ต้อนรับสมาชิกตัวน้อย...เดือนที่ 1


837 ผู้ชม


เย้! ขอแสดงความยินดีกับว่าที่คุณพ่อคุณแม่คนใหม่ด้วยนะคะ และขอพาคุณไปรู้จักพัฒนาการของลูกน้อยในท้องแบบเจาะลึกรายสัปดาห์ให้เป็นของขวัญกันค่ะ...         เย้! ขอแสดงความยินดีกับว่าที่คุณพ่อคุณแม่คนใหม่ด้วยนะคะ และขอพาคุณไปรู้จักพัฒนาการของลูกน้อยในท้องแบบเจาะลึกรายสัปดาห์ให้เป็นของขวัญกันค่ะ... 
สัปดาห์ที่1 เตรียมตัวพบพระเอก เพื่อให้ง่ายต่อการนับ เราจะใช้วันแรกของการมีประจำดือนครั้งสุดท้ายเป็นจุดเริ่มต้น ขณะที่คุณกำลังมีประจำเดือน รังไข่จะเริ่มทำหน้าที่คัดเลือกไข่ฟองต่อไป ที่จะออกเดินทางไปพบพระเอกหรือสเปิร์ม คุณแม่เองก็ต้องเตรียมตัวเช่นกัน ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดบุหรี่หรือไม่อยู่ในสถานที่มีควันบุหรี่ และเป็นเวลาดีที่จะกระซิบคุณพ่อให้เลิกสิ่งเหล่านี้เพื่อสุขภาพของผูที่จะเป็นมาดาและทารกน้อย ถ้าคุณแม่ใช้ยาลดสิวหรือรับประทานยาอะไรประจำ ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อนว่าท่านวางแผนจะมีน้องในช่วงนี้ และควรจะจดจำวันที่ประจำเดือนมาครั้งนี้ให้ดี เพราะแพทย์จะใช้วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายนี้ไปคำนวณอายุครรภ์และคาดคะเนวันคลอด สัปดาห์ที่ 2 เป็นหนึ่งเดียว ถ้าประจำเดือนมาเป็นปกติทุก 28 วัน ไข่ของคุณแม่จะสมบูรณ์และตกไข่ประมาณช่วงปลายสัปดาห์นี้และออกเดินทางไปตามท่อนำไข่ หากพบกับอสุจิของคุณพ่อในเวลาที่เหมาะสมจะเกิดการปฏิสนธิที่บริเวณนี้ โดยหัวของอสุจิจะปล่อยเอนไซม์ย่อยสลายเพื่อเปิดทางเข้าเจาะเยื่อหุ้มไข่ หลังจากนั้น ตัวอสุจิส่วนที่เป็นนิวเครียสจะเข้าไปผสมกับนิวเคลียสของไข่ ไข่ทุกฟองจะมีโครโมโซมเพศชนิด X ส่วนอสุจิจะมโครโมโซมเพศชนิด X หรือ ชนิด Y เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าอสุจิชนิดที่มีโครโมโซมเพศชนิด X ไปผสม จะได้ลูกสาว ถ้าอสุจิชนิดที่มีโครโมโซมเพศชนิด Y ไปผสม จะได้ลูกชาย ดังนั้นเพศจึงถูกกำหนดเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วินาทีที่มีการปฏิสนธิ สัปดาห์ที่ 3 เดินทางไปบ้านแม้คุณแม่จะยังไม่ร้สึกว่าตนเองท้อง แต่เจ้าตัวเล็กของคุณกำลังแบ่งตัวอย่างรวดเร็วจนได้กลุ่มเซลล์ตันประมาณ12-32 เซลล์ คล้ายลูกน้อยหน่า (morula) ขณะเดียวกันก็เดินทางมาฝังตัวที่ผนังมดลูก จากกลุ่มเซลที่ตันจะเริ่มปรับเปลี่ยนเป็นกลวง มีของเหลวอยู่ภายใน เรียกชื่อใหม่ว่า บลาสโตซิสต์(blastocyst) โดยจะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรก(embryoblast) จะเจริญเป็นตัวอ่อน ส่วนที่สอง(trophobalst)จะค่อยๆเจริญเป็นรก สัปดาห์ที่ 4 กำเนิดถุงน้ำคร่ำและถุงอาหาร ส่วนแรกที่จะเจริญเป็นตัวอ่อนจะแบ่งเป็นสองชั้น คือ ส่วนบน(epiblast)จะแบ่งเซลบางส่วนถุงน้ำคร่ำ(amnion) เพื่อป้องกันอันตรายแก่ตัวอ่อน ส่วนล่าง(hypoblast)จะเจริญเป็นถุงอาหาร(yolk sac) ชั่วคราวจนกว่าการสร้างรกจะเกิดขึ้นสมบูรณ์ ส่วนที่จะเจริญเป็นรกจะแทรกซึมเข้าไปในชั้นผนังมดลูกเพื่อเตรียมการพัฒนาเป็นรกหรือแหล่งอาหารถาวรต่อไป และส่วนนี้ก็จะมีการสร้างฮอร์โมนเพื่อบอกกับรังไข่ให้ระงับการตกไขชั่วคราวและให้รังไข่สร้างฮอร์โมนมาช่วยเสริมการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจากส่วนนี้ทำให้คุณแม่เริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน คัดตึงหน้าอก การฝังตัวที่ผนังมดลูกของตัวอ่อนนี้อาจมีเลือดของผนังมดลูกออกมาทางช่องคลอด คล้ายมีประจำเดือนปริมาณเล็กน้อย ทำให้คุณแม่บางคนเข้าใจผิดว่ามีประจำเดือนและยังไม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ที่ยังไม่ค่อยมั่นใจว่าตั้งครรภ์แน่หรือไม่ ในช่วงนี้สามารถนำปัสสาวะมาตรวจการตั้งครรภ์ได้แล้ว...ยังมีเรื่องมหัศจรรย์มากมายระหว่างการตั้งครรภ์ ต้องติดตามค่ะ...
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=141&sub_id=42&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด