ลูกในท้องดิ้น นอนหลับและสะอึก...อย่างไรนะ


996 ผู้ชม


คำถามที่แม่ตั้งครรภ์ถามมากที่สุดก็คือ ลูกในท้องแข็งแรงดีหรือไม่... ปัญหาที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มาพบสูติแพทย์ก่อนกำหนดนัดบ่อยที่สุดก็คือ รู้สึกว่าทารกในครรภ์ไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง...การตรวจหรือการทดสอบที่จะบอกได้ว่าทารกในครรภ์นั้นแข็งแรงดีหรือไม่...         คำถามที่แม่ตั้งครรภ์ถามมากที่สุดก็คือ ลูกในท้องแข็งแรงดีหรือไม่... ปัญหาที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มาพบสูติแพทย์ก่อนกำหนดนัดบ่อยที่สุดก็คือ รู้สึกว่าทารกในครรภ์ไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง...การตรวจหรือการทดสอบที่จะบอกได้ว่าทารกในครรภ์นั้นแข็งแรงดีหรือไม่... 
วิธีง่ายๆ ที่คุณแม่รู้ได้ตัวเอง และอาจทำได้หลายวิธี ในการดูแลลูกน้อยในครรภ์ เช่น การนับจำนวนครั้งที่ทารกดิ้นในช่วงเวลาหนึ่งๆ การบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์หรือการตรวจอัลตราซาวน์ดเพื่อดูสภาพทารกในครรภ์ ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบเหล่านี้จะสามารถทำนายสุขภาพทารกในครรภ์ได้ รวมไปถึงการดิ้นของทารกในครรภ์ ก็สามารถบอกถึงสภาพหรือสุขภาพของทารกในครรภ์ได้เช่นกัน ทำไมทารกในครรภ์ต้องดิ้นด้วย.... ทารกในครรภ์เริ่มดิ้นตั้งแต่เมื่อไหร่.... ทารกในครรภ์หลับเป็นหรือเปล่า .... ทารกในครรภ์สะอึกได้จริงหรือ.... คำถามเหล่าเป็นสิ่งที่ท่านผู้อ่านคงจะสนใจใคร่รู้ใช่มั้ยครับ 8 สัปดาห์ ก็ดิ้นแล้วนะ จากการที่ผมได้มีโอกาสทำงานด้านรักษาผู้มีบุตรยาก ได้เห็นการปฏิสนธิของไข่กับตัวอสุจิ การฝังตัวของตัวอ่อนและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนจนกลายเป็นทารกในครรภ์เมื่อพ้นอายุครรภ์ 7 สัปดาห์ไปแล้วนั้น ด้วยความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครื่องอัลตราซาวน์ดที่ตรวจเห็นสภาพของตัวอ่อนและทารกในครรภ์ได้อย่างชัดเจนตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 5 สัปดาห์ ทำให้เห็นว่าในความเป็นจริงแล้ว ตัวอ่อนในครรภ์เริ่มมีการเคลื่อนไหวที่เรียกว่ากระดิกตัวตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 8 สัปดาห์กว่าๆ ซึ่งมีขนาดความยาวเพียง 16-18 มิลลิเมตรเท่านั้น หลังจากนั้นทารกในครรภ์ก็ยังคงเคลื่อนไหวแต่ยังเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีวัตถุประสงค์หรือไร้ทิศทาง การเคลื่อนไหวของทารกจะพัฒนาไปพร้อมกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของระบบกล้ามเนื้อของร่างกายทารก จนกระทั่งเป็นการเคลื่อนไหวที่มีวัตถุประสงค์ หรือบังคับทิศทางได้ เมื่อระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาทส่วนกลางพัฒนาไปถึงระดับหนึ่งแล้ว 18 สัปดาห์ สัมผัสได้ว่าลูกดิ้น รู้มั้ยครับว่าทำไมแม่ตั้งครรภ์จึงไม่รู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้นหรือเคลื่อนไหวจนกระทั่งมีอายุครรภ์ประมาณ 18 สัปดาห์ครึ่งในครรภ์แรก และประมาณ 17 สัปดาห์ในครรภ์หลัง ก่อนอื่นเราต้องจินตนาการว่าทารกในครรภ์อยู่ภายในมดลูกที่มีนำคร่ำบรรจุอยู่ ทารกแขวนลอยอยู่ในน้ำคร่ำ การที่แม่จะรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกได้นั้น อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของทารก เช่น ศีรษะ ก้น แขนหรือขา จะต้องมากระทบกับผนังด้านในของมดลูกที่มีเส้นประสาทรับรู้ความรู้สึก และการกระทบจะต้องแรงพอที่จะกระตุ้นประสาทสัมผัสดังกล่าว ซึ่งเมื่อถึงอายุครรภ์ดังกล่าวข้างต้น น้ำหนักของทารกที่เคลื่อนไหวมากระทบผนังด้านในของมดลูกจะทำให้เกิดแรงมากพอที่จะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกรับรู้ แต่เมื่อตั้งครรภ์ลูกคนที่สอง การที่มีประสบการณ์ในครรภ์แรกทำให้คุณแม่สามารถรับรู้ว่าทารกดิ้นเป็นครั้งแรกได้เร็วขึ้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ถึงหนึ่งสัปดาห์ครึ่ง ดิ้นหรือสะอึกกันแน่???? การดิ้นของทารกในครรภ์ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากทารกในครรภ์มีช่วงเวลาที่ตื่นและหลับ แต่ยังเป็นระยะสั้นๆ เช่น ทุกครึ่งหรือหนึ่งชั่วโมง เมื่อทารกตื่นก็มีการเคลื่อนไหว เมื่อหลับก็นิ่งไป วงจรการหลับและตื่นในครรภ์จะมีระยะสั้นๆ และยังคงต่อเนื่องมาถึงระยะหลังคลอด หลังจากนั้นทารกจะค่อยๆปรับตัวเข้ากับโลกภายนอกคือ ระยะเวลาการนอนและตื่นจะยืดยาวทอดไปจนกระทั่งกลายเป็นตื่นกลางวัน นอนกลางคืนในที่สุด ลักษณะการดิ้นของทารกในครรภ์ เมื่อทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่แตกต่างกัน จะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับรู้ความรู้สึกว่าทารกดิ้นแตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน เช่น การที่ทารกอยู้ในท่าศีรษะกับท่าก้นจะทำให้เกิดความรู้สึกกับตัวคุณแม่แตกต่างกัน การที่ทารกนอนเอาหลังมาชิดหน้าท้องของแม่หรือเอามือและเท้ามาชิดก็จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันเช่นกัน ปริมาณน้ำคร่ำที่อยู่ภายในมดลูกก็มีผลทำให้การรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกแตกต่างกันออกไปได้ เช่น การที่มีปริมาณน้ำคร่ำมากจะทำให้มดลูกตึงและการรับรู้ของตัวแม่เองไม่ดีเมื่อเทียบกับการที่มีปริมาณน้ำคร่ำน้อย เป็นต้น นอกจากนั้นทารกในครรภ์อาจจะมีการเคลื่อนไหวที่เป็นจังหวะ คล้ายจังหวะกระตุกที่ทำให้แม่รู้สึกว่าเป็นการสะอึกได้ แต่จากการตรวจอัลตราซาวน์ดพบว่า การเคลื่อนไหวแบบที่ว่านี้ไม่ใช่การสะอึก แต่เป็นการเคลื่อนไหวแบบกระตุกมากกว่า ลูกไม่ดิ้น...สัญญาณอันตรายเราได้ทราบการเคลื่อนไหวแบบต่างๆแล้ว หากว่าทารกในครรภ์เคลื่อนไหวน้อยหรือไม่เคลื่อนไหว แสดงถึงอะไรบ้าง การที่ทารกในครรภ์ไม่เคลื่อนไหว เป็นสัญญาณอันตรายบที่บ่งบอกว่าทารกจะมีปัญหาสุขภาพหรือตกอยู่ในอันตราย เช่น ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางหรือขาดออกซิเจนหรือรกทำงานผิดปกติ ไม่สามารถส่งถ่ายอาหารหรือแลกเปลี่ยนกาซที่จำเป็นต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นหากแม่ตั้งครรภ์รู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลงจากที่เคยดิ้นดี โดยเฉพาะเมื่อตั้งใจส้งเกตการดิ้นเป็นเวลานาน 30 นาที และพบว่าทารกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งแล้วล่ะก็ ควรที่จะปรึกษาสูติแพทย์ในทันทีครับ... 
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=147&sub_id=42&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด