แม่ท้อง vs ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่


876 ผู้ชม


เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เริ่มตรวจพบในเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 เคยมีรายงานอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงไว้ในปี ค.ศ. 1918-1919 และปี ค.ศ. 1957-1958...         เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เริ่มตรวจพบในเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 เคยมีรายงานอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงไว้ในปี ค.ศ. 1918-1919 และปี ค.ศ. 1957-1958... 
รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รักลูกได้เคยเสนอสกู๊ปพิเศษเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในฉบับเดือนมิถุนายน 2552 ไปแล้ว แต่ยังมีแม่ท้องหลายๆ คนที่ทั้งกังวลใจและต้องการความชัดเจน หมอเลยขอนำมาพูดในฉบับนี้ครับ ในคุณแม่และทารกในครรภ์พบว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้นเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ที่ระบาด โดยมีรายงานที่โรงพยาบาล John Hopkins สหรัฐอเมริกา พบว่าจากคุณแม่ตั้งครรภ์ 1,350 ราย ที่รับไว้ในโรงพยาบาลเนื่องจากติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ เสียชีวิตถึงร้อยละ 27 และพบว่าร้อยละ 25-41 ของการตายนั้นเกิดขึ้นในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ (ไตรมาสที่ 2 และ 3) ด้วยครับ ผลข้างเคียงต่อแม่ตั้งครรภ์นอกจากนี้มีการรายงานผลข้างเคียงของการตั้งครรภ์ตามหลังการระบาดของไข้หวัดใหญ่ โดยมีอัตราการเพิ่มของการแท้ง และการคลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอาการปอดอักเสบ ซึ่งหลายรายงาน รวมทั้งการศึกษาจากระบาดวิทยาก็บ่งชี้ว่า การตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อมารดาและทารก รวมทั้งผลข้างเคียงจากการคลอด คุณแม่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มักจะมีอาการของการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เฉียบพลัน เช่น ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ อาการอื่นที่พบร่วม ได้แก่ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ เพลีย อาเจียน และท้องเสีย ซึ่งอาการป่วยจะเลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว ถ้าสงสัยว่าจะติดเชื้อในสตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ต้องได้รับการตรวจเชื้อว่าเป็นหรือไม่ การรักษาควรทำให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องรอผล Lab เนื่องจากการให้ยาต้านไวรัสยิ่งเร็วยิ่งได้ผลดี (โดยเฉพาะในช่วง 2 วันแรก) การตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ต้องใช้เวลาหลายวัน แพทย์ผู้ทำการรักษา จึงควรให้การรักษาในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการไข้หวัดใหญ่ได้เลย โดยเชื้อตัวนี้ยังตอบสนองต่อ Zanamivir (Relenga) และ Oseltamivir (Tamiflu) การใช้ยา การตั้งครรภ์ไม่ใช่ข้อบ่งห้ามในการใช้ยา Oseltamivir หรือ Zanamivir ซึ่งยาเหล่านี้ก็ถูกแนะนำให้ใช้ในคนไข้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ผลข้างเคียงจากยาในคนไข้ตั้งครรภ์ไม่มีรายงานชัดเจน โดยการรักษาสำหรับคนตั้งครรภ์คือการใช้ยา Oseltamivir ซึ่งจะแนะนำให้ใช้ 5 วัน โดยไม่ต้องรอผลการตรวจเชื้อไวรัส ควรเริ่มยาทันทีที่มีอาการของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งผลที่ได้จะมีประโยชน์มากถ้าเริ่มใช้ยาภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีอาการ อย่างไรก็ตามแม้เวลามากกว่า 48 ชั่วโมง โดยเฉพาะกลุ่มคนไข้ที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาล หากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สัมผัสอย่างใกล้ชิดกับคนที่สงสัย หรือมีการยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่นี้ อาจใช้ยา Oseltamivir วันละ 1 เม็ด เป็นเวลา 10 วัน อาการไข้สูง ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงเป็น 2 เท่าของความผิดปกติของการเจริญเติบโตของระบบประสาทในทารก และอาจพบความพิการแต่กำเนิดบางอย่างได้ การให้ยาแก้ไข้รวมทั้งวิตามินที่มี folic acid จะช่วยได้ โดยอาการไข้จะทำให้มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น อาการชัก สมองผิดปกติ จนถึงทารกตายในครรภ์ โดยเกิดจากอาการไข้ ซึ่งสามารถใช้ยากลุ่ม Paracetamol ได้ เชื้อจากแม่สู่ลูกได้หรือไม่ส่วนการติดต่อของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 จะผ่านจากแม่สู่ลูกได้หรือไม่ จวบจนปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าเชื้อนี้ผ่านจากแม่สู่ลูก แต่ในขณะที่ข่าวของแม่ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ และพบว่ามีการตรวจพบเชื้อไวรัสในลูก ก็ยังต้องการการตรวจยืนยันว่าลูกในครรภ์ติดเชื้อจริงหรือไม่ ซึ่งต้องอาศัยการตรวจ Hemaglutination Inhibition Antibodies โดยเจาะเลือดลูกส่งตรวจห่างกัน 2 สัปดาห์ หากผลที่ได้มีการเพิ่มของ titer ถึง 4 เท่า แสดงว่าทารกติดเชื้อจากมารดา ด้วยเหตุนี้เองคุณแม่อย่าเพิ่งกังวลใจนะครับว่าลูกน้อยในครรภ์จะมีโอกาสติดเชื้อนี้ได้การป้องกัน ในขณะที่ยังไม่มี Vaccine สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ การลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตัวนี้ สามารถทำได้ ดังนี้ 1. ล้างมือบ่อยๆ 2. ลดการติดต่อกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ 3. หากมีอาการไข้ ควรอยู่กับบ้าน (ยกเว้นในกรณีที่ต้องไปพบแพทย์) 4. ต้องระวังปิดปากเวลาไอ 5. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสตัวนี้ 6. ใช้หน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง เมื่อไหร่ต้องพบแพทย์ คุณแม่ที่คลอดบุตรแล้วสามารถให้นมได้ แต่ต้องระวังการสัมผัสกับลูก อาจให้คุณแม่บีบน้ำนมใส่ขวดแล้วให้ลูกดื่มได้ นอกจากนี้ยังไม่มีข้อห้ามในการใช้ยาในคนไข้ที่ให้นมบุตร อาการที่ต้องรีบมาพบแพทย์หากคุณแม่ตั้งครรภ์คือ 1. หายใจลำบาก และหายใจตื้นๆ 2. เจ็บหน้าอก หรือช่องท้อง 3. มีอาการงง หรือสับสน 4. อาเจียนรุนแรง 5. เด็กดิ้นน้อยลง 6. มีไข้สูง ไม่ตอบสนองต่อยา Tylenol สรุปแล้ว คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อย่าตื่นตระหนกกับโรคนี้ ควรใช้ชีวิตให้ระมัดระวัง เนื่องจากคนท้องเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการที่รุนแรงได้ ปฏิบัติตัวตามที่แนะนำข้างต้น และอย่ารีรอในการไปพบแพทย์ เมื่อมีอาการที่กล่าวมาแล้ว การได้รับการดูแลอย่างรวดเร็วและวินิจฉัยได้ถูกต้อง คุณแม่ก็ไม่ต้องเป็นห่วงสิ่งใด ได้อุ้มลูกน้อยสมใจแน่นอนครับ 
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=504&sub_id=43&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด