแข็ง  1 วัน
เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา  2-3 วัน
เก็บที่ตู้เย็นแช่แข็ง (แบบประตูเดียว)  2 สัปดาห์
เก็บที่ตู้เย็นแช่แข็ง (แบบประตูแยก)  3 เดือน

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจะช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้น
1. เมื่อเริ่มต้นบีบน้ำนม 1-2 นาที ขอให้คุณแม่ใจเย็นและบีบเป็นจังหวะช้าๆ
2. การบีบที่หัวนม ทำให้เจ็บและน้ำนมไม่ไหล เพราะเป็นการบีบท่อให้ตีบ น้ำนมไหลไม่ดี
3. ฝึกหัดทำสักระยะ จะค่อยๆ เก่งขึ้นเรื่อยๆ

การนำน้ำนมแม่ที่แช่เย็นมาใช้
1. นมแม่ที่เก็บในช่องธรรมดา ให้นำมาวางไว้นอกตู้เย็น หรือแช่ในน้ำอุ่น เพื่อให้หายเย็น ห้ามอุ่นในน้ำร้อนจัด หรือเข้าไมโครเวฟ เพราะภูมิต้านทานในนมแม่จะสูญเสียไป
2. นำนมเก่าในช่องแช่แข็งมาใช้ก่อน โดยนำมาไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา 1 คืน ให้ละลายตัว 3. นมแช่แข็งที่ละลายแล้ว ไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก
4. นมที่ละลายแล้ว วางที่อุณหภูมิห้องนานเกิน 1 ชั่วโมง ให้ทิ้งไป ไม่เก็บไว้กินต่อ

น้ำนมมารดา เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับทารกที่สุด มีสารอาหารครบถ้วน ประหยัด สะอาด ปลอดภัย


ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1261&sub_id=46&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด