เทคโนโลยีช่วยมีลูก..ความสุขที่ต้องเสี่ยง !


1,002 ผู้ชม


เดี๋ยวนี้คนเราแต่งงานกันช้าค่ะ ทำให้กว่าจะเป็นว่าที่พ่อแม่ก็แทบจะเลยวัยเจริญพันธุ์ไปแล้ว ปัญหามีลูกยากก็เลยตามมา ส่งผลให้ต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้าช่วย         เดี๋ยวนี้คนเราแต่งงานกันช้าค่ะ ทำให้กว่าจะเป็นว่าที่พ่อแม่ก็แทบจะเลยวัยเจริญพันธุ์ไปแล้ว ปัญหามีลูกยากก็เลยตามมา ส่งผลให้ต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้าช่วย 

ตรงนี้ล่ะค่ะที่เป็นประเด็นถกเถียงกันของวงการแพทย์ทั่วโลกจากกรณีแฝด 8 ในสหรัฐฯ ถึงความพอดี วิธี ใครคือคนตัดสินใจ ความปลอดภัย และอีกสารพันคำถามถ้าคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังจะใช้เทคโนโลยีเป็นทางเลือกในการมีลูกล่ะก็ ตั้งแต่บรรทัดต่อไปนี้ ดิฉันอยากให้คุณอ่านค่ะ

1.มีลูกยากต้องมีสิทธิ์รู้และเลือก...

เลือกวิธีเนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยคนมีลูกนั้นมีอยู่หลายวิธี แน่นอนว่าการจะเลือกวิธีใดย่อมขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแม่และพ่อเป็นหลัก และแต่ละวิธีก็ให้เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องลองใช้หลายวิธี บางคนใช้วิธีเดียวครั้งเดียวก็สำเร็จ โดยทั้งหมดนี้ทั้งตัวพ่อแม่ต้องมีสิทธ์รู้ทุกแง่มุมและร่วมพิจารณาเลือกไปพร้อมกับแพทย์ค่ะ

วิธี

1. การฉีดเชื้อหรือการผสมเทียม (Intra Uterine Insemination หรือ IUI) คือการเอาเชื้ออสุจิของฝ่ายชายมาคัดเชื้อที่มีคุณภาพโดยเลือกตัวที่วิ่งเร็ว แข็งแรง และรูปร่างดี ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกในวันที่ไข่ตก โดยแพทย์จะใช้ฮอร์โมนจากภายนอกช่วยฉีดเข้าไปหรืออาจมีการอัลตราซาวนด์ด้วย แล้วลองดูว่าการทำลักษณะนี้แล้วได้ผลหรือไม่ โดยปกติแล้วการผสมเทียมจะทำไม่เกิน 3 ครั้ง ถ้าเกิน 3 ครั้งแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ก็ต้องเปลี่ยนวิธีไปทำกิฟต์ ซึ่งความสำเร็จแต่ละครั้งประมาณ 15-20%

วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชาย มีเชื้ออสุจิไม่แข็งแรงหรือมีปริมาณน้อย 
ฝ่ายหญิง ไม่มีมูกที่ปากมดลูก หรือมูกเหนียวข้น และไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้เพียงพอต่อการผลิตไข่ที่สมบูรณ์ได้ ซึ่งอาจต้องใช้ฮอร์โมนเพิ่มและกระตุ้นการตกไข่
 

2. การทำกิฟท์ ( Gamete IntraFollopain Transfer หรือ GIF) คือการเก็บเซลล์สืบพันธุ์ทั้งไข่และอสุจิมาผสมกัน จากนั้นจึงใส่กลับเข้าสู่ท่อนำไข่ทันที โดยให้อสุจิและไข่ปฏิสนธิกันเองตามธรรมชาติ โอกาสตั้งครรภ์ประมาณ 30-40%

วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชาย มีเชื้ออสุจิอ่อนแอไม่มากนัก 
ฝ่ายหญิง มีท่อนำไข่ที่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง และมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และมีพังผืดมาก และอาจใช้สำหรับคู่สมรสที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยาก
 

3. การทำซิฟท์ ( Zygote IntraFollopain Transfer หรือ ZIFT) ต่างจากการทำกิฟท์ตรงที่เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกายก่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนในระยะ Zygote ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ โอกาสตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณ 20-30%

วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชาย มีเชื้ออสุจิน้อยกว่าปกติ
ฝ่ายหญิง ที่ท่อนำไข่ไม่ตัน แต่ทำงานไม่ปกติ มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และมีพังผืดมาก รวมถึงในคู่สมรสที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยากด้วย
 

4. การทำเด็กหลอดแก้ว (InVitro Fertilization and Embryo Transfer หรือ IVF& ET) คือการเอาไข่ 10-20 ใบออกมาผสมกับอสุจิในจานหรือในหลอดแก้ว พอผสมกันแล้วเราจะรู้เลยว่าจะมีการปฏิสนธิหรือไม่ แล้วก็ต้องเลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน แล้วจึงใส่กลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง ซึ่งวิธีนี้มีโอกาสในการสูงสุดคือ 30-50%

วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชาย มีเชื้ออสุจิที่ไม่แข็งแรง 
ฝ่ายหญิง มีท่อนำไข่อุดตันทั้ง 2 ข้าง และ มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน 
 

5. การทำอิ๊คซี่ (IntraCytoplasmic Sperm Injection หรือ ICSI) เป็นการต่อยอดจากเด็กหลอดแก้ว โดยเอาเข็มที่มีเชื้อสเปิร์มอยู่หนึ่งตัวเจาะเข้าไปในไข่ เป็นการช่วยตัวเชื้อสเปิร์มที่ไม่แข็งแรง และไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ วิธีนี้ให้โอกาสตั้งครรภ์ 25-30%

วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชาย มีเชื้ออสุจิผิดปกติอย่างมาก
ฝ่ายหญิง มีรังไข่ผิดปกติ ไม่มีการตกไข่ และไข่กับอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกันเองได้
 

6.บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์ (Blastocyst Culture) เป็นขั้นตอนเลี้ยงตัวอ่อนก่อนจะใส่กลับเข้าไปในมดลูก โดยจะเลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน ซึ่งวันที่ 3 ของการเลี้ยงจะเป็นระยะของการแตกเซลล์ วันที่ 5 จะเป็นระยะบลาสโตซิสท์ ซึ่งตัวอ่อนที่โตมาถึงระยะบลาสโตซิสท์จะมีคุณภาพดีระดับหนึ่ง ส่วนมากในการทำเด็กหลอดแก้วจะมีการปฏิสนธิ ขึ้นอยู่กับว่าจะได้ไข่จากแม่มากี่ฟอง ถ้าภายในร่างกายแม่มีผังผืด มีช็อกโกแลตซีส หรือถ้าอายุมากโอกาสมีไข่ก็จะน้อย และการปฏิสนธิก็อาจจะไม่ติดทุกฟอง เช่นได้ 10 ฟอง อาจจะติดแค่ 7 ฟองหรือ 5 ฟองหรือ 3 ฟอง คือถ้ามีโรคและอายุเยอะก็อาจเหลือไข่น้องลง

จากนั้นต้องตรวจความผิดปกติของโครโมโซม หรือที่เรียกว่า Preimplantation Genetic Diagnosis (P.G.D.) ซึ่งทำใน 2 กรณี คือ1.เพื่อตรวจคัดกรองโรคที่พบได้บ่อยๆ 2.ตรวจดูว่าในโครโมโซมนั้น มีโรคทางพันธุกรรมที่มีคนในครอบครัวเป็นอยู่แล้วหรือเปล่า เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคนี้กับลูกในท้อง

แต่โดยส่วนมากจะตรวจแบบคัดกรองหรือสกรีนนิ่งแบบที่ 1 มากกว่า คือตรวจโครโมโซมประมาณ 5 ตัว เพื่อคัดกรองโรคที่เจออยู่บ่อยๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม การตรวจ P.G.D. เหมือนกับเป็นการเจาะน้ำคร่ำในแม่ที่ท้องธรรมชาติ จะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่ถ้าไม่ทำก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เพราะแม่อายุเยอะมีโอกาสที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรม ถ้าไม่ตรวจคัดกรอง ก็มีความเสี่ยงสูงที่ลูกอาจจะเป็นโรคนี้ได้  

เลือกช่วงอายุที่เหมาะสม จากสถิติแล้ว อายุของคุณแม่ถ้าเกิน 45 ปี จะไม่ท้องเลย ถ้า 40 ปีโอกาสท้องก็จะเหลือประมาณ 10% แต่โดยทั่วไปแล้วอายุ 45 แล้วแพทย์จะไม่ทำให้ โดยอายุที่นิยมทำของแม่ไทยจะเป็นช่วง 36 ปีขึ้นไป ทำให้โอกาสความสำเร็จน้อยกว่าแม่ที่อายุน้อยๆ

ทั้งนี้อายุของแม่ก็มีผลกับคุณภาพของไข่ด้วย ถ้าแม่อายุมาก การกระตุ้นการตกไข่ก็จะทำได้น้อย และไข่ของแม่อายุเยอะอาจมีคุณภาพไม่ดีเท่าไข่ของแม่อายุน้อย
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=253&sub_id=41&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด