ฝากครรภ์...แบบการคลอดธรรมชาติ


875 ผู้ชม


การฝากครรภ์ที่สถานบริการสาธารณสุขเป็นรูปแบบการดูแลคุณแม่ในระยะตั้งครรภ์ก่อน การเจ็บครรภ์คลอด เป็นรูปแบบการดูแลคุณแม่ในแบบทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย...          การฝากครรภ์ที่สถานบริการสาธารณสุขเป็นรูปแบบการดูแลคุณแม่ในระยะตั้งครรภ์ก่อน การเจ็บครรภ์คลอด เป็นรูปแบบการดูแลคุณแม่ในแบบทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย... 
เชื่อว่าการฝากครรภ์จะทำให้ภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อมารดาและทารกลดน้อยลงกว่า คุณแม่ที่ไม่ได้ฝากครรภ์ ซึ่งส่วนหนึ่งมันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ อย่างไรก็ดีแม้ว่าคุณแม่จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีในขณะตั้งครรภ์ แต่หากว่าการดูแลในขณะเจ็บครรภ์คลอดไม่ดีแล้วละก็ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่สามารถดีได้ตามที่คาดหวังไว้ กล่าวคือ การดูแลการฝากครรภ์ที่ดีนั้นไม่สามารถทดแทนการดูแลการคลอดที่ดีได้ด้วย ฝากครรภ์ 5 ประการ 1. การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 1.1 การซักประวัติต่างๆ เช่น ประจำเดือนครั้งสุดท้าย ประวัติประจำเดือน โรคที่เคยเป็นหรือโรคประจำตัว การรับประทานยา การคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ในอดีตถ้าเป็นครรภ์หลัง เป็นต้น 1.2 การตรวจร่างกายโดยละเอียด เช่น ความดันโลหิต ชีพจร หัวใจ ปอด ตรวจครรภ์ เต้านม แขน ขา บางครั้งอาจต้องตรวจภายใน กรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปวดท้องหรือมีเลือดออกทางช่องคลอด 1.3 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น กรุ๊ปเลือด A B O และ Rh ความเข้มข้นของเลือด (CBC) โรค ซิฟิลิส เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และเอดส์ ภูมิต้านทานหัดเยอรมัน การตรวจอัลตร้าซาวด์ซึ่งเป็นคลื่นเสียงความถี่สูงใช้ตรวจดูทารกในครรภ์ การ ซักประวัติ ตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วนั้น มีจุดประสงค์หลักเพื่อประเมินสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ว่า ในขณะนั้นมีปัจจัยเสี่ยงหรือมีความเจ็บป่วยอะไรเกิดขึ้นบ้าง ผู้ดูแลจะได้ให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมแก่คุณแม่และทารกในครรภ์ต่อไป 2. การให้คำปรึกษาแนะนำ (counseling) เมื่อ พูดถึงการให้คำปรึกษาแนะนำแล้ว โดยทั่วไปคุณแม่อาจจะนึกถึงคุณแม่กลุ่มใหญ่ที่มาในคลินิกฝากครรภ์ แล้วก็มีผู้สอนซึ่งมักเป็นคุณพยาบาลในคลินิกฝากครรภ์นั่นเอง มาให้ข้อมูล เช่น การปฏิบัติตัวในระยะตั้งครรภ์ อาหารที่ควรรับประทาน อาการผิดปกติที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล การเตรียมของใช้ที่จะนำมาโรงพยาบาล การเตรียมของใช้สำหรับลูก เป็นต้น การสอนส่วนใหญ่จะสื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน (one-way communication) คือ ผู้สอนจะเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูลมายังผู้เรียนซึ่งจะเป็นผู้รับข้อมูล โดยไม่ได้เน้นว่าจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เพียงแต่ว่าขอให้ผู้สอนถ่ายทอดข้อมูลให้ครบก็เพียงพอแล้ว พอ จบก็มักจะถามผู้เรียนว่า ใครมีคำถามอะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะไม่มีคำถาม เนื่องจากอาจจะถูกผู้สอนมองค้อนๆ ว่าทำไมคุณแม่ไม่เข้าใจนะ ทั้งๆ ที่ฉันก็อธิบายอย่างละเอียดถี่ถ้วนดีแล้วนะเนี่ย หรืออาจจะถูกผู้เรียนคนอื่นๆ มองมาเป็นจุดเดียวกันที่ผู้ถามโดยอาจจะคิดคล้ายๆ กับผู้สอนว่าทำไมแค่นี้ก็ไม่รู้นะ หรืออาจเกิดจากการเขินอาย ส่วนใหญ่จะสอนประมาณ 1 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที เนื่องจากบางโรงพยาบาลอาจมีคุณแม่มาฝากครรภ์เป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถสอนคุณแม่แบบตัวต่อตัว หรือเป็นกลุ่มย่อยได้ การปฏิบัติเหล่านี้ความจริงแล้วควรเรียกว่าการให้สุขศึกษา (health education) มาก กว่าการให้คำปรึกษาแนะนำ เพราะเป็นการให้ความรู้ในทิศทางเดียวเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีจุดอ่อนอยู่หลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่สามารถประเมินได้อย่าง แท้จริงว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามที่ผู้สอนตั้งใจไว้หรือไม่ ส่วนการให้คำปรึกษาแนะนำนั้น เป็นการให้ความรู้แบบที่มี การสื่อสารสองทาง (two-ways communication) คือ มีการให้คุณแม่ได้พูดแสดงความคิดเห็นด้วยไปพร้อมกับขณะกำลังให้ความรู้อยู่ โดยเฉพาะหากมีการตัดสินใจควรเป็นการตัดสินใจที่มาจากคุณแม่เป็นหลัก โดยผู้สอนเพียงแต่ให้ข้อมูลต่างๆ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ปัจจุบันระบบสารสนเทศ (information technology) มี ความเจริญก้าวหน้าอย่างมากมาย ทำให้คุณแม่สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารได้จากหลายแหล่ง นอกจากหนังสือพิมพ์ หนังสือ วิทยุ โทรทัศน์ แล้วยังมี อินเตอร์เน็ท (internet) ทำให้คุณแม่มีโอกาสที่ได้รับความรู้อย่างกว้างขวางมากกว่าอดีต การตระเตรียม คุณแม่ คุณพ่อตลอดจนบุคคลในครอบครัว มีความจำเป็นในการคลอดวิถีธรรมชาติ เนื่องจากเป็นของใหม่สำหรับสังคมไทย โดยเฉพาะผู้ที่จะมาเป็นเพื่อนช่วยคลอด (birth companion) ที่จะต้องอยู่กับคุณแม่ตลอดเวลาในขณะคลอด มีความสำคัญที่จะต้องทราบถึงความเป็นมา และแนวคิดของการคลอดวิถีธรรมชาติในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี เช่น บทบาทของฮอร์โมนที่สำคัญต่อการคลอดทั้ง 3 ชนิด คือ ออกซิโทซิน เอนดอร์ฟิน และแอดดรีนาลีน บทบาทของผู้คลอด ผู้ดูแลการคลอด และเพื่อนช่วยคลอดในขณะคลอด ทั้งนี้ การตัดสินใจที่จะเลือกว่าจะคลอดโดยใช้การดูแลตามแนวทางการคลอดวิถีธรรมชาติ หรือไม่นั้น ต้องเป็นไปโดยความสมัครใจของผู้คลอดเอง จึงจะช่วยให้การคลอดวิถีธรรมชาตินั้นมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง 3. การจัดให้มีการดูแลการเรียนการสอนของชั้นเรียนโดยผู้สอนการคลอด (childbirth education) คุณแม่บางคนอาจไม่เคยได้ยินคำว่าผู้สอนการคลอด (childbirth educator) มา ก่อน คำนี้อาจเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทยแต่ในต่างประเทศมีมานานแล้ว เช่น ในประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ประเทศทางแถบสแกนดิเนเวีย เป็นต้น ผู้สอนการคลอดเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาเพื่อที่จะทำหน้าที่ให้ความรู้และ จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการคลอด ผู้สอนการคลอด อาจจะเป็นพยาบาล ผดุงครรภ์ นักสาธารณสุข สูติแพทย์ หรือใครก็ได้ที่ได้รับการอบรมทางด้านนี้มาระดับหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์หลัก เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องของการคลอด และเรื่องอื่นๆ ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการคลอดอันจะนำไปสู่การเสริมสร้างสายสัมพันธ์ ความเข้มแข็งและการมีสุขภาพดีทั้งร่างกาย และจิตใจของคุณแม่ ทารกและบุคคลในครอบครัว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเตรียมบุคคลในระยะเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต จากชีวิตคู่ที่มีเพียง 2 คน คือ สามี และภรรยา ไปสู่ชีวิตครอบครัวที่มี 3 คน คือ พ่อ แม่และลูก 
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=146&sub_id=45&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด